สาธารณสุขเลิก ห้ามชาร์จมือถือ อ้างปฏิบัติยาก!


เพิ่มเพื่อน    

สาธารณสุขทนรับก้อนหินไม่ไหว ออกหนังสือเวียนให้มีผลบังคับใช้ทันทีในวันเสาร์ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ ยกเลิกมาตรการห้ามชาร์จแบตมือถือ  อ้างไม่ชัดเจนในทางปฏิบัติ ลั่นไม่มีแถลงข่าวในวันจันทร์
เมื่อวันอาทิตย์ นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงหนังสือเวียนของสำนักงานปลัด สธ. เรื่องมาตรการป้องกันกรณีใช้ทรัพย์สินของทางราชการ ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2560 ว่าได้ลงนามประกาศสำนักงานปลัด สธ.ไปเมื่อวันที่ 6 ม.ค.2561 เรื่องยกเลิกมาตรการป้องกันกรณีใช้ทรัพย์สินของทางราชการ ลงวันที่ 29 ธ.ค. ซึ่งมีมาตรการชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์ที่หลายคนกังวลแล้ว และจะนำกลับมาทบทวนโดยผู้ที่เกี่ยวข้อง ว่าประกาศเรื่องดังกล่าวออกมาเป็นเช่นใดต่อไป และขอย้ำว่าที่มีกระแสว่าจะแถลงข่าวในวันจันทร์ที่ 8 ม.ค.นี้ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
ทั้งนี้ นพ.เจษฎาได้ลงนามเมื่อวันที่ 6 ม.ค. ในหนังสือที่ สธ.0201.04/ว44 เรื่องขอยกเลิกประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เรื่องมาตรการป้องกันกรณีใช้ทรัพย์สินของทางราชการ ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2560 ส่งถึงนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วไป/ผู้อำนวยการสำนัก/ผู้อำนวยการกอง/ผู้อำนวยการศูนย์/ผู้อำนวยการสถาบัน/ผู้อำนวยการกลุ่มในสังกัดสำนักงานปลัด สธ. 
เนื้อหาหนังสือระบุว่า ตามหนังสือที่อ้างถึงสำนักงานปลัด สธ. ได้แจ้งเวียนประกาศสำนักงานปลัด สธ.เรื่องมาตรการป้องกันกรณีการใช้ทรัพย์สินทางราชการ เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2560 เพื่อให้ทุกหน่วยงานในสังกัดทราบและถือปฏิบัติ ความละเอียดแจ้งแล้วนั้น สำนักงานปลัด สธ.พิจารณาแล้วเห็นว่า เนื่องจากมาตรการตามประกาศฉบับดังกล่าวมีประเด็นความไม่ชัดเจนในทางปฏิบัติ จึงเห็นควรให้มีการทบทวน เพื่อความเหมาะสมและเกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ จึงให้ยกเลิกประกาศดังกล่าว ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2561 เป็นต้นไป
สำหรับมาตรการป้องกันกรณีการใช้ทรัพย์สินของทางราชการ ที่ออกประกาศเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. ระบุว่า เพื่อเป็นกลไกในการป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมให้ชัดเจนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยกำหนดการใช้ทรัพย์สินของทางราชการ ได้แก่ ข้อ 1 ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐนำวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงานต่างๆ ไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว, ข้อ 2  ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐนำโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนตัวมาชาร์จไฟในสถานที่ราชการ, ข้อ 3 ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์ของทางราชการ ไปใช้ในกิจธุระส่วนตัว, ข้อ 4 ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐให้พนักงานขับรถยนต์ของหน่วยงาน ไปกระทำภารกิจส่วนตัว ซึ่งไม่เกี่ยวข้องในหน้าที่หรือภารกิจของทางราชการ, ข้อ 5 ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐนำรถยนต์ส่วนตัวและครอบครัวมาจอดค้างคืนในสถานที่ราชการ และข้อ 6 ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์ส่วนตัว มาล้างในสถานที่ราชการ
ส่วนกลไกการกำกับตามมาตรการป้องกันกรณีการใช้ทรัพย์สินของทางราชการ ข้อ 1 ผู้บริหารต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการประพฤติปฏิบัติตามมาตรการ, ข้อ 2 ผู้บริหารต้องเห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรการ, ข้อ 3 หน่วยงานประชาสัมพันธ์ให้เจ้าหน้าที่ทุกคนได้ทราบมาตรการ ทั้งนี้ ให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขทุกคนถือปฏิบัติตามมาตรการป้องกันกรณีการใช้ทรัพย์สินของทางราชการ หากฝ่าฝืนจะมีความผิดทางวินัยและได้รับโทษทางวินัยตามควรแก่กรณี 
ขณะเดียวกัน โลกออนไลน์ในเพจเฟซบุ๊กต่างๆ มีการแชร์และโพสต์ภาพเอกสาร สธ.0201.04/ว44 ที่ลง นามโดย นพ.เจษฎา เมื่อวันที่ 6 ม.ค.กันอย่างแพร่หลาย รวมทั้งมีการวิพากษ์วิจารณ์ด้วย โดยมองว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ดีจากพลังโซเชียลฯ  เพราะเป็นการออกประกาศในวันเสาร์ ซึ่งไม่ใช่วันทำงานของราชการ ในขณะที่บางส่วนก็อยากให้มีการติดตามต่อว่าใครเป็นผู้ต้นคิดมาตรการดังกล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"