เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.2563 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังประชุมมอบนโยบายให้กับผู้บริหารกระทรวงการคลัง โดยมีนายอุตตม สาวนายน รมว.การคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย และผู้บริหารกระทรวงการคลัง ร่วมประชุม ว่า พระราชการกำหนด (พ.ร.ก.) ให้กู้เงินฉุกเฉิน 1 ล้านล้านบาท ในส่วน พ.ร.ก.ซอฟท์โลน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วงเงิน 5 แสนล้านบาท และ พ.ร.ก.รักษาเสถียรภาพการเงิน 4 แสนล้านบาท ทั้งหมดผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว การเยียวยาเริ่มแล้ว และต้องมั่นใจว่าเงินเยียวยาทั้งหลายไปสู่ประชาชนครบหรือไม่ ซึ่งกระทรวงการคลังยืนยันว่าได้ตามเป้าหมายแล้ว
นอกจากนี้ ยังเหลือในส่วนของประกันสังคมที่ยังร้องเรียนอยู่ ได้มอบปลัดกระทรวงการคลังประสานกองทุนประกันสังคมเร่งดำเนินการ โดยยอมรับว่า อาจมีบางส่วนยังช่วยเหลือไม่ครบ ก็สั่งให้ติดตามและประสานให้ประชาชนได้รับความช่วยเหลืออย่างครบถ้วน
นายสมคิด กล่าวว่า ได้ฝากที่ประชุมให้ไปพิจารณารายละเอียด พ.ร.ก.ซอฟท์โลน และ พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อช่วยเหลือเอกชน รวมถึงเรื่องตราสารหนี้ ซึ่งมีปัญหาบางส่วนซึ่งเข้าไม่ถึงสินเชื่อ เพราะว่าลักษณะสำคัญของกองทุนและการปล่อยสินเชื่อ จะทำผ่านระบบธนาคาร ดังนั้นเมื่อผ่านระบบดังกล่าว ก็จะมีธุรกิจติดเงื่อนไขเข้าไม่ถึงมีแน่นอน
ขณะที่ พ.ร.ก.รักษาเสถียรภาพ ที่ให้อำนาจธปท.ตั้งกองทุนไปซื้อหุ้นกู้ 4 แสนล้านบาท ต้องมีจุดประสงค์ไม่ให้ช่วยเฉพาะธุรกิจที่น่าลงทุน หรือ Investment Grade เท่านั้น แต่ต้องการช่วยธุรกิจที่มีศักยภาพ แต่มีปัญหาต้องรักษาเอาไว้ จึงฝากกระทรวงการคลัง ธปท. สำนักงานคณะกรรมกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) หากลไกเข้ามาดูแลส่วนนี้
“ตราสารหนี้ในระดับ Investment Grade ถูกจัดโดย บริษัท ทริสต์ เรตติ้ง และ ฟิทช์ เรตติ้ง ซึ่งเป็นการจัดอันดับในภาวะเศรษฐกิจปกติ แต่ในภาวะที่ไม่ปกติ คุณจะใช้วิธีการปกติมาจัดอันดับไม่ได้ มันจะมีกลุ่มธุรกิจที่ยังมีศักยภาพไปได้ แต่ไม่ได้รับการเยียวยา ซึ่งจุดประสงค์ของรัฐบาล ไม่ได้ต้องการช่วยเฉพาะธุรกิจที่มี Investment Grade เท่านั้น แต่ต้องช่วยธุรกิจไทยที่มีศักยภาพและรักษาเขาเอาไว้” นายสมคิด กล่าว
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เห็นชอบกรอบมาตรการที่กระทรวงการคลังเสนอ ให้จัดตั้งกองทุนช่วยคนตัวเล็ก ซึ่งยังขาดกลไกการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ดังนั้นการบริหารจัดการโดยไม่ผ่านระบบธนาคารต้องคิดออกมาให้เร็ว เพราะลำดับถัดไปกลุ่มนี้จะเดือดร้อน มีปัญหา ดังนั้นตรงนี้ต้องออกมาให้เร็ว เพื่อช่วยให้อยู่รอดได้
นายสมคิด กล่าวว่า ขณะเดียวกัน ได้หารือกับ ก.ล.ต. จัดตั้งกองทุนที่สามารถเข้ามาช่วยเหลือบริษัทที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่ยังไม่ได้รับมาตรการช่วยเหลือ โดยมีแนวคิดต้องมีคนมาลงขันในกองเหล่านี้ เพื่อมาลงทุนในบริษัทที่ต้องการช่วยเหลือ ซึ่ง ก.ล.ต.ได้ขอมาตรการทางภาษีที่จูงใจให้สามารถระดมทุนก้อนนี้ ซึ่งรัฐบาลาพยายามปิดช่องโหว่ในส่วนที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ ทั้งบุคคลธรรมดา ภาคธุรกิจ ขนาดเล็ก กลาง ทั้งหมด
นอกจากนี้ ยังได้สั่งการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และอธิบดีกรมจัดเก็บภาษี ต้องการให้มีการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เพิ่มเติม เรื่องมาตรการ เช่น ร้านค้าเปิดแล้ว แต่คนไม่กล้าไปซื้อของ ยิ่งได้รับผลกระทบหนัก ร้านค้าต้องจ่ายเงิน ค่าใช้จ่าย แต่รายได้ไม่ดี อีกไม่ช้าจะอยู่ไม่ได้ จำเป็นต้องมีมาตรการจูงใจเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายหรือไม่
นายสมคิด กล่าวว่า แทนที่จะรอคนตกงานแล้วเยียวยา กระทรวงการคลังต้องเตรียมมาตรการรับภาระบางส่วนเรื่องการจ้างงาน เช่น บางกิจการห้ามไล่พนักงานออก แต่รัฐต้องช่วยให้สามารถลดค่าใช้จ่ายบางส่วนในหลายด้าน โดยมีข้อแลกเปลี่ยนคือ อย่าปลดพนักงาน เป็นการช่วยตั้งแต่ต้นงาน
นอกจากนี้ สิ่งหนึ่งที่คลังจะช่วยได้มากๆ คือธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ (แบงก์รัฐ) และทุกกรมสังกัดกระทรวงการคลัง ต้องแบ่งพื้นที่ในประเทศไทย เป็นจังหวัด เป็นอำเภอ จะทำโรงทาน อย่างน้อย 1 มื้อให้ชาวบ้าน ในช่วง 3-4 เดือนข้างหน้า เศรษฐกิจจะมีปัญหามากขึ้น เป็นการลดค่าใช้จ่ายชาวบ้านวันละ 1 มือ ระดมความช่วยเหลือภาคเอกชนเข้ามา ไม่ได้เหนือบ่ากว่าแรง 1 มื้อสำหรับชาวบ้านสำคัญมาก ขอให้คนยากจนได้มีโอกาสตรงนี้
เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.2563 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังประชุมมอบนโยบายให้กับผู้บริหารกระทรวงการคลัง โดยมีนายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง ร่วมเข้าประชุม ว่า ได้หารือกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรื่องการการคลายล็อคดาวน์ให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศกลับเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยได้ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในการฟื้นการท่องเที่ยวของไทย แต่การเปิดให้นักท่องเที่ยงเข้ามาต้องเลือกสรรอย่างให้ดี ประเทศที่จะจับคู่กันต้องปลอดจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 พอสมควร
“การให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในไทย ไม่จำเป็นต้องเปิดให้ต่างชาติเข้าทั้งประเทศ สามารถเลือกเป็นเมือง หรือ มณฑล เชื่อมโยงระหว่างคนกับพื้นที่ ต้องติดตามให้ดี มีระบบดิจิทัล ต้องค่อยๆ เปิด จะมีต่างประเทศเข้ามาเที่ยวไทยในไตรมาส 3-4”นายสมคิด กล่าว
ขณะนี้การกระตุ้นการบริโภค และท่องเที่ยวสำคัญมาก เพราะโลกตอนนี้การส่งออกหวังพึ่งไม่ได้ ดังนั้นการบริโภคในประเทศ จะได้เห็นมาตรการใหม่ของคลัง กระตุ้นคนมีอำนาจซื้อไปจับจ่ายใช้สอย ออกมาไตรมาส 3 บวกกับของการท่องเที่ยว ซึ่งตอนนี้สถานการณ์การท่องเที่ยวภายในประเทศดี โรงแรมเต็มเกือบ 100% คนอยากออกไปเที่ยว การคลายล็อกของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. เริ่มคลาย แต่มาตรการให้คน กทม. ออกไปต่างจังหวัด ต้องมีมาตรการออกมาเพิ่ม เพื่อให้เม็ดเงินท่องเที่ยวหล่อเลี้ยงไตรมาส 3-4 ได้
ทั้งนี้ มาตรการท่องเที่ยวและมาตรการกระตุ้นการบริโภค ต้องเตรียมไว้ในไตรมาส 3-4 อย่างน้อยๆ หวังว่าสิ่งเหล่านี้จะผ่อนคลายและประคองเศรษฐกิจได้ถึงต้นปีหน้า การคิดต้องคิดเป็นรายไตรมาส ปีหน้าหวังส่งออกดีขึ้น ท่องเที่ยวดีขึ้น ถ้ายังไม่ดี คลังเตรียมตัวล่วงหน้าแล้วว่าจะต้องทำอย่างไร มีเงินเยียวยาประชาชนได้อย่างไร คิดก่อนล่วงหน้าแล้ว แต่ยังไม่ถึงเวลาต้องมาพูดกัน
นายสมคิด กล่าวว่า ได้ฝากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งจะเริ่มให้หน่วยงานส่งเรื่องเข้ามา ขอใช้เงินจากพระราชกำหนดกู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ในส่วนการฟื้นฟู 4 แสนล้านบาท ขอให้เร่งพิจารณา แต่โครงการใดที่ไม่มีคุณภาพไม่ต้องให้ ให้แต่ที่มีคุณภาพ เงินไม่หมดไม่เป็นไร ปรับเป็นเงินเยียวยาได้ เมื่อรวมกับหน่วยงานต่าง ๆ เชื่อ ไตรมาส 3 เม็ดเงินจะลงไปหล่อเลี้ยงได้พอสมควร
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |