จุฬาฯแจงแล้ว! เหตุรื้อศาลเจ้าแม่ทับทิม 'ปรับฮวงจุ้ย' แต่ยังอนุรักษ์ 'ของเก่า' บนพื้นที่ใหม่


เพิ่มเพื่อน    

12 มิ.ย.63 - สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้แจงกรณีการรื้อถอนศาลเจ้าแม่ทับทิมสะพานเหลืองว่า ทางจุฬาฯต้องการอนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรม เพิ่มศรัทธาส่งเสริมคุณค่าให้แก่ “เจ้าแม่ทับทิม” ด้วยศาลเจ้าแม่ทับทิมแห่งใหม่อย่างสมเกียรติเพื่อความเป็นสิริมงคลคู่ชุมชนสืบต่อไป โดยอยู่ในพื้นที่อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ ที่มีความร่มรื่นห้อมล้อมด้วยธรรมชาติแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ สะดวก ปลอดภัย สะอาดกับผู้มาเคารพบูชา สิ่งแวดล้อมที่ดี ใกล้ชุมชน ให้ความสำคัญในทุกรายละเอียด โดยการดูแลของนักออกแบบและทีมก่อสร้างเชิงอนุรักษ์นิยมที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ คำนึงถึงความดั้งเดิมพร้อมสถาปัตยกรรมร่วมสมัยและ "หลักฮวงจุ้ย" จากผู้เชี่ยวชาญ

สำหรับศาลเจ้าแม่ทับทิมแห่งใหม่ (ตำหนัก) หันหน้าไปด้านทิศตะวันออก ด้านหน้ามีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ใช้วัสดุก่อสร้างคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม คงแนวความคิดของสถาปัตยกรรมจีนเช่นเดิม ซึ่งออกแบบโดยคณาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ประตูหน้าศาลเจ้า ซ่อมแซมของเดิมและปรับปรุงให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ด้านซ้ายและด้านขวามีเสาลอย รับหลังคาทางเข้า คงรูปภาพที่เล่าเรื่องเซียนด้วยปูนปั้นซึ่งใช้วิธีการอนุรักษ์ในการนำของเดิมมาใช้ประดับใหม่

ด้านในเป็นที่ประดิษฐานเทพเจ้า มีการนำคำสอนที่จารึกในศาลเจ้าเก่ามาประดับไว้ที่เสาเช่นเดิมพร้อมทั้งเพิ่มเติมในส่วนของคำแปลให้คนรุ่นหลังได้เข้าใจถึงคำสอนต่างๆ

หลังคามีการปรับเปลี่ยนเป็นหลังคา Skylight นำแสงเข้าสู่บริเวณที่บูชา ด้านซ้ายขวาเป็นซุ้มมังกรเขียว เสือขาวโดยบูรณะซ่อมแซมบางส่วนเพื่อความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ด้านข้างนี้เปิดหลังคาให้ลมพัดผ่านได้เป็นการระบายอากาศ ทิศเหนือทิศใต้ด้วยระบบเปิดใช้ลมธรรมชาติ ซุ้มทางเข้ายกเป็นสามตับ มีลวดลายมังกรคู่เล่นแก้วประดับอยู่บนสันหลังคาโค้งสำเภา มีลายดอกไม้จีนประดับแทรกอยู่กับเกลียวคลื่น ด้านข้างสันหลังคามีอุบะปูนปั้นดอกไม้ร้อยเลียนแบบเครื่องมงคลจีน

การสักการะบูชา ปรับเปลี่ยนการจากการจุดธูปเทียนแบบเดิมที่มีฝุ่นควัน โดยคำนึงถึงการลดมลภาวะสิ่งแวดล้อมด้วยเครื่องบูชาโคมประทีปแบบไฟฟ้าไร้ควัน พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่หลากหลาย ส่วนลานสำหรับประกอบพิธีกรรมและตั้งเตาเผากระดาษเงินกระดาษทองสำหรับศาลเจ้าที่ไร้มลพิษและฝุ่น PM.2.5 ซึ่งจะออกแบบโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

การก่อสร้างศาลเจ้าแม่ทับทิมแห่งใหม่เป็นผลงานจากศิษย์เก่าจุฬาฯรุ่นที่ 14 ซึ่งมีความชำนาญด้านการพูด และการเขียนภาษาจีนเป็นอย่างดี พร้อมทั้งได้รับการไว้วางใจให้สร้างผลงานด้านการอนุรักษ์ที่ทรงคุณค่าต่างๆ ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหลากหลายสถานที่ อาทิ การก่อสร้างพระราชานุสาวรีย์สองรัชกาล เรือนไทยจุฬา ซ่อมแซมเทวาลัย หอประชุมจุฬา ตึกจักรพงษ์ เป็นต้น รวมทั้งได้รับการสำรวจและศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมโดยนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 2 สาขาสถาปัตยกรรมไทย มีขั้นตอนการปฏิบัติที่ละเอียดอ่อน ด้วยการทำการรังวัดเก็บสภาพ ประเมินคุณค่าทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างดี

ถือเป็นการสร้างสรรค์ให้สังคม ชุมชน คุณภาพการใช้ชีวิตที่ดีและยั่งยืน ด้วยความตั้งใจที่มีความเคารพและศรัทธา ให้โครงการนี้เกิดขึ้นซึ่งพื้นที่แห่งใหม่มีความพร้อมทั้งบรรยากาศที่ดี โดยรอบมีความร่มเย็น ติดถนนใหญ่ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งที่จอดรถในร่ม และห้องน้ำ สำหรับผู้เลื่อมใสศรัทธาสามารถเข้ามาสักการะศาลเจ้าแม่ทับทิมแห่งใหม่ได้ ประมาณเดือนธันวาคม 2563 นี้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"