คุมเข้มหาเสียงออนไลน์! ส่อเอาผิดโพลเลือกข้าง


เพิ่มเพื่อน    

โรดแมปเลือกตั้งคืบอีกหนึ่งขยัก สนช.พิจารณาร่าง พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส. 18 ม.ค. ปมหาเสียงโลกโซเชียลฯ คาดมีปัญหาตีความ กมธ.สนช.ขีดเส้น ห้ามหาเสียงโลกออนไลน์ก่อนเลือกตั้ง 3 วัน ส่วนไลน์ ห้ามส่งถึงกันหลังหกโมงเย็นวันออกเสียง วางกฎห้ามเผยแพร่ผลโพลก่อนเลือกตั้ง 7 วัน หากสำนักไหนรับงานโดนเอาผิด นักวิชาการจับตาสำนักโพลเกิดใหม่ช่วงหาเสียง 
    นายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการพิจารณาว่า สัปดาห์นี้ คณะกรรมาธิการฯ จะทำการพิจารณาทบทวนรายมาตราทั้ง 178 มาตราอีกครั้ง หากไม่มีอะไรผิดพลาด จะส่งให้วิป สนช.พิจารณาในวันที่ 16 ม.ค. เพื่อบรรจุเข้าสู่การประชุมพิจารณาวาระ 2-3 ในวันที่ 18 หรือ 19 ม.ค.นี้ต่อไป โดยเนื้อหาทั้งหมดมีสมาชิก สนช.ขอแปรญัตติ 4 ประเด็น คือ 1.เสนอให้ตัดเนื้อหาที่กำหนดให้คืน เงินผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขต 10,000 บาท และแบบบัญชีรายชื่อ 5,000 บาท หากได้คะแนนร้อยละ 5 ขึ้นไป ซึ่ง กมธ.ส่วนใหญ่เห็นคล้อยตาม เพราะการเลือกตั้งแต่ละครั้งใช้งบประมาณจำนวนมาก หลักพันล้านบาท อีกทั้งยังเป็นภาระยุ่งยากทางธุรการในขั้นตอนการคืนเงิน 2.เสนอให้ตัดการแสดงบัญชีรายการเสียภาษีย้อนหลัง 3 ปี ซึ่งส่วนนี้ กมธ.เห็นว่าไม่น่าจะเป็นปัญหาหากคงไว้ เพราะสรรพากรสามารถแสดงบัญชีย้อนหลังได้ถึง 5 ปี 
     นายทวีศักดิ์กล่าวว่า 3.เสนอให้เพิ่มมาตราขึ้นใหม่ โดยกำหนดให้ระหว่างการเลือกตั้ง พนักงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สามารถเข้าตรวจค้นผู้สมัครรับเลือกตั้งได้โดยไม่ต้องมีหมายศาล หากมีการร้องเรียนว่าไม่สุจริต ซึ่งตรงนี้ หากไปดูกฎหมาย กกต.ที่สนช.พิจารณาไปแล้ว พบว่าได้ให้อำนาจ กกต.เป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อาญาไว้แล้ว การตรวจค้นต้องใช้หมายศาล กมธ.บางส่วนมองว่าหากแก้ตามข้อเสนอนี้ อาจจะเป็นการให้อำนาจ กกต.มากเกินไป แต่ทั้งนี้ยังไม่มีข้อยุติ และ 4.เสนอให้แก้ไขในส่วนของการสำรวจความคิดเห็นหรือการทำโพล ว่าหลักเกณฑ์ให้เป็นไปตามที่ กกต.กำหนด แต่ กมธ.ได้มีการปรับแก้เนื้อหาไปแล้ว การสำรวจความเห็นที่ทำกันทั่วไป ไม่มีอคติ สามารถทำได้เหมือนเดิม แต่โพลที่ไม่สุจริตไม่สามารถทำได้ ประเด็นนี้ผู้แปรญัตติจึงน่าจะพอใจ 
     นายทวีศักดิ์กล่าวอีกว่า ส่วนการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์หาเสียงบนสื่อออนไลน์ ที่ กมธ.สามัญของ สนช.เสนอให้ผู้สมัครจดทะเบียนนั้น ไม่ได้มีการกำหนดเนื้อหาไว้ เพียงแต่ระบุห้ามใช้หาเสียงก่อนเลือกตั้ง 3 วัน ส่วนรายละเอียดอื่นให้เป็นหน้าที่ของ กกต. พรรคการเมือง นักการเมือง และสื่อมวลชน ไปหารือร่วมกัน แล้ววางหลักเกณฑ์ด้วยการออกประกาศ กกต. 
    นายเสรี สุวรรณภานนท์ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. … กล่าวเสริมว่า สำหรับการทำโพล โดยหลักสามารถทำได้โดยสุจริต แต่หากเป็นโพลที่ไม่ตรงความจริง หรือรับงานของพรรคการเมืองมา ไม่สามารถทำได้ และหากทำก็จะมีความผิด อย่างไรก็ตาม การทำโพลจะไม่สามารถเปิดเผยได้ก่อนการเลือกตั้ง 7 วัน เพราะจะเป็นการจูงใจหรือชี้นำประชาชนไปทางใดทางหนึ่ง นอกจากนี้ ยังต้องการเสนอจากเดิมที่ร่างของ กรธ.ที่ห้ามให้ประชาชนส่งไลน์ที่เกี่ยวข้องหรือสนับสนุนกับผู้สมัครและพรรคการเมืองก่อนวันเลือกตั้ง 3 วัน เพราะจะทำให้เกิดความสับสน โดยจะแก้ไขให้ห้ามส่งหลังเวลา 18.00 น.ก่อนวันเลือกตั้งแทน
     นายเจตน์ ศิรธรานนท์ รองประธานคณะกรรมาธิการฯ ชุดดังกล่าว กล่าวเช่นกันว่า ขณะนี้การพิจารณากฎหมายยังไม่มีความขัดแย้งใดๆ ในประเด็นใหญ่ และเชื่อว่าจะมีการทำความเข้าใจกันได้ ทั้งนี้ ในวันที่ 8 ม.ค. จะมีการประชุมทบทวนและรับฟังผู้แปรญัตติและ กมธ.เสียงข้างน้อยชี้แจงอีกครั้ง ก็เชื่อว่าจะนำเข้าสู่การพิจารณาได้ตามกำหนด และขอยืนยันว่าเวลากฎหมายยังไม่มีปัญหาทำให้ถูกคว่ำในชั้นวาระ 2 และ 3 แต่อย่างใด
    ขณะที่ความเห็นฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำโพล  นายสิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็น “บ้านสมเด็จโพล” ที่รับผิดชอบการทำโพลบ้านสมเด็จ กล่าวว่า ผลการชี้นำของโพลจะมีผลกับประชาชนที่ไม่ได้มีความสนใจด้านการเมือง ไม่ได้สนใจว่าตัวผู้แทนที่ตนเลือกทำหน้าที่อะไร แต่ผลโพลจะไม่มีผลกับประชาชนที่มีความเข้าใจการเลือกตั้ง ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ โดยเข้าใจข้อมูลจากการศึกษาด้วยตนเอง ซึ่งสังคมไทยมีแนวโน้มอย่างหลังมากกว่า  อย่างไรก็ตาม ในระยะเวลา 3 ปีนี้ คาดว่าผลโพลยังสามารถชี้นำประชาชนได้ราวร้อยละ 20 ก่อนที่จะลดลงในอนาคต อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันโพลจากสำนักการศึกษาไม่ถึง 10 แห่งที่มีการสำรวจอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับสำนักข่าว 
    "แต่หากมีโพลปรากฏขึ้นมาช่วงก่อนเลือกตั้งนั้น  อาจเป็นไปได้ว่าเริ่มมีความผิดปกติที่เกิดขึ้น อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการน่าเชื่อถือสำหรับสำนักนั้นๆ แม้ที่ผ่านมาเคยมีการตรวจสอบว่ามีบางแห่งรับงานจากหน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่งซึ่งมีนักการเมืองของพรรคการเมืองหนึ่งนั่งเป็น รมว.ของกระทรวงนั้นอยู่ แต่ปรากฏว่าไม่มีหลักฐานที่สามารถเอาผิดได้ 
    โพลที่รับงานจากการเมืองนั้น จะมี 2 แบบ 1.ทำเพื่อเก็บข้อมูลโดยไม่เผยแพร่ 2.ทำเพื่อเรียกความนิยม โดยมีการเผยแพร่ ซึ่งหากเป็นแบบหลัง มองว่าต้องมีการตรวจสอบอย่างชัดเจน ว่าทั้งนักการเมืองและสำนักที่จัดทำต้องรับผิดชอบอย่างไรบ้าง หรือมีบทลงโทษอย่างชัดเจน อย่างการตัดสิทธิ์การเลือกตั้งของนักการเมืองคนนั้นจากการเลือกตั้งเลยหรือไม่ ซึ่ง กกต.ต้องพิจารณาผลกระทบว่ามีความรุนแรงขนาดไหน อาจเทียบเท่าการฉีกบัตรเลือกตั้งหรือการซื้อเสียงเลยหรือไม่ และกำหนดบทลงโทษให้เหมาะสม” นายสิงห์กล่าว
    นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวว่า สัปดาห์หน้า กรธ.จะงดประชุม กรธ.แต่ละคนจะกลับไปพิจารณารายงานเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแต่ละหมวดตามที่ได้รับมอบหมาย ส่วนการพิจารณาแก้ไขกฎหมาย 6 ฉบับที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งส่วนท้องถิ่น ต้องรอดูว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อใด ซึ่งเชื่อว่าใช้เวลาในการพิจารณาไม่นาน เพราะคงจะแก้ไขเพิ่มเติมเฉพาะคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้บริหารและสมาชิกสภาส่วนท้องถิ่น ตามที่กระทรวงมหาดไทยเห็นชอบตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอเท่านั้น ส่วนตัวเห็นว่าในแง่ของการยุบ ควบรวมส่วนท้องถิ่น แม้จะเป็นแนวคิดในเชิงปฏิรูป แต่จะใช้เวลานาน เนื่องจากต้องสอบถามความคิดเห็นประชาชน ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังมีรายละเอียดค่อนข้างมาก ที่ในทางปฏิบัติต้องใช้เวลา เช่น การโอนทรัพย์สิน 
    "ดังนั้น ตามหลักการแล้ว จึงไม่น่าจะมีการยุบหรือควบรวมส่วนท้องถิ่นก่อนการเลือกตั้ง โดยตรงนี้สามารถแยกออกจากกันแล้วทำคู่ขนานกันไปได้ในภายหลัง สำหรับผู้บริหารและสมาชิกสภาส่วนท้องถิ่นที่ยังถูกม.44 แขวนอยู่นั้น เชื่อว่า คสช.จะเคลียร์ตรงนี้ให้จบก่อนจัดให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่น ที่จะครบวาระตามที่ คสช.ต่ออายุให้รักษาการทั้งประเทศในเดือน พ.ค.นี้ ใครที่ตรวจสอบแล้วว่ามีมูลก็ต้องดำเนินการต่อไป ส่วนใครไม่มีมูลก็ต้องคืนสิทธิในการลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากฟ้องร้องกันภายหลัง" นายชาติชายให้ความเห็น. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"