พลิกวิกฤติ ส่งพลาสติกสู้โควิด


เพิ่มเพื่อน    

 

        ได้ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เครือข่ายเพื่อความยั่งยืนแห่งประเทศไทย (TRBN) และคู่ค้าของ GC สร้างโมเดลต้นแบบโครงการ “ส่งพลาสติกกลับบ้าน” ซึ่งเป็นโครงการที่จะเรียกคืนขยะพลาสติกที่ใช้แล้วเพื่อนำไปรีไซเคิลให้สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ เป็นการลดขยะและสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน

 

 

        การแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้น สะท้อนให้เห็นว่าแม้แต่ประเทศไทยที่มีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว คุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศดีมาก หรือมีความพร้อมด้านกำลังทหารและอาวุธขนาดหนักแค่ไหนก็ตาม ยังต้องจำนนให้กับโรคร้ายที่แม้แต่ความพร้อมด้านใดๆ ก็ไม่สามารถต้านทานได้ ทำได้ดีที่สุดเพียงช่วยเยียวยาและกักกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของโรคร้ายชนิดนี้ ขณะที่ประเทศไทยเองแม้จะมีการจัดการกับปัญหาที่ค่อนข้างน่าพอใจ แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็หนักหนาพอสมควร พอที่จะทำให้การพัฒนาของประเทศนั้นหยุดชะงักได้ในช่วงหนึ่ง

        และจากปัญหาดังกล่าว สิ่งที่ถูกกระทบมากที่สุดนอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของคนทั่วไปแล้ว ด้านการดำเนินธุรกิจ การลงทุน การใช้วัตถุดิบ และความเชื่อมั่นของภาคเอกชนก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน โดยส่งผลออกมาเป็นรูปธรรมจากหลายๆ ด้าน ทั้งการลงทุน การขยายกิจการที่ลดน้อยลง แม้แต่การจับจ่ายใช้สอยของคนก็ลดลง  ตัวชี้วัดเศรษฐกิจจากหลายสำนักติดลบกันเป็นแผง ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นวิกฤติระดับโลกเลยก็ว่าได้ ขณะที่ประเทศไทยเองที่ปัจจุบันกำลังเดินหน้าโครงการเมกะโปรเจ็กต์ โดยเฉพาะในพื้นที่ พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี ก็เริ่มเห็นผลกระทบกันบ้างแล้วจากหลายกลุ่มอุตสาหกรรมเริ่มมีกำลังการผลิตลดน้อยลง แต่รัฐบาลเองก็ยังเดินหน้าผลักดันอย่างเต็มที่กับโครงการอีอีซีเพื่อหวังให้คนเข้ามาลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในอนาคต

        ดังนั้น จากผลกระทบดังกล่าว ทำให้หลายภาคธุรกิจได้ทบทวนใหม่ในเรื่องของการลงทุนในพื้นที่อีอีซีนั้น กลุ่มธุรกิจอื่นๆ ก็เริ่มส่งสัญญาแล้วว่าจะต้องมีการดังแผนที่จะลงทุนกลับมาปรึกษาหรือดูท่าทีกันใหม่ โดยบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือจีซี ก็เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ออกมายืนยันถึงเรื่องการนำแผนลงทุนในอีอีซีกลับมาทบทวนใหม่

 

รีวิวแผนลงทุนอีอีซี

        นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริการ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แผนขยายการลงทุนในเขตอีอีซี เพิ่มเติมอีกประมาณ 100,000 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้เดิมมีโครงการที่ศึกษาความเป็นไปได้ชัดเจนแล้วประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาท ก็จะต้องนำมาทบทวนใหม่ จากก่อนหน้านี้ บริษัทมีการลงทุนในอีอีซีไปแล้ว 3 โครงการ  มูลค่าประมาณ 100,000 ล้านบาท คือ 1.โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต Olefins Reconfiguration Project (ORP) 2.โครงการโพรพิลีนออกไซด์ (Propylene Oxide :PO) และ 3.โครงการโพลีออลส์ (Polyols) ซึ่งทั้ง 3 โครงการ จะก่อสร้างเสร็จในไตรมาส 3-4 ปีนี้ โดยขณะนี้การก่อสร้างคืบหน้าแล้วประมาณ 91-92%

        “ทุกโครงการลงทุนใหม่ที่ยังไม่ได้ตัดสินใจจะต้องนำมาทบทวนใหม่ทั้งหมด โดยจะดู 2 เรื่องหลัก คือ ต้นทุนการผลิต และดีมานด์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจหลังโควิด ขณะที่แผนเข้าซื้อกิจการ(เอ็มแอนด์เอ) ก็ต้องทบทวนโอกาสความเป็นไปได้ใหม่ และบริษัท ยังต้องดูของ “ความปกติใหม่” หรือนิวนอร์มอลด้วย” นายคงกระพันกล่าว

        โดยเมื่อมาดูจากแผนการลงทุนของจีซีแล้วนั้น จะเห็นได้ชัดว่าผลกระทบของโควิด-19 นั้นไม่ได้ส่งผลต่อการลงทุนในประเทศเท่านั้น เนื่องจากจีซีถือเป็นบริษัทปิโตรเคมีระดับโลก ยังมีไขว้เขว โดยนอกจากจะต้องทบทวนแผนลงทุนในอีอีซีแล้วนั้น จีซียังมีแผนที่จะเลื่อนโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ที่สหรัฐอเมริกาออกไปก่อน โดยโครงการดังกล่าวมีมูลค่าการลงทุนกว่า 2 แสนล้านบาท โดยเลื่อนการตัดสินใจลงทุนจากไตรมาส 3 ปีนี้เป็นต้นปี 2564 โดยโครงการมีเวลาก่อสร้างประมาณ 5 ปี หรือก่อสร้างเสร็จในปี 68 ดังนั้นจึงมีเวลาที่จะเจรจาต่อรองกับผู้รับเหมาโครงการเพื่อให้ได้ต้นทุนถูกที่สุดต่อไป

        นอกจากนี้ ยังต้องปรับลดค่าใช้จ่ายดำเนินงานในปีนี้ลง 1,000 ล้านบาท โดยจะปรับลดงบประมาณที่ไม่จำเป็น รวมถึงจะยังไม่เปิดรับพนักงานเพื่อทดแทนพนักงานที่เกษียณอายุ และปรับเปลี่ยนพนักงานให้ไปทำหน้าที่อื่น แต่ไม่มีการเลิกจ้างพนักงานแต่อย่างใด ขณะเดียวกันมีการลดการทำงานนอกเวลาทำการ งดรับพนักงานอัตราใหม่ ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าที่ปรึกษา เป็นต้น

        แม้ว่าจะลดการลงทุนไปบ้าง รวมถึงปรับลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ในบริษัทไป แต่จีซีก็ยังมั่นใจว่าเศรษฐกิจปีนี้จะกลับมาดีและยืนยันที่จะคงเป้ายอดขายของปีนี้ว่าจะเติบโตไม่ต่างจากปีที่ผ่านมา หรือเติบโตกว่า 10% จากการต่อยอดลงทุนโครงการที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโอเลฟินส์ โดยขยายกำลังการผลิตแนฟทา แครกเกอร์ และเป็นการต่อยอดธุรกิจปลายน้ำในอนาคต ด้วยกำลังการผลิตเอทิลีน 500,000 ตัน และโพรพิลีน 250,000 ตัน โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการก่อสร้างคืบหน้าไปแล้ว 85% และจะเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 มูลค่าลงทุนรวม 36,000 ล้านบาท

        รวมถึงโครงการเพื่อผลิตโพรพิลีนออกไซด์ 200,000 ตันต่อปี และโครงการโพลีออลส์เพื่อผลิต 130,000 ตันต่อปี  โดยทั้ง 2 โครงการเป็นการต่อยอดให้เข้าสู่ตลาดผลิตภัณฑ์ระดับสูงได้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คืบหน้าไปแล้ว 85% คาดว่าจะเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ซึ่งจะทำให้ยอดขายของบริษัทในปีนี้ได้ไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ขณะเดียวกันยังมีความคืบหน้าของโครงการขยายกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีนเทเรฟเทเลท (PET) จาก 147,000 ตันต่อปี เป็น 200,000 ต่อปี ซึ่งคาดว่าจะเริ่มขายเชิงพาณิชย์ได้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 64

        "เชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นปัจจัยลบก็จริง แต่จะอยู่ในระยะสั้น ซึ่งจากการสันนิษฐานของหลายหน่วยงานคาดว่าจะคลี่คลายได้ในช่วงกลางไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ แต่ขณะที่แผนการลงทุนของบริษัทนั้นเป็นแผนระยะยาว จึงมั่นใจว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว แต่ก็ต้องยอมรับว่าได้รับผลกระทบในด้านสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศจีนบางส่วน ที่อาจจะลดลง 1-2% จากสัดส่วนการส่งออกทั้งหมดของบริษัทไปจีนที่ 25-27% ซึ่งก็ต้องเตรียมแผนรับมือ” นายคงกระพันกล่าว

 

ชูรีไซเคิลขยะพลาสติก

        นายคงกระพันกล่าวว่า ปีนี้เราเน้นขยายกำลังการผลิตของผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ตลาดมากขึ้น รวมถึงการทำเรื่องรีไซเคิลก็ดำเนินไปใกล้จะเสร็จแล้ว เพื่อเป็นพื้นฐานให้กับปีหน้า ขณะที่ตัวเม็ดพลาสติกนั้นปีก่อนมีราคาที่ต่ำที่สุด แต่เชื่อว่าในปีนี้จะเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับผลต่างระหว่างราคากับวัตถุดิบ ซึ่งเรายังไม่มีการปรับแผนลงทุนแต่อย่างใด  แม้ในช่วงต้นปีนี้จะมีหลายปัจจัยที่อาจจะเกิดผลกระทบ

        อย่างไรก็ตาม พลาสติกถือเป็นนวัตกรรมที่อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันของทุกคนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงภาวะวิกฤติโควิด-19 พลาสติกมีบทบาทในหลายแง่มุม ด้วยความสะดวกสบาย และยังเป็นวัสดุที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการสัมผัสเชื้อโรคในช่วงล็อกดาวน์ ได้ส่งผลต่อพฤติกรรมของประชาชนที่จำเป็นต้องอยู่บ้านกันมากขึ้น ทำให้ปัญหาขยะพลาสติกจากกล่องอาหารเดลิเวอรีเพิ่มจำนวนมากขึ้นถึง 15% ต่อวัน หรือจาก 5,500 ตัน/วัน เป็น 6,300 ตัน/วัน โดยเมื่อใช้เสร็จแล้ว ต้องมีการบริหารจัดการหลังการใช้ให้ถูกวิธี เพื่อให้ไม่เป็นภาระของโลก จีซีเชื่อว่าโครงการส่งพลาสติกกลับบ้านจะประสบความสำเร็จในการเป็นต้นแบบ และจีซีพร้อมสนับสนุนให้ภาคีพันธมิตรเข้ามาร่วมดำเนินการ เพื่อขยายผลต่อยอดในเชิงพื้นที่ และขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างสมบูรณ์แบบในอนาคตต่อไป

        นายคงกระพันกล่าวว่า ได้ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เครือข่ายเพื่อความยั่งยืนแห่งประเทศไทย (TRBN) และคู่ค้าของ GC สร้างโมเดลต้นแบบโครงการ “ส่งพลาสติกกลับบ้าน” ซึ่งเป็นโครงการที่จะเรียกคืนขยะพลาสติกที่ใช้แล้วเพื่อนำไปรีไซเคิลให้สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ เป็นการลดขยะและสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน

        ทั้งนี้ โครงการ “ส่งพลาสติกกลับบ้าน” เพื่อเป็นต้นแบบนำร่องของประเทศ สร้างประโยชน์ในเชิงสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และระบบเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการนำขยะรีไซเคิลมาสร้างประโยชน์ใหม่ตามหลักการบริหารจัดการ โดยจีซีร่วมสร้างกลไกให้เกิดการคัดแยกที่ถูกต้อง โดยการร่วมสร้างจุดบริการรับฝากขยะกับพันธมิตร เพราะการจัดการขยะนั้น ต้องเริ่มต้นที่ตัวเราทุกคน ด้วยการคัดแยกขยะพลาสติกและทำความสะอาดก่อนทิ้งอย่างถูกต้อง จากนั้นขยะพลาสติกที่สามารถนำมารีไซเคิลได้จะถูกนำมาเข้าโรงงานรีไซเคิล เพื่อผ่านกระบวนการ เปลี่ยนเป็นเส้นใยพลาสติกและเม็ดพลาสติกชนิดต่างๆ

        “เมื่อกระบวนการดังกล่าวแล้วเสร็จ ก็จะนำไปผ่านโรงงานแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์รีไซเคิล และอัพไซเคิล วนกลับสู่ผู้บริโภคอีกครั้งหนึ่ง ขยะที่ถูกคัดแยกอย่างถูกต้อง เหมาะสม ยังสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น ยกระดับสร้างสุขอนามัย และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับอาชีพคนรับจ้างเก็บขยะ และยังเป็นการสร้างธุรกิจรีไซเคิลคุณภาพสูงให้เกิดมากขึ้น" นายคงกระพันกล่าว

 

ผลิตภัณฑ์ใหม่ลดขยะ

        เช่นเดียวกับ ดาว (Dow) บริษัทระดับโลกด้านแมททีเรียล ไซแอนซ์ (Materials Science) ได้พัฒนาเม็ดพลาสติกรีไซเคิลสูตรใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อผลิตเป็นฟิล์มยืดหดเพื่อแพ็กสินค้า (collation shrink film) ประกาศวางจำหน่ายสู่ตลาดทั่วเอเชียแปซิฟิกเป็นครั้งแรก รวมทั้งประเทศไทย เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกอย่างยั่งยืนด้วยนวัตกรรม

        เมื่อความต้องการด้าน e-commerce สูงขึ้น จึงจำเป็นต้องมีบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ ทนทาน ที่สามารถปกป้องสินค้าให้ปลอดภัยตลอดการขนส่ง ในขณะเดียวกันก็สร้างขยะให้แก่ผู้บริโภคน้อยที่สุด เม็ดพลาสติกรีไซเคิลของ Dow ชนิดนี้จะทำให้เจ้าของแบรนด์สินค้าและผู้บริโภคได้ใช้พลาสติกฟิล์มยืดหดสำหรับแพ็กสินค้าที่มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับฟิล์มที่ทำมาจากเม็ดพลาสติกใหม่ เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าจะถูกจัดส่งด้วยความปลอดภัย ในขณะที่ช่วยลดจำนวนขยะพลาสติก

        นายซุนี มาร์คอส ผู้อำนวยการธุรกิจรีไซเคิลภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ดาว กล่าวว่า “การสร้างตลาดให้กับขยะพลาสติกจะเพิ่มแรงจูงใจในการจัดเก็บ รีไซเคิล และผลักดันให้สินค้ารีไซเคิลได้รับการพัฒนามากขึ้น พร้อมทั้งช่วยลดจำนวนพลาสติกที่จะหลุดรอดไปสู่ธรรมชาติอีกด้วย  ผลิตภัณฑ์ใหม่นี้เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของ Dow ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนของพลาสติก โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนของพลาสติกรีไซเคิลให้แก่ลูกค้า.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"