ฝ่าวิกฤติโควิด-19


เพิ่มเพื่อน    

        การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (โควิด-19) ส่งผลกระทบไปทั่วโลก เศรษฐกิจเกิดการหยุดชะงัก ระบบอุปสงค์ อุปทาน ระบบโลจิสติกส์ และซัพพลายเชนโดยรวมของโลกเกิดการชะลอตัว และส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่ม SME หรือผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม ซึ่งถือว่าเป็นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ แต่กลับเป็นกลุ่มที่มีสายป่านสั้นกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ หน่วยงานภาครัฐหลายองค์กรได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือ SMEs ให้รอดพ้นจากวิกฤติครั้งนี้

        และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)  ถือเป็นหนึ่งในหน่วยงานของภาครัฐอีกแห่งที่เป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุน SME ซึ่งที่ผ่านมานั้นบีโอไอได้ให้สิทธิประโยชน์หลายด้านแก่ผู้ประกอบการ และจากสถิติย้อนหลัง 3 ปี แต่ละปีมีโครงการยื่นขอรับการส่งเสริมที่มีขนาดการลงทุนไม่เกิน 100 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นผู้ประกอบการ SMEs ถึง 70% ของจำนวนโครงการทั้งหมดที่ยื่นขอรับการส่งเสริมจากบีโอไอ ซึ่งบีโอไอได้มีการปรับปรุงมาตรการและเพิ่มสิทธิประโยชน์เพื่อให้ SME เข้าถึงมาตรการของบีโอไอได้ง่ายขึ้น

        ซึ่ง ดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ระบุว่าที่ผ่านมานั้น บีโอไอได้ให้สิทธิประโยชน์หลายด้านแก่ผู้ประกอบการ และจากสถิติย้อนหลัง 3 ปี แต่ละปีมีโครงการยื่นขอรับการส่งเสริมที่มีขนาดการลงทุนไม่เกิน 100 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นผู้ประกอบการ SMEs ถึง 70% ของจำนวนโครงการทั้งหมดที่ยื่นขอรับการส่งเสริมจากบีโอไอ ซึ่งบีโอไอได้มีการปรับปรุงมาตรการและเพิ่มสิทธิประโยชน์เพื่อให้ SME เข้าถึงมาตรการของบีโอไอได้ง่ายขึ้น

        โดยคุณสมบัติของ SMEs ที่บีโอไอให้การส่งเสริมต้องมีบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน มีรายได้รวมต่อปีไม่เกิน 500 ล้านบาทในช่วง 3 ปีแรก โดยมีเงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 500,000 บาท ก็สามารถขอรับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับ SMEs ได้แล้ว จากเกณฑ์ปกติทั่วไปต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำ 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน)

        นอกจากนี้ ยังได้ประสานสถาบันการเงินของรัฐที่ให้การสนับสนุนด้านเงินทุนแก่ผู้ประกอบการ ทั้งธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D Bank) และธนาคารเพื่อการส่งออกนำเข้าแห่งประเทศไทย  (EXIM BANK) ที่มีมาตรการสนับสนุนสินเชื่อสำหรับ SMEs  เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในภาวะวิกฤติ      

        ซึ่งทางเลขาฯ ดวงใจย้ำว่า SME ควร ที่จะอาศัยวิกฤติโควิดครั้งนี้ เตรียมองค์กรให้พร้อมรับโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากรูปแบบเศรษฐกิจใหม่ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการนำระบบอัตโนมัติ  เทคโนโลยีใหม่มาใช้ วิจัยและพัฒนา หรือออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรไปสู่ระดับสากล และที่สำคัญต้องนำระบบดิจิทัลเข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น

        อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าวิกฤติโควิดครั้งนี้ได้สร้างบรรทัดฐานใหม่ให้เกิดขึ้น ผู้ประกอบการต้องปรับตัวให้สอดรับกับพฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภค เช่น การทำงานที่บ้าน การเข้าสู่ธุรกิจออนไลน์ รวมถึงซัพพลายเชนของโลก ถูกแทนที่ด้วยซัพพลายเชนในระดับภูมิภาค เนื่องจากจีน ซึ่งเป็นฐานการผลิตหลักได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค ระบบขนส่ง โลจิสติกส์ ปรับเปลี่ยนรูปแบบ มีขนาดการบรรจุน้อยลง รวมถึงระบบการค้าที่เป็นออนไลน์ แพลตฟอร์มดิจิทัลมากขึ้น

        การส่งเสริมของภาครัฐจึงมีความสำคัญสำหรับ SME ซึ่งเป็นเศรษฐกิจฐานรากของเศรษฐกิจไทย ที่จะช่วยกระตุ้นและผลักดันเศรษฐกิจขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างแข็งแกร่ง ดังนั้นบีโอไอจึงถือว่าเป็นหน่วยงานสำคัญ แต่ในปัจจุบันนั้นกลับมี SME จำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ ด้วยหลายๆ ปัจจัย   โดยเฉพาะในเรื่องของความไม่เข้าใจในกระบวนการดำเนินงาน และประโยชน์ที่จะได้รับจากบีโอไอ

        ดังนั้น สิ่งสำคัญที่จะทำให้ SME เหล่านี้เข้าถึงความช่วยเหลือและส่งเสริมได้จริงคือต้องมีการประชาสัมพันธ์ ให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง ไม่ฉาบฉวย ลุ่มๆ ดอนๆ เอาแค่พอเห็นว่าทำ ก็จะไม่สร้างความรับรู้ให้บรรดาผู้ประกอบการ SME ได้อย่างทั่วถึง และเข้าใจถึงสิทธิประโยชน์ของบีโอไอที่จริงๆ แล้ว ไม่ใช่ปล่อยให้คิด แต่ว่าการขอสิทธิประโยชน์จากบีโอไอมีความยุ่งยาก ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้มีความยุ่งยากอย่างที่คิด บีโอไอมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษาและแนะนำตลอดเวลา

        เพราะสิทธิประโยชน์จากการใช้มาตรการของบีโอไอ เป็นการสร้างแต้มต่อในการดำเนินธุรกิจเพื่อรับมือกับการแข่งขันในโลกยุคใหม่ที่จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป และบีโอไอจึงเป็นกองหนุนติดอาวุธให้ SME ไทยฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปให้ได้.                                   

บุญช่วย ค้ายาดี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"