13 มิ.ย.63 - นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก โดยมีเนื้อหาดังนี้
สังคมเดินไปข้างหน้าไม่หยุดนิ่ง...แต่บางชีวิตต้องสิ้นสุดลง***
แด่...พลเอกปรีชา เอียมสุพรรณ(2478-2562)
แด่...ศรัณยู วงษ์กระจ่าง
(2503-2563)
แด่...ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ
(2490-2563)
อยากจะเขียน "ความสิ้นสุดแห่งชีวิต" ของบุคคลทั้งสามที่เขาได้จากพรากพวกเราไป ในขณะที่ภารกิจนั้นยังไม่ลงตัวและเสร็จสิ้น
ขณะเดียวกันในสถานการณ์โรคระบาดปัจจัยด้านเศรษฐกิจจะเป็นตัวชี้ขาด เหนือตัวแปรอื่นๆ โดยเฉพาะด้านการเมือง(ความเชื่อเดอมผสมเจือไปด้วยการทุจริตอย่างถ้วนหน้า) อย่างที่เราเคยเข้าใจเสมอมา นับแต่เป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(2549-2556) และเข้าเป็นแนวร่วมกับ กปปส. ด้วยเชิดชูคำขวัญ
"ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง"
แต่สังคมก็ได้รับแต่ความว่างเปล่าจริงๆ
1. ในวันนั้นเราได้เริ่มเห็นบทบาททหารกล้าแห่ง จปร.7 ได้มาร่วมเคลื่อนไหวกับพันธมิตรฯ กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ กองทัพธรรมและแนวร่วม กปปส.
"พลเอกปรีชา เอี่ยมสุพรรณ" เมื่อรับราชการได้ชื่อว่า "นายทหารนักรบ" ผ่านสงครามต่างๆ มาอย่างโชกโชนทั้งเวียดนามและลาวจนได้เงินเพิ่มสู้รบมากถึง 16 ขั้น เกียรติประวัติสูงสุดในกองทัพไทย
เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการและเป็นผู้ริเริ่มฝึกคอบร้าโกลด์(พหุภาคีระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา) ที่เราผู้เขียนสัมผัสได้คือ ความหาญกล้าพาพวกเราบุกไปสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย บุกกองทัพบก และคนประกาศคณะปฏิวัติ(บนเวทีกองทัพธรรม) แต่ฝ่ายมั่นคงไม่ยิบยกขึ้นเป็นคดีแต่ประการใด และท้ายสุดบอกพวกเราว่าในวันที่ 26 พฤษภาคม2557 จะมีปฏิบัติการทางสังคมร่วมกันระหว่างทหารกับประชาชน...ในที่สุดเราก็ไม่ได้เห็นเหตุการณ์นั้นแต่ประการใด
พลเอกปรีชาฯ ท่านป่วยด้วยโรคมะเร็งและโรคโลหิต และได้จากพวกเราไปในวันที่ 6 ธันวาคม 2562
2. ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ในช่วงของการก่อเกิดพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย สังคมแห่งการเคลื่อนไหวได้เห็นนักแสดง พิธีกร ผู้เขียนเพลง นักร้อง ผู้กำกับ มีผลงานละครเวทีภาพยนต์ และละครโทรทัศน์ ตั้งแต่เป็นนักศึกษาสถาปัตย์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนถึงปัจจุบันมากกว่า 100 เรื่อง "ตั้ว" หรือศรัณยู วงษ์กระจ่าง มาปรากฏตัวบนเวที แล้วแกนนำรุ่น1 เห็นว่าเป็นผู้เหมาะสมก็แต่งตั้งให้เป็นแกนนำรุ่น 2 และถูกมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลงานด้านเวทีและงานด้านวัฒนธรรมเพลงเพื่อ
การเคลื่อนไหว ตั้วเป็นบุคคลที่แต่งเพลงเข้ากับสถานการณ์อย่างยิดเยี่ยม ที่รู้จักดีที่สุดคือเพลง "แม่ยกพันธมิตรฯ" "ตั้ว" เป็นต้นแบบตัวอย่างให้พวกดารานักร้องมาร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อชาติเพื่อส่วนรวมมากขึ้นตามลำดับ"
มีผู้เขียนถึง"อาตั้ว" ว่า "ฉันเห็นคุณสองสามครั้งและต้องใช้เวลากับคุณที่นิวยอร์คเมื่อพ่อของฉันไม่สามารถอยู่ที่นั่นได้เขาต้องบินกลับบ้านเพื่อประชุมเพียงช่วงสั้นๆแต่ฉันรู้สึกว่าคุณเป็นคนใจดีมาก คุณใจกว้างและลงสู่โลก คุณมีรอยยิ้มที่แท้จริง คุณไม่เคยทำตัวสำคัญแม้คุณจะมีชื่อเสียงตรงข้าม คุณทำให้ทุกคนรอบตัวคุณรู้สึกดีและรู้สึกว่าพวกเขาสำหรับคุณ นั่นคือความประทับใจที่ฉันมีต่อคุณ...คุณเป็นนักแสดงที่มีพรสวรรค์มากน่าเศร้าคุณได้จากไป"*
"ตั้ว" ได้จากไปด้วยโรคมะเร็งตับในวันที่ 10 มิถุนายน 2563
3. กว่า 30 ปีที่ผ่านมาเราได้รู้จักนักวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คนสำคัญได้มาเคลื่อนไหวในภาคอีสานกับบรรดาผู้นำครูในจังหวัดบุรีรัมย์นครราชสีมา และมวลชนในพื้นที่ป่าเขาเมื่อผู้นำครูสองคนถูกฆ่าตายในจังหวัดบุรีรัมย์ เขาก็ตั้งมูลนิธิครูทิมบุญอิ้ง และเป็นประธานมูลนิธิ จากนั้นก็ร่วมมือกับประชาชนและนักวิชาการภาคอีสานและภาคต่างๆ ทั่วประเทศเฉพาะที่เรารับรู้บางเรื่องก็ร่วมด้วยคือ
(1) อาจารย์ท่านนี้ได้นำเสนอนายกรัฐมนตรี(ผู้เป็นบิดา) ตามที่เกษตรกรชุมนุมกันในหลายจังหวัดภาคอีสานในนาม"สหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกร" แล้วมีผู้เสนอเข้ามายัง ครม.เป็น "วาระลอย" เสนอโดยนายกรัฐมนตรีโดยไม่มีในวาระการประชุมฯ ความว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ชุมนุมกันในหลายจังหวัด ขอให้รัฐบาลมอบ"อาชญาบัตร"(ฆ่าและชำแหละสุกร) ให้แก่สหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกร นายกรัฐมนตรี(พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ) ระบุว่าเรื่องนี้ที่"ปรึกษาบ้านพิษณุโลก" เสนอเข้ามา...นายกรัฐมนตรีเห็นว่าสหกรณ์เดือดร้อนเดินขบวนกัน ก็ควรจะอนุมัติตามคำร้องของเขา กระทรวงมหาดไทยโดยพลตรีประมาณ อดิเรกสาร
รับไปปฏิบัติ
(2) ที่วิทยาลัยครูนครราชสีมา เมื่ออาจารย์ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ได้จัดรายการ"นายกฯพบประชาชนชาวอีสาน" ปรากฏว่าวันนั้นมีการเสนอจดหมายนักเรียนลาครูไปขอทาน จากอำเภอปทุมรัตต์(ร้อยเอ็ด) ฮื่อฮาและโด่งดังมากจนกลบเรื่องอื่นๆ ที่ประชาชนนำเสนอนายกฯชาติชายฯ เสียสิ้น
(3) ผู้นำครูทั่วประเทศเข้าพบนายกฯชาติชายเพื่อขอให้จัดโครงการอาหารกลางวัน ปรากฏว่าอาจารย์พาเข้าพบนายกฯ และได้อนุมัติโครงการอาหารกลางวันแก่นักเรียนทั่วประเทศ และต่อมาได้พัฒนาจนถึงขั้นออกเป็นพระราชบัญญัติกองทุนอาหารกลางวันในสมัยรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุนในปี 2535
(4) เชื่อมประสานสหายในป่าเขา นักวิชาการและเกษตรกร และเขื่อนน้ำอูน และหลายจังหวัดในอีสานเหนือเช่น สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่นฯลฯ จากการชุมนุมประท้วงของสมัชชาเกษตรรายย่อยภาคอีสาน(สกยอ.) กรณี 9 ปัญหาและเดินขบวนครั้งประวัติศาสตร์ด้วยรถอีต็อกอีแต๋นมาปักหลักชุมนุมกันที่เขื่อนลำตะคอง อำเภอสี้คิ้ว และครั้งต่อมาก็เคลื่อนตัวเข้าสู่กรุงเทพฯ
(5) เชื่อมประสานกับเครือข่ายด้านที่ดินป่าไม้และการต่อต้านเขื่อนในทุกจังหวัด และเป็นที่ปรึกษาสมัชชาคนจน(บางปัญหา)
(6) ในวันที่สหาย(ครู)ประเวียน บุญหนัก ถูกสังหารหน้าที่ว่าการอำเภอวังสะพุงในปี 2538 อาจารย์ไกรศักดิ์ฯ ก็เดินทางไปให้กำลังใจแก่พี่น้องชาวอีสานเคารพและบรรจุศพไว้ที่เขาห่างจากอำเภอไปประมาณ 5 ก.ม.
(7) ในการคิดก่อตั้งพันธมิตรฯปี 2549 เพื่อร่วมกับ"ปรากฏการณ์สนธิ"ใช้บ้านในซอยราชครูเป็นที่เจรจากับคนสำคัญในช่วงพฤษภาทมิฬ จนในที่สุดสามารถตกลงกันได้
(8) ในด้านแรงงานได้ร่วมกับผู้นำแรงงานทุกภาคส่วนตราพระราชบัญญัติประกันสังคมขึ้นกฎหมายนี้มีคุณค่าต่อประเทศนานัปการ
(9) จัดการตรากฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่นักศึกษาเข้าป่าตั้งแต่เหตุการณ์14 ตุลาคม2516 อ่านต้นฉบับ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |