บริหารการเงินในยุควิถีใหม่


เพิ่มเพื่อน    

     ในช่วงที่ผ่านมาสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายงานว่าช่วงเดือนเมษายน 2563 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของประเทศไทยลดลงมากที่สุดในช่วงเวลาเกือบ 9 ปี เนื่องจากการหยุดชะงักของอุตสาหกรรมการผลิตบางประเภท เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยภาพรวมอัตราการใช้กำลังการผลิตนั้นอยู่ที่ 51.87% ในเดือนเมษายน 2563 และ 66.7% สำหรับไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 ซึ่งลดลงจากเดิม 71.3% ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
    ขณะเดียวกัน การที่รัฐบาลไทยกำลังผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ภายในประเทศ ผู้ผลิตจำเป็นต้องปรับตัวให้สามารถดำเนินการได้ภายใต้ยุคนิวนอร์มอล ซึ่งรวมถึงการปรับมาตรฐานและขั้นตอนด้านความปลอดภัย ความสะอาด และสุขอนามัย แน่นอนว่าความเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นเหล่านี้ จำต้องนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการผลิตที่คาดว่าจะทำได้น้อยลง ซึ่งสามารถทำให้เกิดปัญหาด้านสภาพคล่องได้ แม้ว่าความต้องการทางตลาดจะเพิ่มขึ้นก็ตาม
    ในเรื่องดังกล่าว เจริญ ผู้สัมฤทธิ์เลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เคพีเอ็มจีประเทศไทย เมียนมา และลาว ได้ให้ความเห็นว่า สภาพคล่องที่ฝืดเคืองในปัจจุบันอาจเกิดจากความต้องการบริโภคและยอดขายที่ลดลงเนื่องจากผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่น และรู้สึกถึงสภาวะทางเศรษฐกิจที่ถดถอย ขณะที่ผู้ผลิตอาจต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายด้านการผลิตที่เพิ่มขึ้น สาเหตุมาจากประสิทธิภาพในการผลิตที่ลดลงเพราะมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม หรือ Social distancing ต้นทุนชิ้นส่วนที่เพิ่มขึ้น ขั้นตอนการผลิตที่เพิ่มขึ้นและเปลี่ยนไปจากเดิม ค่าโสหุ้ยการผลิตที่สูงขึ้นจากค่าใช้จ่ายด้านการซ่อมบำรุงและการปฏิบัติการที่มากขึ้น
    นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการซื้ออุปกรณ์รักษาความปลอดภัยและความสะอาด รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบมาตรฐานและการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการการผลิต เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรต่างๆ ต้องสามารถจัดการกับเงื่อนไขทางการผลิตที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ไปพร้อมๆ กับรักษาสภาพคล่องขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
    การเริ่มต้นใหม่ทางการผลิตด้วยฐานะการเงินที่ไม่แข็งแรงและเงินสดสำรองที่มีจำกัด ประกอบกับต้นทุนต่างๆ ที่สูงขึ้น  และการผลิตที่ทำได้น้อยลงนั้น นับว่าเป็นความท้าทายอย่างมากสำหรับทีมผู้บริหาร โดยเฉพาะในช่วงที่พนักงานหลายคนทำงานจากบ้าน (Work from home) จากปัจจัยเหล่านี้ จึงมีความจำเป็นต้องจัดการเงินทุนและทรัพยากรอย่างจริงจัง เพื่อสนับสนุนการเปิดตัวสินค้าที่ก่อนหน้านี้อาจจะมีการหยุดชะงักทางการผลิต หรือยกเลิกคำสั่งซื้อไป
    แน่นอนว่าจากนี้ไปผู้ผลิตจะมีกระบวนการประกอบธุรกิจที่เปลี่ยนไปจากเดิม และพนักงานจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับกระบวนการใหม่ๆ เพื่อที่จะให้โรงงานสามารถดำเนินการต่อไปได้ตามปกติ การเข้าใจในโครงสร้างต้นทุนที่สูงขึ้น รวมทั้งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตในอนาคตและสภาพคล่องขององค์กรจะทำได้โดยอาศัยข้อมูลเชิงลึกและมีมาตรการชี้วัด (KPI) ที่ชัดเจน ซึ่งต้องให้ความสำคัญในเรื่องการลดต้นทุนและการรักษาเงินสดในระยะสั้น สิ่งนี้นับว่าจำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะผ่านช่วงเริ่มต้นใหม่ไปแล้ว จนกว่าจะสามารถหารูปแบบการผลิตใหม่ที่เหมาะสมได้
    ขณะเดียวกัน การคาดการณ์กระแสเงินสดและสภาพคล่อง ก็มีความจำเป็นไม่แพ้กัน โดยต้องคาดการณ์กระแสเงินสดและสภาพคล่องอย่างละเอียด โดยการจำลองสถานการณ์ที่ต่างกันและคำนึงถึงโครงสร้างต้นทุนที่สูงขึ้น เพื่อให้องค์กรมีสภาพคล่องพอที่จะดำเนินการผลิตและรักษาความปลอดภัยให้แก่พนักงานได้ รวมถึงการมุ่งเป้าไปที่การแก้ปัญหาและข้อมูลควรถูกใช้เพื่อการพัฒนา และลดการถดถอยของผลประกอบการเป็นหลัก
    และหากจะพูดถึงความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน ก็คงต้องมีการย้อนกลับไปพิจารณาห่วงโซ่อุปทานและทำการปรับเปลี่ยนโครงสร้างกระบวนการและเครือข่ายของห่วงโซ่อุปทานเพื่อสร้างความยืดหยุ่น รวมถึงหลีกเลี่ยงการพึ่งพาแหล่งวัตถุดิบหรือผู้จัดหาวัตถุดิบเจ้าใดเจ้าหนึ่งมากเกินไป
    แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนกระบวนการต่างๆ สำหรับผู้ผลิตในยุคนิว นอร์มอลนั้นจะมีมูลค่าสูง แต่ถ้าองค์กรไม่มีมาตรการรองรับที่ดีเพียงพอ อาจทำให้ผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นมีมูลค่าที่สูงมากยิ่งกว่า และถ้ามีพนักงานติดเชื้อโควิด-19 แม้เพียงคนเดียว ก็อาจจะทำให้โรงงานต้องหยุดดำเนินการ เพราะฉะนั้นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับพนักงาน พร้อมกับนำนวัตกรรมมาพัฒนาขั้นตอนการผลิต จะสามารถทำให้โรงงานประสบความสำเร็จได้ยุคของวิถีใหม่.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"