เผื่อ 'ฉากทัศน์' เลวร้ายกว่าที่คาดไว้!


เพิ่มเพื่อน    

    ทั้งแบงก์ชาติและสภาพัฒน์ออกมาบอกคนไทยว่าสถานการณ์เศรษฐกิจของไทยน่าเป็นห่วงอย่างมาก
    แต่เรายังไม่เห็น “พิมพ์เขียวประเทศไทย” ที่จะแก้ปัญหาหนักหน่วงเช่นนี้อย่างชัดเจน
    สภาพัฒน์คาดว่าคนไทยเสี่ยงที่จะตกงานประมาณ 8.4 ล้านคน
    ธปท.แจ้งว่าเศรษฐกิจเดือนเมษายนหดตัวสูงขึ้น จากปัจจัยส่งออก (ไม่รวมทองคำ) ติดลบ 15.9%
    นักท่องเที่ยวต่างชาติหดหายเป็นศูนย์
    มีคำเตือนจากนักวิชาการที่เกาะติดสถานการณ์ว่าถ้าเราคิดว่าตอนนี้แย่ รออีก 5 เดือนจากนี้ไปจะเห็นของจริงที่แย่กว่า
    เพราะเมื่อพ้น 3 เดือนที่มีเงินช่วยเหลือเดือนละ 5,000 บาททั้งคนหาเช้ากินค่ำและเกษตรกรแล้ว ปัญหาจริงจะโผล่ และความหนักหนาสากรรจ์ของวิกฤติครั้งนี้จะแสดงตัวอย่างชัดเจน
    คุณดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บอกว่า
    “เดือนเมษายนเป็นเดือนที่เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบชัดเจนจากโควิด ซึ่งเราจะเห็นได้จากเครื่องยนต์เศรษฐกิจเกือบทุกเครื่องยนต์หดตัว ส่วนที่ขยายตัวได้มีเพียงการใช้จ่ายภาครัฐ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวหดตัว 100% เพราะไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเลย หลังจากปลายมีนาคมที่ผ่านมา เราประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และห้ามนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศ เสถียรภาพเศรษฐกิจมีความเปราะบางมากขึ้น และจุดที่เรากังวลเป็นพิเศษคือ ตลาดแรงงาน”
    มูลค่าการส่งออกสินค้าหดตัว 3.3% จากระยะเดียวกันปีก่อน
    ถ้าไม่รวมการส่งออกทองคำที่มีมูลค่าสูงเป็นประวัติการณ์ในเดือนนี้ มูลค่าการส่งออกหดตัวสูงที่ 15.9%
    ส่วนใหญ่เป็นการหดตัวสูงในหมวดยานยนต์และชิ้นส่วน สินค้ากลุ่มที่มูลค่าเคลื่อนไหวตามราคาน้ำมันดิบ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องจักรและอุปกรณ์ จากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าและราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับลดลงมาก
    แต่การส่งออกบางหมวดสินค้ายังขยายตัวได้ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเกษตรแปรรูป และสินค้าเกษตร เพราะเป็นกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลดีจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19
    ทำไมตัวเลขของกระทรวงพาณิชย์เป็นบวก?
    เพราะสายการบินต่างๆ มีการส่งคืนเครื่องบิน เนื่องจากไม่สามารถทำการบินได้ และหากจอดทิ้งไว้ก็จะเสียค่าจอดเปล่าๆ
    มองไปข้างหน้า การส่งคืนเครื่องบินน่าจะน้อยลงแล้ว
    คาดว่าในเดือนมิถุนายน ตัวเลขส่งออกของ ธปท.กับกระทรวงพาณิชย์น่าจะกลับมาใกล้เคียงกัน
    มูลค่าการนำเข้าสินค้าหดตัวสูงที่ 17% จากระยะเดียวกันปีก่อน
    ถ้าไม่รวมการนำเข้าทองคำ มูลค่าการนำเข้าหดตัวที่ 13.8% ซึ่งเป็นการหดตัวในทุกหมวดสินค้าสำคัญ ทั้งหมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง สินค้าทุน และสินค้าอุปโภคบริโภค สอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ลดลง
    ที่น่าเป็นห่วงเป็นพิเศษคือการว่างงาน ซึ่งจะมีผลทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างสูง
    จำนวนผู้ขอรับสิทธิ์ว่างงานในระบบประกันสังคมที่เพิ่มขึ้นมากอย่างชัดเจน
    “จุดที่ ธปท.ค่อนข้างเป็นกังวลคือ ตลาดแรงงาน โดยข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคมพบว่า ในเดือน เม.ย. มีผู้ประกันตนยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ชดเชยกรณีว่างงานเพิ่มขึ้นค่อนข้างแรง และมีสถานประกอบการที่ยื่นใช้สิทธิตาม ม.75 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 คือ ให้ลูกจ้างหยุดงานแต่ยังได้รับค่าจ้าง 75% ของเงินเดือน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 5 เท่า คือ เพิ่มจาก 9 หมื่นแห่งในเดือน มี.ค. เป็น 4.6 แสนแห่งในเดือน เม.ย.” คุณดอนอธิบาย
    หลายสำนักเห็นตรงกันว่าเศรษฐกิจเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาอาจจะดีขึ้นบ้าง แต่ยังหดตัวสูง
    จึงไม่ต้องแปลกใจหากเศรษฐกิจจะยังหดตัวต่อเนื่องไปถึงมิถุนายนนี้ เพราะแนวโน้มชี้ชัดไปทิศทางนี้
    ไตรมาสสองนี้จึงน่าจะเป็นไตรมาสที่เศรษฐกิจไทยจะหดตัวลึกที่สุด
    ขึ้นอยู่กับว่าปัจจัยทั้งหลายจะทำให้ไตรมาสที่สามกระเตื้องขึ้นได้บ้างหรือไม่
    แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร รัฐบาลจะต้องลงมือทำแผนเผื่อสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด หรือ worst-case scenario
    เพราะทุกวงการยอมรับกันแล้วว่า
    แม้คิดว่าเลวร้ายที่สุดเป็นภาพอย่างไร ความจริงที่ออกมาอาจจะเลวร้ายกว่านั้นก็ได้!
                (พรุ่งนี้: คนตกงานอาจเกิน 8 ล้านคน).


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"