9 เม.ย.61 - ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก พ.ต.ท.ประกอบ เย็นหลักร้อย พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม นำตัวนายกาณฑ์ พงษ์ประภาพันธ์ อายุ 24 ปี, น.ส.ณัฎฐา มหัทธนา อายุ 39 ปี, นายธนวัฒน์ พรมจักร อายุ 20 ปี, นายโชคชัย ไพบูลย์รัชตะ อายุ 41 ปี และ น.ส.ศรีไพร นนทรีย์ อายุ 47 ปี แกนนำและแนวร่วมกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ผู้ต้องหาในคดียุยงปลุกปั่น เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116, ชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คน ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2558, ความผิดตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558, ใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493 และกีดขวางการจราจร ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มายื่นคำร้องฝากขังครั้งแรกเป็นเวลา 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 9-20 เม.ย.นี้ เนื่องจากต้องสอบพยานอีก 20 ปาก รอผลตรวจพิสูจน์ตัดต่อภาพจากกองพิสูจน์หลักฐาน
คำร้องฝากขังระบุพฤติการณ์สรุปว่า เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2561 เวลา 16.10 น. ที่สนามฟุตบอล ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ นายรังสิมันต์ โรม ขึ้นอ่านแถลงการณ์เปิดการปราศรัยชุมนุมบนรถหกล้อ ติดเครื่องขยายเสียง ซึ่งติดแผ่นป้ายไวนิล “รวมพลังถอนราก คสช.” มีนายกาณฑ์ เป็นพิธีกร เรียกชักชวนมวลชน มีนายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์, นายธนวัฒน์ และ น.ส.ณัฎฐา ขึ้นพูดปราศรัยโจมตีการทำงานของรัฐบาลและ คสช. ต่อมากลุ่มผู้ชุมนุมได้เคลื่อนกำลังไปยังกองบัญชาการกองทัพบก ปราศรัยโจมตีขับไล่รัฐบาลปลุกระดมมวลชนไปตลอดเส้นทาง มีผู้ร่วมชุมนุมประมาณ 350 คน โดยกลุ่มผู้ต้องหารวม 57 คน ได้ร่วมเข้าชุมนุมเดินขบวนกีดขวางการจราจร และยุติการชุมนุมเมื่อเวลา 20.45 น.
ท้ายคำร้องพนักงานสอบสวนขอคัดค้านการประกันตัว เนื่องจากกลุ่มผู้ต้องหาเคยถูกดำเนินคดีในฐานความผิดเดียวกันมาแล้ว 2 ครั้ง ที่ สน.ปทุมวัน และ สน.นางเลิ้ง ซึ่งคดีอยู่ระหว่างการสอบสวน และยังนัดหมายชุมนุมอีกในวันที่ 5 พ.ค. 2561 ซึ่งอาจก่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนขึ้นได้
น.ส.ณัฎฐา เปิดเผยก่อนการยื่นฝากขังว่า วันนี้จะยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขัง ซึ่งได้ยื่นคัดค้านตั้งแต่ชั้นให้การกับพนักงานสอบสวนแล้ว เพื่อให้พนักงานสอบสวนได้ใช้ดุลยพินิจ ตอนนี้การทำงานของตำรวจคือการส่งโดยอัตโนมัติไม่ได้พิจารณาเหตุผลอะไรเลย ยืนยันคัดค้านการฝากขังเพราะไม่มีเหตุ เราไม่มีเงื่อนไขใดๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของพนักงานสอบสวน คือเราไม่มีเจตนาหลบหนี มารายงานตัวตามหมายเรียก ไม่มีโอกาสไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน เพราะหลักฐานคลิปวิดีโออยู่กับสื่อหมดแล้ว ไม่ได้เป็นบุคคลอันตราย จึงไม่เหลือเงื่อนไขใดๆ ที่อิสรภาพของเราจะเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของพนักงานสอบสวน
ทั้งนี้ จะไม่ยื่นประกันตัว เราไม่ต้องการเห็นกระบวนการยุติธรรมถูกใช้เป็นเครื่องมือปิดปากประชาชน คสช.ผู้ตั้งข้อกล่าวหาคือคู่กรณีของเราโดยตรง จะกล่าวหาเกินจริงอย่างไรก็ได้ ส่วนที่เราการชุมนุมหน้ากองทัพบกนั้น ข้อเรียกร้องของเราไม่มีข้อเรียกร้องไหนที่ไม่เป็นไปตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ เราเรียกร้องการเลือกตั้งให้เกิดขึ้น ตามคำสัญญา ให้ คสช.หยุดการปฏิบัติหน้าที่ หยุดละเมิดสิทธิประชาชน เรียกร้องให้กองทัพหยุดสนับสนุนเผด็จการ ไม่ได้เรียกร้องให้ประชาชนออกมาทำผิดกฎหมาย การตั้งข้อหาตามมาตรา 116 เป็นการตั้งข้อหาเกินจริง
ต่อมาศาลพิจารณาคำร้องฝากขังแล้วเห็นว่า ผู้ต้องหาทั้งห้ามีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่มีพฤติการณ์หลบหนี ไปพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก และให้ความร่วมมือในการสอบสวนแก่พนักงานสอบสวนเป็นอย่างดี อีกทั้งพนักงานสอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานไว้เป็นส่วนใหญ่แล้ว สำหรับพยานบุคคลที่เหลือปรากฏว่าล้วนแต่เป็นเจ้าพนักงานทั้งสิ้น ซึ่งผู้ร้องสามารถดำเนินการสอบสวนไปได้โดยไม่มีความจำเป็นต้องขังผู้ต้องหาทั้งห้า ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่าผู้ต้องหาทั้งห้าจะไปเข้าร่วมการชุมนุมต่อไป เป็นเพียงการคาดคะเนของผู้ร้องเท่านั้น กรณีไม่มีเหตุจำเป็นที่จะขังผู้ต้องหาระหว่างสอบสวน จึงให้ยกคำร้อง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |