12 มิ.ย.63 -นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม โพสต์ข้อความซึ่งเป็นคำนำหนังสือ ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ : ชีวิต มุมมอง ความคิด มีเนื้อหาดังนี้
ชีวิตทุกชีวิตมีคุณค่าและความหมาย แต่คุณค่าและความหมายมีแตกต่างกัน มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่การตีความ ถึงที่สุดแล้ว คุณค่าและความหมายนั้นขึ้นอยู่กับการ “เลือก” ที่จะใช้ชีวิตอย่างไร เพื่ออะไร
72 ปีที่ผ่านมา ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ แน่นอนในคุณค่าที่เลือก และชัดเจนในความมุ่งหมายของชีวิต
คนไม่ธรรมดา
ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ มาจากตระกูลใหญ่และทรงอิทธิพลมากที่สุดตระกูลหนึ่งของประเทศไทย ทั้งจากสายพ่อ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และสายแม่ ท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัณ
เติบโตอย่างลูกชายนายทหารใหญ่จากระบบ “ทหาร” ภายในค่ายทหาร ขณะเดียวกันก็เติบโตจากระบบ “ตำรวจ” ในฐานะหลานรักของนายตำรวจใหญ่ พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ เจ้าของวลีสำคัญ ภายใต้แสงอาทิตย์ไม่มีอะไรที่ตำรวจไทยทำไม่ได้
ได้รับการศึกษาอย่างดีจากสถาบันการศึกษาชั้นสูงมีชื่อในประเทศและต่างประเทศ ทั้งอาร์เยนตินา สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ และฝรั่งเศส
สื่อสารได้ทั้งภาษาไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน และเยอรมัน
มีความรู้และความสนใจหลากหลายทำให้กลายเป็น นักวิชาการ นักรัฐศาสตร์ นักการทูต นักการเมือง นักสันติภาพ นักสิ่งแวดล้อม นักสิทธิมนุษยชน นักดนตรี ช่างภาพ จิตรกร
เป็นผู้นำในการกำหนดนโยบายในการบริหารจัดการในประเทศ ในฐานะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี โดยตั้งทีมที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลก และกำกับทิศทางการต่างประเทศในฐานะประธานกรรมาธิการการต่างประเทศวุฒิสภา
จากพื้นฐานที่พร้อมสมบูรณ์ สามารถเอื้ออำนวยต่อผลประโยชน์ส่วนตัวอย่างเต็มที่ แต่ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณเลือกที่จะเป็น
คนธรรมดา
ที่คบหากับ นักกิจกรรม นักเคลื่อนไหว นักอนุรักษ์ นักสิทธิมนุษยชน ศิลปิน ชาวบ้าน ชนกลุ่มน้อย คนชายขอบ กลุ่มชาติพันธุ์ แรงงานข้ามชาติ
ปฏิเสธระบบ “ทหาร” และ “ตำรวจ” ซึ่งใช้อำนาจเป็นใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบ “เผด็จการ” จากการรัฐประหารที่รวมศูนย์อำนาจ
ส่งเสริมการกระจายอำนาจสู่ประชาชนคนเล็กคนน้อยตามระบบประชาธิปไตย เพื่อประโยชน์สุขของสังคมส่วนรวมไม่ใช่เพียงกลุ่มผลประโยชน์ ตามแนวคิดสังคมนิยม
ไม่เพิกเฉยและร่วมทุกข์ร้อนไปกับชีวิตของประชาชนผู้เดือดร้อนในสังคม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกมาแสดงความเสียใจและขอโทษ ในหลายกรณีที่ครอบครัวในอดีตมีส่วนทำให้เกิดความเสียหาย ทั้งการเสียชีวิต การสูญหายแก่ประชาชน
ทั้งหมด ไม่ใช่การเป็น “ขบถ” แต่เป็น “สำนึก” และ “ความรับผิดชอบ” ที่มีในฐานะมนุษย์ต่อมนุษย์
ชีวิต มุมมองและความคิดของไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ จากการเรียบเรียงของกุลธิดา สามะพุทธิ ไม่เพียงแต่ให้เราเห็นความเป็นคนหรือมนุษย์ในคนหนึ่งคน แต่ยังเห็นการเป็นไปของสังคมทั้งไทยและโลกอย่างชัดเจน ตลอดช่วง 72 ปีที่ผ่านมาด้วย
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคมที่ยังไม่เอื้อต่อการมีชีวิตที่ดีของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนชายขอบ คนเล็กคนน้อย 72 ปีของไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ บอกเราถึงสิทธิมนุษยชน ตลอดจนมนุษยธรรมที่จะ “เลือก” ใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าและความหมาย
สุรพงษ์ กองจันทึก
ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม
จากคำนำหนังสือ ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ : ชีวิต มุมมอง ความคิด https://www.kledthai.com/new-books/9786167909073.html#.XsZCsxC20fM.lineme
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |