6 มิ.ย.63 - นายปิยบุตร แสงกนกกุล แกนนำคณะก้าวหน้า โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก โดยมีเนื้อหาดังนี้
ประเทศไทยจะต้องไม่มีบุคคลที่ถูกซ้อมทรมาน จะต้องไม่มีบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหายอีกต่อไป
เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563 ขณะที่ผมยังดำรงตำแหน่ง ประธานคณะกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ภาคประชาชน องค์กรสิทธิมนุษยชน ผู้เสียหาย และญาติ ร่วมกันยื่นร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย ฉบับประชาชน ต่อ กมธ. กฎหมายฯ เพื่อให้ผลักดันเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรต่อไป
หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 ก่อนศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่เพียง 1 วัน ที่ประชุมคณะกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฏร ได้พิจารณาเพื่อผลักดัน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายฉบับประชาชน โดยมีภาคประชาชนและครอบครัวของเหยื่อที่ถูกกระทำเข้าร่วมให้ข้อมูลด้วย ที่ประชุมมีมติพิจารณาดำเนินการต่อไป โดยให้กรรมาธิการแต่ละพรรคนำไปหารือกับ ส.ส. เพื่อเสนอร่างร่วมกัน เพราะการจะนำร่างเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ ได้รับการเสนอชื่อจาก ส.ส. 20 คนขึ้นไป
ในวันนั้นผมกล่าวกับผู้ที่มายื่นหนังสือว่า ผมพร้อมจะผลักดันร่างต่อไปและอยากชวนให้ ส.ส. จากหลากหลายพรรคร่วมกันลงชื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ เพื่อแสดงให้เห็นว่าการยุติการทรมานและการใช้อำนาจรัฐบังคับให้บุคคลสูญหายเป็นวาระสำคัญของสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด โดยมิต้องแบ่งแยกเป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาล
ผมยังบอกอีกว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ไม่ใช่เป็นเพียงการอนุวัติการให้สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศเท่านั้น แต่จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และป้องกันไม่ให้เกิดกรณีเหล่านี้อีก ประเทศไทยจะต้องไม่มีบุคคลที่ถูกซ้อมทรมาน จะต้องไม่มีบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหายอีกต่อไป ประเทศไทยจะต้องไม่มีเหยื่ออย่าง หะยีสุหลง สมชาย นีละไพจิตร ทนงค์ โพธิ์อ่าน เด่น คำหล้า สุรชัย แซ่ด่าน อับดุลเลาะ อีซอมูซอ พอละจี รักจงเจริญ และลูกชายของสมศักดิ์ ชื่นจิตร อีกต่อไป
จนเมื่อวานนี้ได้ทราบข่าวกรณี คุณวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ลี้ภัยทางการเมืองชาวไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ว่าถูกอุ้มหายไปจากบริเวณที่พัก
วันเฉลิม ไม่ใช่คนแรก และจะไม่ใช่คนสุดท้ายที่เป็นเหยื่อของการถูกบังคับให้สูญหาย ถ้าหากประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายใดที่ระบุการกระทำเหล่านี้เป็นอาชญากรรมและยังไม่มีมาตรการที่สอดคล้องกับหลักการสากลเพื่อยุติการบังคับให้บุคคลสูญหาย ผู้กระทำผิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นเจ้าหน้าที่รัฐยังไม่เคยได้รับการลงโทษ
นอกจากนี้เราต้องไม่ปล่อยให้เรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องเฉพาะกลุ่มเฉพาะที่ สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ไร้พรมแดน
ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมไม่ว่าจะในประเทศไหนต้องรวมพลังช่วยกันแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันผลักดันเรียกร้องให้รัฐบาลต่างๆ ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง ทำให้การบังคับบุคคลให้สูญหายมีความผิดทางอาญา และนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |