ต้องฟังสุดยอดวิทยากรแถวหน้าในเมืองไทย รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ


เพิ่มเพื่อน    

รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ กรรมการคณะที่ปรึกษาด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

 

สถานการณ์ที่โลกต้องเผชิญหลังวิกฤตโควิด-19 ทุกประเทศจะต้องเร่งแก้ปัญหาจากผลกระทบโดยทุ่มใช้เงินจำนวนมหาศาล ทั่วโลกจะต้องเผชิญปัญหาใหญ่คือ การว่างงาน สงครามการค้า วิกฤติราคาน้ำมัน ตลาดทุน ความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจ การทุ่มเงินแก้ปัญหาจะก่อให้เกิดหนี้สาธารณะ รัฐบาลควรมีมาตรการเร่งด่วนเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส โดยกำกับการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปัญหาการว่างงานขนาดใหญ่ ปัญหาฝนแล้ง ช่วยเหลือสภาพคล่องของผู้ประกอบการโดยเฉพาะเอสเอ็มอี และมีมาตรการช่วยเหลือประชาชนและเกษตรกรอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ในระยะยาวการฟื้นฟูประเทศ ควรกำกับการใช้เงินกู้จากพระราชกำหนดในการแก้ไขวิกฤติโควิด-19 อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้เงินกู้เพื่อกระตุ้นการผลิตและการจ้างงาน ไม่มุ่งเฉพาะเพียงการเยียวยา และปรับคุณภาพแรงงานให้มีทักษะพร้อมกับโลกยุคใหม่ และแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคม พร้อมสร้างความมั่นใจให้นานาชาติ

 

“การระบาดของโควิด-19 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค เปลี่ยนวิถีก่อค่าใช้จ่ายใหม่ คนไทยจะเกิดสติในการสร้างสุขภาพ ระมัดระวังเรื่องการใช้จ่ายและเงินออม คนจะหันมาเรียนรู้ระบบออนไลน์ ถูกท้าทายจากเทคโนโลยีใหม่ๆ สิ่งที่ประชาชนต้องเตรียมพร้อมคือ การปรับแนวคิดของตนเองให้มีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก พัฒนาทักษะตนเองทั้งเรื่องเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและสุขภาพ” ดร.วรากรณ์กล่าว

 

โลกเผชิญกับสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ขณะนี้เราเผชิญกับสงครามโลกครั้งที่ 3 จากโรคระบาด โลกหยุดนิ่งพร้อมกันทั้งโลก ไม่มีการผลิตเป็นความปั่นป่วน เพราะเราไม่เห็นศัตรูที่แอบซ่อนอยู่ เกิดความหวาดผวาเป็นสงครามจู่โจมส่งผลทางจิตวิทยาเป็นอย่างมาก ถึงกับต้อง Reimagination จัดเตรียม 5 ขั้นตอนชีวิตใหม่หาคำตอบแก้ไขวิกฤติ เพื่อกลับเข้าสู่สถานการณ์เก่า ขณะเดียวกันเราต้องเตรียมปฏิรูปในระยะยาว

 

นพ.ดร.ไพโรจน์ เสาน่วม ซักถาม รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์

 

ขณะนี้เราอยู่ที่เส้นสีแดง โลกทั้งโลกหยุด ลุกขึ้นยืนไม่มีคนพยุง เกิดจากธุรกรรมการซื้อขาย รายจ่ายมากกว่ารายรับ เป็นไปไม่ได้ที่โควิด-19 จะจบลงภายในปีนี้ ประเทศไทยมีโอกาสกลับคืนสู่ภาวะปกติในไตรมาสของปีหน้า 2564 เงื่อนไขอยู่ที่การผลิตวัคซีน ยารักษาโรค ตอนนี้มีเพียงยารักษาตามอาการเท่านั้น กว่าเราจะได้วัคซีนอีก 6-8 เดือน อาจจะถึงปีหน้า 2564 คาดหมายว่าปลายปี 2564 เศรษฐกิจจึงจะฟื้น แต่ละสังคมจะฟื้นตัวได้ไม่เท่ากัน ขณะนี้สหรัฐตายเกือบแสนคน สหรัฐหยุดโลกป่วยด้วยโควิดมากกว่า 2 ล้านคนแล้ว ขณะนี้ประเทศจีนเปิดประเทศแล้วแต่ยังไม่เป็นไปตามคาดการณ์แต่อย่างใด สถานการณ์โลกยังต้องเผชิญหน้า ยังต้องคลิก Start ทุกประเทศในโลกแก้ไขปัญหาด้วยการกู้เงินอย่างมหาศาล เยียวยาคนที่มีปัญหา ปัญหาหนี้สาธารณะ มีการแย่งชิงทรัพยากร ปัญหาที่ต้องเผชิญกับภาระหนี้ในอนาคต

 

พฤติกรรมของคนเปลี่ยนแปลง การดำเนินชีวิตที่แตกต่าง ชีวิตวิถีใหม่มีการออกกำลังกายมากขึ้นด้วย คนหันมาสนใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น คนว่างงานเป็นจำนวนมาก 3 แสน-7 ล้านคนสงครามทางการค้าระหว่างจีน-สหรัฐ 34% เยอรมนีและญี่ปุ่นยังไม่ลงรอยกัน ขณะนี้คนไทยเดือดร้อนมีการขึ้นภาษี คนว่างงานจำนวนมาก ปัญหาวิกฤติโลกคนไม่เดินทาง ไม่มี Demand เป็นความผันผวนทุกสิ่งย่อมกระทบโลกด้วย ตลาดทุนผูกพันกับความมั่นใจ ถ้าขาดความมั่นใจย่อมเกิดความผันผวน เกิดความขัดแย้งกับมหาอำนาจอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน รมต.ต่างประเทศสหรัฐบอกว่าจีนสร้างปัญหาที่ไม่เป็นมิตรต่อกัน

 

เราตั้ง Mind Set ปรับตัวเตรียมความพร้อม โลกเรานี้มีบรรพบุรุษผ่านมาแล้ว 7,500 ชั่วคน ครั้งหนึ่งโรคเอดส์คร่าชีวิตคนปีละ 5 หมื่นคน ปัจจุบันลดลงเหลือ 5,000 คน ทุกคนต้องปรับตัวอยู่กับโรคระบาดให้ได้ ด้วยหลักวิชาการอยู่รอด โรงงานอุตสาหกรรมเศรษฐกิจธุรกิจมีปัญหา ไม่มีอำนาจซื้อ คนว่างงานจำนวนมาก เมื่อกลับไปอยู่บ้านตัวเองก็ต้องเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ ไม่ต้องยึดติด เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ คนที่อยู่ในโลกใหม่ก็ต้องมีการพัฒนาทักษะติดตัว ขณะนี้รถบรรทุกขับขี่ด้วยระบบดิจิทัล ขับรถแท็กซี่เป็นสมาชิก GRAB ก็ต้องอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อใช้ Google ค้นหาเส้นทาง สังคมเราต้องมีการพัฒนา ความรู้ในเรื่องสาธารณสุขเป็นเรื่องสำคัญมาก

 

ก่อนที่จะเกิดสถานการณ์โควิด เรามองเห็นความเหลื่อมล้ำในสังคม คนเร่ร่อนปัสสาวะลงแม่น้ำลำคลอง คนที่ว่ายน้ำอยู่ก็ต้องรับผลพวงจากสิ่งสกปรก โลกในวันนี้เข้าสู่ระบบ digital คนรุ่นเก่าต้องปรับตัวเองตามวิถีชีวิตสมัยใหม่ ขณะนี้รัฐบาลให้เงินเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิดเป็นเวลา 3 เดือน แต่เวลาที่เหลืออีก 9 เดือนจะทำอย่างไร ประเทศแก้ไขปัญหาด้วยการกู้เงินมหาศาลเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ เงินจำนวนนี้ก็ต้องเสียดอกเบี้ย เพื่อให้คนมีงานทำสถานะการเงินคล่องตัวขึ้น ดังนั้นต้องใช้เงินให้ถูกจุด ถึงเวลาแล้วคนไทยจะต้องช่วยกันมิให้เสียโอกาส คนจนจริงๆ ไม่สามารถใช้ IT ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนอาศัยอยู่ตามชายขอบ คนจนที่อยู่ในชนบทถูกละเลยจากการพัฒนาโดยแท้ การพัฒนาต่อยอดสาธารณสุขไทยจะต้องทำให้ดีขึ้นด้วย ระบบสาธารณสุขที่มีอยู่ต้องต่อยอดให้ดีที่สุด

 

“เราต้องเผชิญกับปัญหาโควิด 1 ปี 6 เดือน รัฐให้ความช่วยเหลือได้ 3 เดือน จึงเป็นโจทย์น่าคิด วันเวลาที่เหลือจะดิ้นรนกันอย่างไรที่เป็นการพึ่งพาตนเอง ประเทศไทยเป็นเมืองผลิตอาหารเพียงพอที่จะส่งออกได้ ขณะนี้ประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียนำเข้าอาหารเป็นปีแรก การทำเกษตรสมัยใหม่มีส่วนร่วมกำหนดราคาได้ ผลไม้ที่ใช้นวัตกรรมแก้ไขปัญหาได้ ช่วยเยียวยา มีเงินเท่าไหร่ไม่เพียงพอก็ต้องพึ่งพา IT เพื่อแก้ไขปัญหา การบูรณาการเรื่องของ IT ให้เข้ากับชีวิตประจำวัน ชีวิตจะต้องดำเนินต่อไปด้วยการปรับตัว การรับข้อมูลข่าวสารบุคคล เราต้องใช้เงิน 270 ล้านบาท เพื่อรักษาคนไข้โควิด

 

Trend เรื่องการศึกษาในช่วงโควิดตอบโจทย์ความท้าทายใหม่ๆ นักเรียนเรียนออนไลน์ “ผมเขียนลง นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ว่า การที่นักเรียนเรียนทางออนไลน์เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เครื่องมือที่เรียนทางออนไลน์คือ โทรศัพท์มือถือจำเป็นต้องมีสัญญาณที่ดี มีครูที่ดี ขณะเดียวกันนักเรียนก็ต้องมีความมุ่งมั่นที่จะเรียนให้จบด้วย มีสถิติว่ามหาวิทยาลัยทั่วโลกที่จัดเรียนทางออนไลน์ เรียนกันเป็นล้านคน เรียนจบหลักสูตรไม่ถึง 6% ในขณะที่การศึกษาในวันข้างหน้าหนีไม่พ้นการเรียนทางออนไลน์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนต่อไปได้”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"