4 มิ.ย.63 - เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา นายปิยบุตร แสงกนกกุล แกนนำคณะก้าวหน้า และเป็นที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน กล่าวถึงกรณีสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มีมติให้นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง มีนบุรี ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่า ถือเป็นความผิดเพี้ยนของรัฐธรรมนูญ ด้านหนึ่งต้องรักษาความเป็นกลาง ความเป็นอิสระ ไม่มีส่วนได้เสีย แต่สุดท้ายส.ว. เลือกนายสุชาติ ซึ่งเคยเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มาเป็นกรรมการป.ป.ช. เท่ากับเป็นระบบผลัดกันเกาหลัง วนกันอยู่เพียงกลุ่มคนเดิมๆ ซึ่งปัญหาต่อมาก็ต้องดูว่ามีองค์กรไหนมาชี้ขาดให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพราะทราบว่าคณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) ก็มีมาตรฐานไปอีกแบบหนึ่ง เพราะตัดสิทธิ์ผู้ที่เคยเป็นสนช. ไม่สามารถดำรงตำแหน่งกสม. ได้
นายปิยบุตร กล่าวต่อว่า อยากให้ไปย้อนดูจุดเริ่มต้น สนช. หน่วยธุรการที่เขานำไปใช้ก็คือสำนักงานเลขาวุฒิสภา ถือเป็นนัยยสำคัญอันหนึ่งว่า สนช. เท่ากับส.ส.หรือส.ว. กันแน่ ทั้งนี้ตั้งแต่ยึดอำนาจมา ก็วนกันอยู่ที่เดิม โดยพรุ่งนี้วันที่ 5 มิ.ย. หากจำกันได้ มีการเลือก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี โดย 500 เสียง มี 249 เสียงเป็นวุฒิสภา เว้นประธานวุฒิสภาที่งดออกเสียง จึงเห็นได้ว่าส.ว. ที่เลือกโดยคสช. จึงชัดเจนที่สุดว่าวุฒิสภาชุดนี้ตั้งมาเพื่อการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร
นายปิยบุตร กล่าว่า พรุ่งนี้ (5 มิ.ย.) เราจะเปิดแคมเปญ “ส.ว. มีไว้ทำไม” อย่างเป็นทางการ และวันที่ 6 มิ.ย. จะมีการจัดสัมมนาออนไลน์ ทั้งนี้จะมีผู้ร่วมสัมมนา เช่นนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีตวุฒิสภาและอดีตสภาร่างรัฐธรรมนูญ ร่วมงานเสวนา เพื่อให้สังคมพิจารณาว่าส.ว.ทำหน้าที่มา 1 ปีแล้วเพื่อประกันการสืบทอดอำนาจ ซึ่งสังคมจะเอาอย่างไรกับเรื่องนี้และจำเป็นอยุ่หรือไม่ที่จะมีส.ว. อยู่
นายปิยบุตร กล่าวถึงคดีความว่า ตั้งแต่ยุบพรรคอนาคตใหม่ ก็ยังมีคดีความค้างคาคือเรื่องดูหมิ่นศาล กรณีวิจารณ์การยุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) รวมทั้งได้ทราบข่าวว่ามีส.ส.ไปแจ้งความตนอีกหลายเรื่อง ไม่คิดว่าการมาเป็นนักการเมืองะถูกฟ้องมากขนาดนี้ ซึ่งกฎหมายหมิ่นประมาทออกมาเพื่อคุ้มครองตัวบุคคล แต่ไม่ได้มีไว้เพื่อกลั่นแกล้งหรือปิดปากคนอื่น โดยเฉพาะกับบุคคลที่เป็นบุคคลสาธารณที่ใช้อำนาจรัฐด้วย ควรจะมีความอดทนอดกลั้น ไม่เช่นนั้นก็ไม่ควรมาเล่นการเมือง เพราะในระบบประชาธิปไตยการแสดงความคิดเห็นถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ และให้สังเกตดูตั้งแต่ปี 2557 มีคดีความเรื่องหมิ่นประมาทเยอะมาก รวมทั้งใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และกฎหมายอาญามาตรา 116 เกี่ยวกับการยุยงปลุกปั่น ซึ่งนานวันเข้ากฎหมายเหล่านี้จะเป็นกฎหมายปิดปากผู้ที่แสดงความคิดเห็น ซึ่งไม่เพียงแต่ตนเท่านั้นสื่อมวลชนต้องตระหนักด้วยเพราะกระทบต่อการทำหน้าที่ ทั้งนี้ตั้งแต่ตนเล่นการเมืองมาถูกวิพากวิจารณ์ถือว่าหนักที่สุด แต่ตนก็ไม่เคยฟ้องประมาทใครเลย เพราะตนเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยเชื่อว่าสามารถถูกตรวจสอบและวิพากวิจารณ์ได้.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |