11 มิ.ย.63 - นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พร้อมด้วย นพ.จักรกริช โง้วศิริ รองเลขาธิการ สปสช. ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าร่วมบริหารจัดการคลังยาโดยร้านยา โดยโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ภายใต้โครงการลดความแออัดของหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยร้านยาแผนปัจจุบัน (ข.ย.1) หรือ “โครงการรับยาใกล้บ้าน” ในวันที่ 10มิ.ย.2563 ที่ผ่านมา
นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า โครงการลดความแออัดของหน่วยบริการฯ โดยร้านยา ขย.1 เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข สภาเภสัชกรรม สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) และสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล และ สปสช. เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ป่วยไม่ต้องรอคอยรับยาที่โรงพยาบาล โดยนำใบสั่งยาไปเบิกจ่ายยาที่ร้านยาแทน โดยมีการเชื่อมต่อระบบและข้อมูลระหว่างโรงพยาบาล ร้านยา และ สปสช. นำไปสู่การลดความแออัดในโรงพยาบาล และลดภาระด้านยาให้กับโรงพยาบาลในอนาคต ซึ่ง สปสช.สนับสนุนค่าบริหารจัดการเพิ่มเติมให้กับโรงพยาบาล จำนวน 33,000 บาท/ร้านยา และร้านยา 70 บาท/ใบสั่งยา กำหนดให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 4 กลุ่มที่สมัครใจโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หอบหืด และจิตเวช นอกจากนี้ยังมีโรคเรื้อรังอื่นที่ผู้ป่วยมีภาวะคงที่ โดยให้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ จากที่ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นมา ได้รับการตอบรับด้วยดี ขณะนี้มีโรงพยาบาลเข้าร่วมจำนวน 130 แห่ง ร้านยา (ขย.1) จำนวน 1,033 แห่ง ผู้ป่วยร่วมโครงการ 14,391 คน และจำนวนการรับยาที่ร้านยา 19,581 ครั้ง
ทั้งนี้รูปแบบการกระจายยาไปที่ร้านยา ส่วนใหญ่ร้อยละ 80.77 เป็นรูปแบบที่ 1 หน่วยบริการจัดยาผู้ป่วยเป็นรายบุคคลและส่งให้ร้านยา และมีบางส่วนที่ดำเนินการในรูปแบบที่ 2 คือหน่วยบริการสำรองยาไว้ที่ร้านยา และให้ร้านยาจัดยา อย่างไรก็ตามทั้ง 2 รูปแบบ โรงพยาบาลยังต้องบริหารจัดการยา ยังไม่สามารถลดภาระงาน ดังนั้น สปสช. ได้ผลักดันให้เกิดการนำร่องโครงการฯ กระจายยาไปร้านยาในรูปแบบที่ 3 คือ ให้ร้านยา จัดการด้านยา ผ่านหน่วยงานกลาง ที่ทำหน้าที่จัดซื้อจัดหา (องค์การเภสัชกรรม/ร้านยาขายส่งระดับเขต) มุ่งลดภาระโรงพยาบาลในการจัดส่งยาไปร้านยา โดยมีการเชื่อมส่งต่อข้อมูลระบบ ระหว่างโรงพยาบาล ร้านยา หน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่จัดซื้อจัดหา และในปี 2563 นี้ สปสช.ตั้งเป้านำร่องโรงพยาบาล 6 แห่ง เพื่อดูผลการดำเนินงาน และนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนา
นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า รพ.พระจอมเกล้าเป็นหนึ่งในหน่วยบริการที่มีศักยภาพในการนำร่องโครงการในรูปแบบที่ 3 ได้ โดยมีร้านยา (ขย.1) ในพื้นที่ 14 แห่ง ร่วมเป็นเครือข่ายหน่วยบริการด้านยา สามารถกระจายผู้ป่วยไปรับยาที่ร้านยาสูงเป็นอันดับ 2 ของหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการในระบบทั้งหมด นอกจากทำให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่ดี ไม่ต้องรอรับยาห้องยาที่ใช้เวลานานแล้ว ผู้ป่วยยังได้รับคำแนะนำและข้อมูลการใช้ยาเพิ่มมากขึ้น
ด้าน นพ.ชุมพล เดชะอำไพ ผอ.รพ. พระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี กล่าวว่า โรงพยาบาลฯ ได้เริ่มดำเนินการโครงการรับยาใกล้บ้านในเดือนธันวาคม 2562 ดำเนินการในรูปแบบที่ 1 ก่อนเริ่มโครงการ โรงพยาบาลได้จัดระบบส่งต่อข้อมูลและการจัดส่งยาไปที่ร้านยา บริการผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จิตเวช หอบหืด และโรคเรื้อรังที่ไม่มีความซับซ้อนในการดูแล ร้อยละ 30 ในช่วงเริ่มต้นมีผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการไม่มาก แต่จากประชาสัมพันธ์ทำให้มีผู้ป่วยร่วมโครงการเพิ่มขึ้น จากเดือนธันวาคม 2562 มีผู้ป่วยรับยา 25 ครั้ง และขยับเพิ่มขึ้นในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม 2563 เป็นจำนวน 64 ครั้ง 78 ครั้ง และ 140 ครั้ง (ตามลำดับ) และในเดือนเมษายนสูงถึง 598 ครั้ง เป็นผลจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยผลดำเนินการในช่วง 7 เดือน (18 ธ.ค. 62 – 5 มิ.ย. 63) โรงพยาบาลพระจอมเกล้ามีเครือข่ายร้านยา (ขย.1) ที่ผ่านเกณฑ์และเข้าร่วมโครงการฯ 14 แห่ง มีผู้ป่วยรับยาที่ร้านยา 1,132 ครั้ง
“รพ. พระจอมเกล้า จ. เพชรบุรี เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัด แต่ละวันมีผู้ป่วยเข้ารับบริการจำนวนมาก จึงมีนโยบายลดความแออัดในโรงพยาบาล และโครงการผู้ป่วยรับยาใกล้บ้านเป็นกลไกหนึ่ง ที่ผ่านมาได้ให้ความสำคัญต่อการดำเนินการโครงการจนเกิดประสิทธิผล ซึ่งการร่วมนำร่องโครงการรับยาใกล้บ้าน รูปแบบที่ 3 โรงพยาบาลพระจอมเกล้ามีความยินดีและมีความพร้อมในความร่วมมือ เพราะจะเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาการระบบบริการดูแลผู้ป่วย ไม่แต่เฉพาะในส่วนของโรงพยาบาล แต่ในอนาคตยังขยายสู่โรงพยาบาลอื่นๆ ได้” ผอ.รพ.พระจอมเกล้า กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |