9 มิ.ย.63-เว็บไซด์สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องนายชำนาญ รวิวรรณพงษ์ อดีตประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกา ที่ขอให้วินิจฉัยการกระทำของประธานศาลฎีกาที่ออกคำสั่งให้พ้นจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญว่าเป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 และการที่นำการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อให้ทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากราชการเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ไว้พิจารณาวินิจฉัย
เหตุกม.ไม่ให้อำนาจตรวจสอบ แต่ระบุปธ.ศาลฎีกาดำเนินการตามมติก.ต.และขั้นตอนที่กม.กำหนด ไม่ถือว่าละเมิดสิทธิ ชี้ไม่พอใจสามารถใช้สิทธิอุทธรณ์-ฟ้องศาลยุติธรรมได้
โดยระบุเหตุผลว่า การกระทำของประธานศาลฎีกาที่ถูกร้องเป็นการกระทำในฐานประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้เป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่บริหารงานบุคคลเกี่ยวกับผู้พิพากษาของศาลยุติธรรม จึงเป็นการกระทำที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของก.ต. ที่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.)ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2561มาตรา 47(6) บัญญัติไม่ให้ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องไว้พิจารณา
และการที่ประธานศาลฎีกานำความกราบบังคับทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้นายชำนาญพ้นจากราชการเป็นผลมาจากคำสั่งซึ่งเป็นไปตามมติของก.ต.ให้พ้นจากราชการอันเป็นกระบวนการที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น หากนายชำนาญไม่เห็นด้วยกับมติก.ต. สามารถใช้สิทธิร้องขอให้ก.ต.ทบทวนมติดังกล่าวโดยการอุทธรณ์ ร้องทุกข์ หรือร้องขอให้พิจารณาใหม่ ซึ่งเป็นระบบการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการใช้อำนาจของก.ต.ที่เป็นระบบการตรวจสอบภายในโดยผู้ออกมติหรือคำสั่ง การกระทำของประธานศาลฎีกาดังกล่าวจึงไม่เป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิของนายชำนาญตามที่อ้าง จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามพ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2561มาตรา 46 วรรคหนึ่ง นายชำนาญจึงไม่อาจยื่นคำร้องกรณีดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 ได้
ส่วนที่นายชำนาญขอให้วินิจฉัยว่าพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 2543 ที่ไม่กำหนดสิทธิในการอุทธรณ์มติหรือคำสั่งของก.ต.และมาตรา 83 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 26 มาตรา 27 มาตรา 188 วรรคสอง มาตรา 190 และมาตรา 196 นั้น เห็นว่าคำกล่าวอ้างของนายชำนาญสืบเนื่องมาจากคำสั่งสำนักงานศาลยุติธรรมที่ 1531/2562 ลงวันที่ 27 พ.ย.62ที่ให้นายชำนาญพ้นจากราชการตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 2543มาตรา 12 วรรคสอง ประกอบพ.ร.บ.หลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส 2542 มาตรา 6 มาตรา 6/1 และมาตรา 7 จึงไม่ใช่กรณีที่นายชำนาญได้รับความเสียหายจาการถูกลงโทษทางวินัยตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 2543 ที่มาตรา 83 กำหนดขั้นตอน กระบวนการทบทวนคำสั่งลงโทษทางวินัยของก.ต.ไว้ชัดเจน
แต่เป็นกรณีได้รับความเสียหายจากมติอื่นของก.ต.มีสิทธิร้องทุกข์ต่อก.ต.ภายใน2 ปีนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่งหรือรับทราบมติ เพื่อขอให้ทบทวนมติได้ และคำวินิจฉัยของก.ต.ให้เป็นที่สุด
เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องเป็นกรณีตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 2543 มาตรา 84 ที่กำหนดขั้นตอนการใช้สิทธิขอให้ทบทวนโดยการร้องทุกข์ต่อก.ต. แม้จะเป็นการทบทวนโดยผู้ออกคำสั่งหรือมติก็ตาม ก็ถือว่าเป็นไปตามหลักการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการใช้อำนาจของก.ต.แล้ว หากนายชำนาญไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาของก.ต. ก็สามารถใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมตามที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ตามมาตรา 194 ได้.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |