8 มิ.ย. 63 - ที่รัฐสภา นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ชี้แจงกรณีที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบ นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข อดีตสมาชิกนิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งอาจขัดกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ว่า ก่อนที่จะมีการเสนอนายณัฐจักร ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา และนายสุชาติ มายังวุฒิสภานั้น ทางคณะกรรมการสรรหา ที่มีประธานศาลฏีกา เป็นประธานกรรมการ ได้ตรวจสอบคุณสมบัติและวินิจฉัยบุคคลนั้นๆ แล้ว ประกอบกับตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 203 วรรคห้า กำหนดไว้ว่า ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัคร ผู้ได้รับการคัดเลือกหรือได้รับการสรรหาให้เป็นหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการสรรหาเป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยของคณะกรรมการสรรหาให้เป็นที่สุด ดังนั้น กระบวนการสรรหาไม่เกี่ยวข้องกับวุฒิสภาแต่อย่างใด
“ทางปฏิบัติวุฒิสภาจะตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ เพื่อตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และจริยธรรม ประกอบกับมาตรา 203 ด้วยเหตุนี้คณะกรรมาธิการสามัญของวุฒิสภาจึงไม่ได้มีการยกเรื่องคุณสมบัตินี้ขึ้นมาเป็นประเด็นในการวินิจฉัย และไม่มีบทบัญญัติของกฏหมายใดให้อำนาจวุฒิสภาที่จะลบล้างคำวินิจฉัยอันเป็นที่สุดของคณะกรรมการสรรหาตามรัฐธรรมนูญได้ ผมเปิดดูมาตราไหนก็ไม่มีให้วุฒิสภาลบล้างได้” ประธานวุฒิสภา ระบุ
สำหรับกระบวนการนำความขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ป.ป.ช.นั้น ตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของตน ฉะนั้น เพื่อให้กระบวนการและขั้นตอนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีความถูกต้อง จึงเห็นควรขยายเวลาการลาออกจากตำแหน่งปัจจุบันของนายสุชาติออกไปก่อน ทั้งนี้ จนกว่าจะได้ข้อยุติจากองค์กรที่มีหน้าที่และอำนาจวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ผ่านมาคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) เคยลงมติว่า พล.อ.นิพัทธ ทองเล็ก และนางจินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร มีคุณสมบัติต้องห้ามเป็น กสม. เพราะพ้นจากตำแหน่ง สนช. ไม่ถึง 10ปี ซึ่งแย้งกับมติของคณะกรรมการสรรหา ป.ป.ช. ที่ระบุว่า ตำแหน่งสนช.ไม่ถือเป็น ส.ส.และ ส.ว. นายพรเพชร ตอบว่า เหตุผลการขัดคุณสมบัติเป็น กสม.ของพล.อ.นิพัทธกับนางจินตนันท์ได้ยินแต่กระแสข่าว แต่คณะกรรมการสรรหา กสม. ยังไม่ได้ทำหนังสือชี้แจง มายังวุฒิสภาอย่างเป็นทางการ ต้องรอหนังสือยืนยันจากคณะกรรมการสรรหา กสม.ก่อน จึงจะนำมาวินิจฉัยต่อได้ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
เมื่อถามต่อว่า จะต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดเรื่องคุณสมบัติของนายสุชาติหรือไม่ นายพรเพชร กล่าวว่า ช่องทางการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต้องเป็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างองค์กร แต่ขั้นตอนขณะนี้ยังไม่ถือเป็นความขัดแย้งระหว่างองค์กร จึงต้องรอหนังสือชี้แจงจากคณะกรรมการสรรหา กสม.ก่อน เพื่อดูว่าจำเป็นต้องยื่นศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าดูแล้วมีจำเป็นก็คงต้องยื่น ส่วนตัวคงไม่สามารถให้ความเห็นได้ว่า ตำแหน่ง สนช.เทียบเคียงได้กับตำแหน่ง ส.ส. และส.ว.หรือไม่
ส่วนการที่ ส.ว. อ้างว่า ไม่สามารถหักล้างคำวินิจฉัยของกรรมการสรรหา ป.ป.ช. ที่ยืนยันนายสุชาติมีคุณสมบัติถูกต้อง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 203 วรรค 5 ได้นั้น แสดงว่า แม้ ส.ว. จะสงสัยคุณสมบัตินายสุชาติ แต่ต้องปล่อยให้เลยตามเลยใช่หรือไม่ นายพรเพชร ตอบว่า ไม่ทราบว่า ส.ว. คิดอย่างไรกับประเด็นดังกล่าว
ถามย้ำว่าการที่ส.ว.ให้ความเห็นชอบ เพราะถูกมัดมือชกโดยมาตรา 203 วรรค 5 ใช่หรือไม่ ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า ถ้าจะบอกว่ามัดมือชก ก็คงเป็นไปตามนั้น.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |