ทั่วโลกและไทยต้องเผชิญความท้าทายจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สถานการณ์ราคาน้ำมันผันผวน ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ธุรกิจพฤติกรรมผู้บริโภคสู่บริบทใหม่ ปตท.จึงต้องรักษาความเข้มแข็งของธุรกิจหลักและสร้างธุรกิจใหม่แทนการเติบโตรูปแบบเดิมรองรับวิกฤติและความต้องการของผู้บริโภค ด้วยกลยุทธ์ PTT by PTT คือ Powering Thailand’s Transformation
เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ รับมอบตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT หรือ CEO ปตท. คนที่ 10 ต่อจากนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ซึ่งถือว่าการเข้ารับตำแหน่งในฐานะแม่ทัพใหญ่ของ ปตท.ในช่วงนี้ถือว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากภารกิจที่จะขับเคลื่อนทัพที่มีขนาดใหญ่ในขณะที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจที่ตกต่ำ และกระทบไปทั่วทุกธุรกิจ ดังนั้นซีอีโอป้ายแดง "อรรถพล" พร้อมโชว์วิสัยทัศน์เคลื่อนทัพ PTT
นายอรรถพล เปิดเผยว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ระบาดนั้น ปตท.ได้เตรียมแผนการที่จะบริหารความเสี่ยงไว้ในหลายระดับ โดยเบื้องต้นได้ขออนุมัติออกหุ้นกู้และตั๋วแลกเงินจำนวน 64,000 ล้านบาท โดยได้ผ่านการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นเรียบร้อยแล้ว และสามารถใช้เงินเข้ามาเยียวยาสถานการณ์ได้ทันที ขณะเดียวกันหากสถานการณ์เข้าขั้นวิกฤติเพิ่มขึ้น ทาง ปตท.ก็เตรียมกรอบวงเงินไว้ที่ 150,000 ล้านบาทไว้ด้วย โดยได้หารือกับผู้ถือหุ้นเรียบร้อยแล้วและคาดว่าจะสามารถระดมทุนได้ ซึ่งมองว่าเป็นช่วงที่สามารถรีไฟแนนซ์ได้เนื่องจากเป็นช่วงที่ดอกเบี้ยถูก
"ปตท.ได้มีการจัดลำดับความสำคัญในการลงทุนไว้แล้ว โดยยืนยันว่าโครงการที่ผ่านการอนุมัติแล้วจะเดินหน้าต่อทุกโครงการ สำหรับโครงการที่ยังไม่ได้อนุมัติจะต้องมาจัดลำดับความสำคัญอีกครั้ง อาจจะไม่ได้เป็นการตัดทิ้ง แต่เลื่อนไปลงทุนในช่วงถัดไป โดยจะต้องคำนึงถึงอัตรากำไรที่จะเกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสในการทบทวนการลงทุนอีกด้วย ทั้งนี้กลุ่ม ปตท.ทั้งหมดมีกรอบการลงทุนปี 63 นี้อยู่ที่ 250,000 ล้านบาท แต่เมื่อหลังจากการประเมินแล้วคาดว่าจะมีงบลงทุนลดลง 10-15% โดยในบริษัท ปตท.เองจะมีการปรับลดไปประมาณ 15,000 ล้านบาท จากเดิมตั้งเป้าไว้ที่ 69,000 ล้านบาท" นายอรรถพลกล่าว
นายอรรถพลกล่าวว่า มองราคาน้ำมันดิบตลาดโลกผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.ที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นช่วงที่โควิด-19 มีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรง ประกอบกับเกิดภาวะสงครามราคาน้ำมันในกลุ่มโอเปกพลัส แต่สถานการณ์ต่างๆ เริ่มคลี่คลาย หลายประเทศผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์จากโควิด-19 กลุ่มโอเปกพลัสสามารถหาข้อยุติในการลดกำลังการผลิตน้ำมันลงได้ ปตท.จึงคาดการณ์ทิศทางน้ำมันปีนี้ทั้งปีเเคลื่อนไหวบวกลบอยู่ที่ 40 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
“จากนี้ไปสถานการณ์ราคาน้ำมันคงไม่เลวร้ายเหมือนช่วงที่ผ่านมา เพราะกลุ่มโอเปกพลัสสามารถเจรจาหาข้อตกลงร่วมกันได้แล้ว อีกทั้งโควิด-19 ก็เริ่มคลี่คลายลง แม้ในระยะข้างหน้าจะไม่สามารถคาดเดาได้ว่าโควิด-19 จะกลับมาระบาดรอบสองอีกหรือไม่ เป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ได้ และเป็นความเสี่ยงที่ต้องติดตาม“ นายอรรถพลกล่าว
โดยเบื้องต้นประเมินแนวโน้มปริมาณการใช้เชื้อเพลิงในประเทศช่วงที่เหลือของปีนี้จะปรับตัวสูงขึ้นหลังรัฐบาลปลดล็อกดาวน์ โดยเฉพาะน้ำมันภาคพื้นที่คนจะใช้รถยนต์ในการเดินทางมากขึ้น โดยจะส่งผลดีต่อการให้บริการปั๊มน้ำมัน และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อย่างคาเฟ่อเมซอน แต่จะขยายตัวมากกว่าปีที่ผ่านมาหรือไม่ต้องติดตามประเมินภาพรวมอีกครั้ง เพราะความต้องการใช้น้ำมันภาคพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็นเพียงความต้องการใช้ที่จำกัดเฉพาะกำลังซื้อในประเทศเท่านั้น แต่ภาพรวมเศรษฐกิจของไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวและการส่งออกเป็นหลัก แม้สถานการณ์โควิดจะไม่ระบาดเป็นระลอกที่ 2 แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยก็ยังล่าช้า
ขณะเดียวกันหากยังไม่มีการเปิดเส้นทางการบินสำหรับเที่ยวบินพาณิชย์ระหว่างประเทศ ก็คงยังไม่มีความต้องการใช้เชื้อเพลิงในภาคส่วนต่างๆ จากการท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ รวมถึงความต้องการใช้น้ำมันในส่วนของเครื่องบิน 3 เดือนที่ผ่านมาได้รับผลกระทบแล้วกว่า 90% ทำให้ภาพรวมทั้งปีน่าจะลดลง 80% ของรายได้ที่จำหน่ายให้เครื่องบินและเรือประมาณ 20 ประเทศ หรือ 14,000 ล้านบาท สอดคล้องกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยปีนี้ที่คาดติดลบแน่นอนตามที่หลายหน่วยงานพยากรณ์ไว้
สำหรับความคืบหน้าการชำระหนี้ของการบินไทยนั้น ขณะนี้การบินไทยมีหนี้น้ำมันค้างชำระอยู่กับ ปตท. 760 ล้านบาท ซึ่ง ปตท.นับเป็นเจ้าหนี้ที่เป็นหนึ่งในกลุ่มจะต้องโดนจัดชั้นหนี้ โดยที่ผ่านมาถือว่าเป็นเจ้าหนี้การค้าชั้นดี เพราะมีความเกี่ยวเนื่องในการดำเนินธุรกิจของการบินไทยมาตลอด อีกทั้งในปัจจุบัน ปตท.จึงยังส่งน้ำมันให้การบินไทยตามความต้องการใช้เท่าที่จำเป็น เนื่องจากการบินไทยยังเปิดเส้นทางการบินในเที่ยวบินอยู่บ้าง แต่ให้ชำระค่าน้ำมันเป็นเงินสดตั้งแต่เริ่มเข้าแผนฟื้นฟู จากเดิมที่ให้เครดิต 30 วัน โดยยืนยันว่าไม่มีการงดส่งมอบน้ำมันตามที่เป็นข่าวก่อนหน้านี้
นายอรรถพล กล่าวว่า ในอนาคตที่จะมีการเปิดเสรีการซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) อาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่อ ปตท.บ้างเล็กน้อย โดย ปตท.จะต้องมองในมุมที่กว้างกว่าเดิม โดยเป็นการมองตลาดต่างประเทศ หรือมุ่งเน้นในการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง (ฮับ) แอลเอ็นจีในภูมิภาคอาเซียน เพื่อเพิ่มยอดขายให้มากขึ้น ขณะเดียวกัน ปตท.มีสัญญาการขายที่ระบุชัดเจนอยู่แล้วหลายสัญญา ซึ่งยังทำให้ยอดขายของธุรกิจก๊าซยังคงที่ไม่ลดลง ซึ่งยืนยันว่าพร้อมที่จะดูแลลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม จากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ซบเซาลงจากสถานการณ์โควิด-19 ปตท.จึงเป็นหน่วยงานกลางที่จะเข้าไปคุยกับภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างอาชีพ เปิดโอกาสให้ชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือสามารถใช้ปั๊ม ปตท.เป็นช่องทางการขายสินค้าได้ ขณะที่คู่ค้าของบริษัท ปตท.ก็เป็นตัวกลางในการเข้าไปช่วยเหลือให้สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น อาทิ การติดต่อกับธนาคาร ดูแลเครดิตจากแบงก์เพื่อให้ภารกิจต่างๆ ลุล่วงไปด้วยดี นอกจากนี้การดูแลชุมชนและสังคมก็ยังทำอยู่ต่อเนื่อง รวมถึงการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ สนับสนุนการปลูกป่าด้วย
นายอรรถพล ยังกล่าวว่า การแสดงวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจปี 2563 ว่า ทั่วโลกและไทยต้องเผชิญความท้าทายจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สถานการณ์ราคาน้ำมันผันผวน ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ธุรกิจพฤติกรรมผู้บริโภคสู่บริบทใหม่ ปตท.จึงต้องรักษาความเข้มแข็งของธุรกิจหลักและสร้างธุรกิจใหม่แทนการเติบโตรูปแบบเดิมรองรับวิกฤติและความต้องการของผู้บริโภคด้วยกลยุทธ์ PTT by PTT คือ Powering Thailand’s Transformation ประกอบด้วย
การสร้างพันธมิตรและพัฒนาธุรกิจ (Partnership and Platform) ทั้งดึงดูดพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญจากต่างประเทศควบคู่กับการสร้างความร่วมมือกับรัฐวิสาหกิจ เอกชน ผู้ประกอบการไทย และเอสเอ็มอี การพัฒนาเทคโนโลยีที่ผสมผสานความรู้ความเชี่ยวชาญ นวัตกรรม ดิจิตทัลในทุกมิติ (Technology for All) การสร้างความโปร่งใสและความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจ (Transparency and Sustainability)
ทั้งนี้ภายใต้การนำแนวคิด 4R’s มาประยุกต์ใช้ตั้งแต่การสร้างความยืดหยุ่น (Resilience) พร้อมดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น จัดความสำคัญของโครงการลงทุนตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำและรักษาสภาพคล่อง การเตรียมความพร้อมนำธุรกิจ พนักงาน ลูกค้าและคู่ค้ากลับสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุด (Restart) เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน การออกแบบธุรกิจรองรับการเปลี่ยนแปลง (Re-imagination) และการปฏิรูปปรับโครงสร้างองค์กรและธุรกิจให้สอดคล้องกับทิศทางในอนาคต พร้อมรองรับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นได้อีกทุกเมื่อ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |