โควิดร้ายเหลือ "หมอธีระวัฒน์" ชี้ลุกลามหัวจรดเท้า "กินกลางตลอดตัว" ลำไส้ ตับ ม้าม ระบบประสาท เกิดลิ่มเลือดแข็งตัวผิดปกติ


เพิ่มเพื่อน    

5 มิ.ย.63- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ จัดการประชุมวิชาการวาระพิเศษ COVID-19 Lecture Series ครั้งที่ 6 โดย ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ในหัวข้อ Neurologic Manifestations of COVID-19 และ รศ.นพ.นภชาญ เอื้อประเสริฐ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ในหัวข้อ Hematologic Manifestations of COVID-19


ศ.นพ. ธีระวัฒน์ ให้ข้อมูลว่า เชื้อไวรัสโควิด-19  สามารถเชื่อมโยงกับระบบประสาทด้วย ดังนั้น สิ่งที่ต้องรับทราบคือ โควิด-19 มีการลุกลามไปตั้งแต่หัวจรดเท้า หรือกินกลางตลอดตัว ทั้งลำไส้ ตับ ม้าม   สามารถเลือกแหล่งที่อยู่ได้เอง และสามารถเปลี่ยนแหล่งที่อยู่ได้ด้วย อย่างที่ทราบคือ เราพบเชื้อไวรัสที่จมูก ลำคอ ปอดส่วนลึก หรือทางกระแสเลือดโดยตรง ซึ่งทำให้การตรวจวินิจฉัยค่อนข้างยาก เพราะการตรวจ PCR อาจจะให้ผลเป็นลบได้ ในขณะเดียวอาการที่แสดงออกก็ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เชื้อไวรัสอาศัยอยู่ ดังนั้น ในคนไข้รายแรกๆที่พบโควิด-19 จะเรียกว่า walking pneumonia คือ ไวรัสลงไปที่ปอดโดยไม่มีอาการไอ และไม่ได้รับกลิ่นหรือมีการรับรสผิดปกติ ที่เกี่ยวข้องกับเส้นประสาทสมองที่ 7,9,10 ดังนั้น ผู้ที่รับเชื้อไวรัส(MEMBRANE BOUND)  ที่มี อายุ เพศ หรือโรคประจำตัว จะมีความเสี่ยงและความรุนแรงแตกต่างกัน สะท้อนให้เห็นว่าโควิด-19 มีผลทั้งระบบประสาทส่วนกลาง ส่วนปลาย ทั้งในระยะสั้น และระยะยาวเกี่ยวกับสมอง  อย่าง กลุ่มคนที่มีโรคสมองเสื่อม หรือกำลังจะเป็นสมองเสื่อม และโรคอัลไซเมอร์ แบบ e4e4 ที่จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อและเพิ่มความรุนแรงได้มากกว่า

ในส่วนถัดมาของอาการที่เกี่ยวข้องกับเมแทบอลิก  ซึ่งทำให้สับสนในคนที่ติดเชื้อโควิด คือ ในกลุ่มคนไข้ที่ดูอาการหายดีแล้วจากโควิด กลับมี อาการกระตุกทั่วไป( generalized myoclonus )อย่างรุนแรง ซึ่งมีรายงานว่าใช้เมธิลเพรดนิโซโลน ซึ่งเป็นยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่นำมาใช้ต้านการอักเสบหรือกดภูมิคุ้มกันของร่าง แล้วอาการดีขึ้น ดังนั้นอาการอาจจะเป็นเพราะภูมิคุ้มกันมีการปรับตัว( adaptive immunity )ที่แปรปรวน  แต่อีกกลุ่มหนึ่ง มีอาการซึมต่อเนื่องไม่ฟื้น  จะพบว่ามีอาการของสมองที่ไม่ทำงาน ซึ่งเป็นผลจากโควิด-19 ที่มีความรุนแรงมากกว่าในกรณีอื่นๆ  ดังนั้น หากเราจะใช้วัคซีนในการควบคุมโควิด-19 อาจจะรู้ว่ามีเซลล์หรือกลไกต่างๆอะไรบ้างในร่างกาย และเพื่อป้องกันการระบาดในระลอกสอง อาจจะต้องมีการตรวจแบบ Sample Pooling(10X) หรือการตรวจแบบรวมกลุ่ม และการตรวจระดับภูมิคุ้มกัน ELISA IgM, IgG, คือการทดสอบแอนติบอดี ซึ่งขณะนี้ได้มีการร่วมพัฒนากับ โรงเรียนแพทย์  Duke NUS 

ด้าน รศ.นพ.นภชาญ กล่าวว่า โควิด-19 อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางโลหิต ซึ่งพบว่าผู้ติดเชื้อมีความผิดปกติของปอดที่มีเลือดออก คือ เกิดลิ่มเลือดในปอดหรือเส้นเลือดอุดตันที่ปอด  จากหลักฐานพบว่า มีภาวะเลือดแข็งตัวเร็วผิดปกติ  ในผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดลิ่มเลือดในปอด ขณะที่ภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ (VTE) ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล หรือมีเงื่อนไขทางการแพทย์ที่คล้ายคลึงกับการติดเชื้ออื่น ๆ  ดังนั้น ยังต้องทำการศึกษาว่าอุบัติการณ์ ของภาวะแทรกซ้อน ลิ่มเลือดอุดตันเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยโควิด เมื่อเทียบกับการติดเชื้ออื่นๆ  ในส่วนของยาต้านการแข็งตัวของเลือดในการรักษาโควิด -19 ซึ่งการศึกษาก่อนหน้านี้ ส่วนใหญ่ล้มเหลวในการพิสูจน์ประสิทธิภาพของยาต้านการแข็งตัวของเลือด ในการปรับผลลัพธ์ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ จากข้อมูล โควิด-19 ย้อนหลัง ยังไม่มีการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม เพราะว่ามีตัวแปรและความเอนเอียงเยอะ และอื่นๆ  จึงยังไม่มีการแนะนำให้นำมาใช้ในการรักษา

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"