หกล้มในผู้สูงอายุ ป้องกันได้เริ่มที่ตัวเอง


เพิ่มเพื่อน    


     ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปจะมีแนวโน้มหกล้มร้อยละ 28-35 ต่อปี และจะเพิ่มเป็นร้อยละ 32-42 เมื่อก้าวเข้าสู่ปีที่ 70 เป็นต้นไป เมื่อผู้สูงอายุหกล้มและกระดูกหัก พบว่า 1 ใน 5 ไม่สามารถกลับมาเดินได้อีก และบางส่วนต้องใช้รถเข็นตลอดไป นอกจากนี้ยังพบว่าการหกล้มเป็นสาเหตุสำคัญของการเข้าโรงพยาบาลในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป 
    นพ.ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ สรุปว่า ความเสี่ยงของการหกล้มจะยิ่งมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือมีโรคประจำตัว เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือมีปัญหาเรื่องการทรงตัว การล้มในผู้สูงอายุเกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นกระดูกหรือกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง มีปัญหาสายตา การกินยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาททำให้ง่วงซึม รวมทั้งสภาพแวดล้อมภายในบ้านที่ไม่เหมาะสม ทั้งนี้ การหกล้มในผู้สูงอายุอาจกระทบต่อสุขภาพ คุณภาพชีวิต ก่อให้เกิดความพิการ หรือแม้กระทั่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิต


    นพ.ประพันธ์ พงศ์คณิตานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า วิธีลดความเสี่ยงของการหกล้มที่ได้ผลมากที่สุดคือการออกกำลังกาย เพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพิ่มความสามารถในการทรงตัวและการเดินซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการหกล้มในผู้สูงอายุ
    แนวทางป้องกันไม่ให้เสี่ยงต่อการหกล้ม ได้แก่  1.เลือกรองเท้าที่เหมาะสม เช่น รูปร่างเข้ากับเท้า วัสดุมีความยืดหยุ่น ระบายอากาศได้ดี หุ้มส้นหรือรัดส้นและส้นเตี้ย 2.ใช้ไม้เท้าในการช่วยเดิน 3.ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเองอย่างสม่ำเสมอ การป้องกันการหกล้มด้วยวิธีการออกกำลังกาย เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลสามารถนำไปปฏิบัติเองได้โดยไม่ต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญ ยกเว้นบางรายที่มีความจำกัดให้เลือกวิธีออกกำลังกายอย่างง่ายหรือปรึกษาแพทย์ตามความจำเป็น 
    นอกจากการออกกำลังกาย พบว่าการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมภายในบ้านโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบบ้านเพื่อผู้สูงอายุ การผ่าตัดต้อกระจกในผู้สูงอายุที่มีปัญหาการมองเห็นจากโรคต้อกระจก การให้วิตามินดีเสริมในผู้สูงอายุที่มีวิตามินดีพร่อง และการหยุดยาที่มีผลต่อจิตประสาท ทำให้ง่วงซึมหรือสูญเสียการทรงตัว เป็นวิธีการที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการหกล้ม แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการเหล่านี้ควรได้รับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ก่อนที่ผู้สูงอายุจะดำเนินการด้วยตนเอง.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"