8 มิ.ย. 63 - ที่สำนักงานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน หรือ กป.อพช.อีสาน ซ.วุฒาราม เขตเทศบาลนครขอนแก่น นายคุ้มพงศ์ ภูมิภูเขียว ผู้ประสานงานเครือข่ายทนายความเพื่อปฏิรูปความยุติธรรม พร้อมด้วย นายณัฐวุฒิ กรมภักดี ผู้ประสานงานกลุ่มเพื่อนคนไร้บ้าน จ.ขอนแก่น , นายถนัด แสงทอง เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน และนายปฎิวัติ เฉลิมชาติ เลขาธิการ กป.อพช. ภาคอีสาน ได้ร่วมกันแถลงการณ์เรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จากกรณีการหายตัวไปของนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่อาศัยอยู่ในประเทศกัมพูชา หลังจากที่ถูกกลุ่มคนร้ายบังคับจับตัวไป เหตุเกิดบริเวณด้านหน้าคอนโดมีเนียมที่พักใจกลางกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. ที่ผ่านมา
นายปฎิวัติ เฉลิมชาติ เลขาธิการ กป.อพช. ภาคอีสาน กล่าวว่า การกระทำที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นกับผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่เป็นคนไทย แต่กลับถูกถูกบังคับให้สูญหาย เป็นอาชญากรรมร้ายแรงทางกฎหมายระหว่างประเทศ กป.อพช.อีสาน จึงขอเรียกร้องให้ทางการกัมพูชาเร่งสืบสวนสอบสวนติดตามการหายตัวไปของนายวันเฉลิม อย่างเร่งด่วนและจริงจัง ขณะเดียวกันในฐานะที่นายวันเฉลิมเป็นพลเมืองไทย แม้ว่านายวันเฉลิม จะเป็นผู้ต้องหาตามความผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ และข้อหาฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. ของทางการไทย ก็ตามรัฐบาลไทยจะต้องประสานงานและดำเนินการติดตามหาพลเมืองไทยในเหตุการณืที่เกิดขึ้นนี้ด้วย ดังนั้นหลังจากนี้ไป กป.อพช. มีมติร่วมกันว่าจะนำคณะ เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อยื่นหนังสือต่อสถานทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย และนายกรัฐมนตรีของไทย เพื่อให้เร่งดำเนินการเอาผิดคนร้ายโดยเร็ว
ด้าน นายคุ้มพงศ์ ภูมิภูเขียว ผู้ประสานงานเครือข่ายทนายความเพื่อปฏิรูปความยุติธรรม กล่าวว่า ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ความรู้ความเข้าใจกับสังคม เพราะกรณีนี้อาจจะเกิดขึ้นกับใครก็ได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ผ่านมาเหตุการณ์ในลักษณะนี้มักเกิดขึ้นกับคนที่อยู่ในความสนใจของสังคม หากดำเนินการตามหลักการร่างพระราชบัญญัติการป้องกัน ปราบปรามการทรมานและการบังคับให้บุคคลสูญหานั้น เขตอำนาจการพิจารณาคดีมีทั้งในประเทศไทยและกัมพูชา โดยรับรองตามสิทธิอนุสัญญา การดำเนินคดีจะใช้กฎหมายระหว่างประเทศ รายละเอียดในทางปฏิบัติผู้เกี่ยวข้องของทั้ง 2 ประเทศ ตำรวจสากลก็จะต้องเข้ามาร่วมในการสอบสวนร่วมกัน
อย่างไรก็ดีสำหรับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ ประเทศไทยได้ร่วมลงนาม ปี 2555 ถือเป็นการพัฒนาระบบยุติธรรม ที่สำคัญรัฐบาลไทยต้องแสดงความจริงใจที่จะยุติ ไม่ใช้ความรุนแรงและการไล่ล่านอกระบบกฎหมายต่อกลุ่มคนที่เห็นต่าง ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ในประเทศไทยหรือลี้ภัยในต่างประเทศ เมื่อมีประเด็นเกิดขึ้นรัฐบาลไทยต้องเปิดใจให้กว้าง ต้องให้การดูแล ให้ถือว่าเป็นประชาชนคนไทยคนหนึ่งที่ต้องได้รับการคุ้มครอง.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |