ครบ 10 ปีมติ ครม.ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลหลายฝ่ายเห็นพ้องยังห่างไกลความเป็นจริง อดีตรมต.วัฒนธรรมเสียดายคืบหน้าน้อย-ปัญหาที่ดินและความไม่มั่นคงในชีวิตยังเป็นปัญหาใหญ่
2 มิ.ย.63 - ได้มีการเสวนาออนไลน์ เรื่อง “มองย้อนสะท้อนบทเรียน 10 ปีมติคณะรัฐมนตรีฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล” โดยวิทยากรประกอบด้วย 1.ดร.นฤมล อรุโณทัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) 3. “ครูแดง” เตือนใจ ดีเทศ อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 4.นายธีระ สลักเพชร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม 5.นางปรีดา คงแป้น ผู้แทนมูลนิธิชุมชนไท 6.ครูแสงโสม หาญทะเล ชาวเลเกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล 7.น.ส.อรวรรณ หาญทะเล ชาวเลชุมชนทับตะวัน จ.พังงา
ทั้งนี้ก่อนเสวนา ได้มีการฟังเสียงของชาวเลจากชุมชนทับตะวัน จ.พังงา ชาวเลชุมชนเกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล และชาวเลชุมชนราไวย์ จ.ภูเก็ตโดยน.ส.อรวรรณ หาญทะเล และชาวบ้านซึ่งรวมตัวกันอยู่ที่ขุมเขียวกล่าวว่าเดิมทีพื้นที่ขุมเขียวเป็นป่าอุดมสมบูรณ์และชาวเลปลูกข้าวแต่ต่อมาได้มีการให้สัมปทานเอกชนทำเหมือนแร่ และเมื่อหมดยุคชาวบ้านก็กลับมาใช้เป็นพื้นที่จอดเรือ แต่ภายหลังเหตุการณ์สึนามิ นายทุนมาปักป้ายบอกว่าเป็นพื้นที่ของเขา บางครั้งมีการเอาหมาเข้ามาปล่อย และมีการดำเนินคดี จนศาลสั่งให้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน แต่รัฐก็ยังไม่ได้มาฟันธงว่าพื้นที่นี้เป็นของใคร อย่างไรก็ตามเมื่อมีโควิด 19 ชาวบ้านเห็นความสำคัญของขุมเขียวมากขึ้น เพราะเมื่อตกงานก็ต้องใช้พื้นที่นี้ทำมาหากิน
น.ส.อรวรรณ กล่าวว่า เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ชาวบ้านรู้สึกดีใจมากที่มีมติ ครม.ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล 2 มิ.ย.2553 เพราะไม่คิดมาก่อนว่ารัฐบาลจะให้ความสนใจปัญหาของชาวเลอย่างจริงจัง โดยช่วง 2-3 ปีแรกยังเห็นผลงานการทำงานของรัฐ 1.ชาวบ้านไม่ถูกจับกุม มีการเข้ามาพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกัน 2.ผู้ว่าราชการจังหวัดบางคนเข้ามาทำงานพัฒนาชุมชน เช่น โครงการหน้าบ้านหน้ามอง ส่งเสริมการท่องเที่ยว มีส่วนร่วมกับชุมชนในหลายด้าน แต่สิ่งที่แก้ไม่ได้เลยคือปัญหาสิทธิที่ดิน เช่น ศาลพ่อตาสามพัน พื้นที่ทำกินบนเขา แม้จะมีคำสั่งให้ชาวบ้านไปทำกินได้ แต่บางคนยังถูกไล่หรือถูกฟันพืชผล ส่วนด้านการศึกษายังไม่มีหลักสูตรที่นำเรื่องวิถีชีวิตชาวเลเข้าไปบรรจุในการเรียนการสอน
“ปัญหาสถานะบุคคลของชาวเลหมุ่เกาะสุรินทร์ยังไม่ได้รับการแก้ไข มีชาวบ้านจำนวนมากยังไม่มีบัตรประชาชน ทำให้เข้าไม่ถึงสิทธิการรักษาพยาบาล พี่น้องที่ไม่มีบัตรก็ไม่ได้รับการรักษาตามที่ควร บางคนต้องยอมเสียเงิน 2-3 หมื่น บางคนไม่มีเงินจ่ายครั้งหน้าไม่กล้าไปหาหมอต้องยอมทนป่วยอยู่บ้าน รวมทั้งการเข้าไปหากินในเขตอุทยานแห่งชาติ อย่างอย่างน้อยต้องผ่อนปรนให้ชาวเลเข้าไปหากินได้โดยไม่มีการจับกุม” นางสาวอรวรรณ กล่าว
ครูแสงโสม หาญทะเล ชาวเลเกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล กล่าวว่า เกาะหลีเป๊ะได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์ไวรัสโควิท-19 เพราะเป็นสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ทางจังหวัดจึงมีคำสั่งปิดเกาะ ปกติแม่บ้านจะไปทำงานรับจ้างตามโรงแรม พ่อบ้านขับเรือรับนักท่องเที่ยว แต่ปัจจุบันกิจการทุกอย่างหยุดหมด จึงทำให้ขาดรายได้ ต้องกลับไปทำประมงแบบร้อยเปอร์เซ็น แต่ต้องประสบปัญหาราคาตกต่ำ เพราะไม่สามารถขนส่งปลาไปขายที่เกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซียได้ พอขายที่ท่าเรือปากบาราเถ้าแก่ที่รับซื้อให้ราคาต่ำและรับซื้อปริมาณไม่ต่ำลง
ครูแสงโสม กล่าวต่อว่าก่อนมีมติ ครม.ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ชาวบ้านอยู่ด้วยความกดดันจากคนภายนอกเข้ามาบุกรุก ใช้อิทธิพลข่มขู่เพื่อยึดที่ดินของชาวเล ในอดีตเกาะเหลีเป๊ะอยู่ไกลปืนเที่ยง ชาวบ้านไปร้องเรียนที่ไหนก็ไม่มีหน่วยงานใดให้ความสนใจ ผู้มีอิทธิพลจึงเข้ามากวาดยึดพื้นที่ของชาวบ้านไป ชาวบ้านต้องยอมย้ายบ้านหนี จากเคยปลูกบ้านอยู่อาศัยกันแบบพี่น้อง ไม่เคยไปแจ้งการครอบครองกับรัฐ พอมีออกเอกสารสิทธิ จึงมีคนนอกนำเอกสารมาอ้างสิทธิบนที่ดินชุมชน ชาวบ้านจะทำอะไรต้องขออนุญาติ แม้จะสร้างห้องน้ำยังโดนแจ้งความจับ
“พอมีมติครม. สภาพปัญหาข่มขู่ลดน้อยลงเล็กน้อย แต่ยังแก้ปัญหาของชาวบ้านไม่ได้ คือที่ดินอยุ่อาศัยและที่ดินจิตวิญาณ สุสาน ทางเดินสาธารณะบนชายหาด ชาวบ้านรวบรวมข้อมูลเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องก็เงียบไปเหมือนถูกลอยแพ ชาวบ้านคาดหวังมากที่สุดต้องการให้มี พ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์” ครูแสงโสม กล่าว
นายนิรันดร์ หยังปาน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านชุมชนหาดราไวย์ จ.ภูเก็ต กล่าวว่า สถานการณ์ปัญหาของชาวบ้านที่เข้าไปจับปลาหากินในเขตอุทยานยังคงถูกจับกุม ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคมก็ถูกจับกุมไป 6 ราย พื้นที่ทางจิตวิญาณของชุมชนคือบาไลย์ ที่ชาวเลต้องไปประกอบพิธีกรรมเป็นประจำ และพื้นที่สาธารณะที่ใช้จอดเรือ ซ่อมเรือ ซ่อมเครื่องมือประมงยังมีเอกชนอ้างสิทธิเป็นพื้นที่ของตนเอง ห้ามไม่ให้ชาวบ้านเข้าไปทำกินได้ ที่ผ่านมามีข้อพิพาทและฟ้องร้องกันมาโดยตลอด หลังมีมติ ครม.ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลเมื่อ 10 ปีก่อนปัญหา บัตรประชาชนก็คลี่คลายบ้าง แต่เรื่องเขตวัฒนธรรมพิเศษยังไม่จบ
นายนิรันดร์ กล่าวอีกว่า ตอนนี้ยังต้องเจอกระทบสถานการณ์ไว่รัสโควิท-19 ทำให้ ออกทะเลหาปลาได้แต่ขายไม่ได้ เพราะภูเก็ตถูกปิดเมือง ไม่มีนักท่องเที่ยวและไม่มีคนเข้ามาซื้อปลา ซึ่งชาวบ้านใช้แนวคิดและความร่วมมือเครือข่ายชาวบ้านทำโครงการปลาแลกข้าวกับพี่น้องชาติพันธุ์กะเหรี่ยงและทางอีสาน ทำให้สังคมไทยเข้าใจวิถีชีวิตชาวเลมากขึ้น
นายธีระ สลักเพชร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นผู้ผลักดันมติครม.ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล กล่าวว่า ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีการระดมสมองแก้ปัญหานี้ เพราะมองว่าชาวเลเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เปราะบางที่สุด ก่อนได้รับกระทบจากการท่องเที่ยว พอเกิดสึนามิยิ่งกระทบหนัก สิ่งที่ชาวบ้านสะท้อนมาคือปัญหาเรื่องที่ดิน พื้นที่จิตวิญญาณ มองว่าการแก้ปัญหาไม่ใช่เรื่องยาก หากพิสูจน์ได้ว่าชาวเลอยู่มาก่อนก็ต้องกันเขตออกมาเป็นโฉนดชุมชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน หรือประกาศเขตวัฒนนธรรมพิเศษขึ้นมา แต่การขับเคลื่อนการแก้ปัญหาต่อมาไม่เป็นไปอย่างนั้น จนรัฐบาลตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความมั่นคงในที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกิน และพื้นที่ทางจิตวิญญาณของชุมชนชาวเล ที่มี พล.อ.สุรินทร์ พิกุลทอง เป็นประธาน ลงไปแก้ปัญหาในพื้นที่ ส่งข้อมูลให้รัฐบาล มีระเบียบสำนักนายกออกมา แต่กลับไม่มีการแก้ปัญหาต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาไปเป็นภาระของศาล จึงเสียดาย 10 ปีที่ผ่านมาของมติ ครม.นี้ ที่มีความคืบหน้าในการแก้ปัญหาน้อยมาก แต่อย่างน้อยทำให้สังคมเริ่มเข้าใจและยอมรับกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลมากขึ้น
นายธีระ กล่าวต่อว่า เชื่อว่า สังคมจะเป็นส่วนช่วยโอบอุ้มและผลักดัน มติ ครม.ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล เป็นกฏหมาย คือ พ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ แต่สิ่งที่ควรรีบทำมากที่สุด คือการพิสูจน์สิทธิ์ที่ดินแล้วกันเขตให้ชัดเจน ถ้าไม่ทำแล้วรอ พรบ.ฉบับนี้ ที่จะสามารถออกได้ในปี 2565 จะไม่ทัน เพราะศาลจะมีการตัดสินคดีของชาวบ้านเสร็จก่อน แล้วจะทำให้การประกาศเขตวัฒนธรรมพิเศษ หรือการคุ้มครองวิถีชีวิตชาวเลทำได้ยาก เพราะไม่สามารถไปเปลี่ยนคำตัดสินของศาลได้
ดร.นฤมล อรุโณทัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัญหาของชาวเลต้องแก้ที่มายาคติของสังคมและการบริหารนโยบายรัฐเป็นสิ่งแรก เรื่องเจตจำนงค์ทางการเมืองสำคัญมากว่ารัฐบาลจะจริงจังกับการแก้ปัญหาหรือไม่ ซึ่งปัญหาชาวเลไม่เป็นเพียงปัญหาเฉพาะชาวเล ต้องมองไปถึงกลุ่มกะเหรี่ยงและชาติพันธุ์อื่นด้วย ส่วนภาควิชาการจะทำอย่างไรให้สังคมใหญ่เข้าใจ 1.ระบบวิธีคิดยังอยู่แบบเดิม เมื่อเปลี่ยนหัวหน้าอุทยานฯ งานต้องเริ่มใหม่ด้วย เปลี่ยนนายอำเภอก็ต้องเริ่มต้นจากศูนย์อีกแล้ว ระบบราชการต้องมีการส่งผ่านงานกันและมีความยึดมั่นว่าจะทำให้คุณภาพชีวิตชาวบ้านดีขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่ฝังอยู่ในระบบวัฒนธรรมราชการ และต้องมีการบริหารมติ ครม.ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลที่ดีกว่านี้
ดร.นฤมล กล่าวอีกว่า 4 ข้อหลักที่จะทำให้ชาวเลมีการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี คือ 1.การยอมรับของสังคมซึ่งเริ่มมีการยอมรับ 2.การรับรองสิทธิให้อยู่ได้ในพื้นที่ 3.คุ้มครองคดี ไม่ใช่การบังคับใช้กฏหมายอย่างเดียว 4.ส่งเสริมวัฒนธรรม ภาษา ส่งเสริมให้ถึงรากเหง้าปรัชญาการใช้ชีวิตให้เข้าไปสู่ระบบการศึกษาพื้นฐาน
นางเตือนใจ ดีเทศน์ อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า 10 ปีที่ผ่านมาของมติ ครม.ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ทำให้ตัวตนชาวเลได้เป็นที่รู้จักและยอมรับของสังคม มีการวันรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเลทุกปี ทำให้ชาวเลได้สะท้อนสถานกาณณ์ปัญหาและข้อเสนอแนะ การมีนักวิชาการหรือองค์กรประชาสังคมเข้ามาช่วย ทำให้จากเดิมที่ชาวเลไม่มีตัวตนเพราะอยู่ห่างไหลตามเกาะต่างๆ จนเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ
นางเตือนใจ กล่าวต่อว่า จากการลงพื้นที่หมู่เกาะสุรินทร์ตั้งแต่ก่อนสึนามิ ชาวเลใช้เรือกาบาง ธรรมชาติยังสมบูรณ์ แต่ยังไม่ได้รับการศึกษาเท่าที่ควร ตอนนี้มีครูที่เป็นชาวเลลงไปสอน แต่ยังขาดตัวแทนชุมชนที่เข้มแข็ง เพราะไม่มีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หรือตัวแทนสมาชิก อบต. จึงไม่มีการพัฒนาหรือการใช้งบประมาณลงมาในพื้นที่ จึงเป็นเป้าหมายที่จะผลักดันให้มีตัวแทนของชาวบ้านขึ้นมาเหมือนที่เกาะหลีกเป๊ะที่มีชาวบ้านลุกขึ้นมาเป็นตัวแทนได้
นางเตือนใจ กล่าวอีกว่า ส่วนปัญหาด้านสัญชาติมีการลงพื้นที่ 3 ครั้ง แต่ยังไม่มีผลอะไรเกิดขึ้น ทั้งที่มีหมอตำแยสามารถเป็นพยานยืนยันการเกิดของชาวบ้านได้ ชาวบ้านจึงควรได้รับการรับรองสัญชาติได้ ทั้งตาม ม.23 และม.7ทวิ กระทรวงมหาดไทยควรเร่งดำเนินการให้สัญชาติแก่ชาวบ้านที่ยังตกหล่นให้เสร็จภายในปีนี้ นอกจากนี้เห็นชาวเลประกาศเขตวัฒนธรรมพิเศษนำร่อง เหมือนที่พี่น้องกะเหรี่ยงภาคเหนือได้ทำ นอกจากนี้เครือข่ายชาวเลควรมีการเก็บข้อมูลจัดทำรายงานสถานการณ์ทุก 4 ปี คู่ขนานกับรายงานด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลที่จะต้องรายงานต่อองค์การสหประชาชาติ จากการไปลงนามเป็นภาคีเกี่ยวกับชาติพันธุ์ไว้
นายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร กล่าวว่า 10 ปีที่แล้ว ที่มีการผลักดันมติครม.ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล คิดว่าเป็นสิ่งสำคัญของก้าวสำคัญที่จะพ้นมายาคติ ที่เคยมองว่าวัฒนธรรมเป็นเรื่องร้องเล่นเต้นรำ จัดแสดง หรือขายได้ แต่วัฒนธรรมของชาวเลถูกหล่อเลี้ยงด้วยจิตวิญาญธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ พอไปตัดรอนสิทธิออกจากธรรมชาติ ทำให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งบันเทิงสร้างรายได้ จึงเป็นการลดทอนศักดิ์ศรีในการหนดขชะตาชีวิตของชาเล ควรนำทุนวัฒนธรรมที่ใช้ขับเคลื่อนให้สังคมได้รู้จักความแตกต่าง วิถีที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติ รักษาธรรมชาติ
นายแพทย์โกมาตร กล่าวต่อว่า การผลักดันครม.ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลที่ดีที่สุดต้องผลักดันเป็นกฏหมาย แต่ที่ผ่านมามีแต่การผลักดันเป็นประเด็นเฉพาะ เช่น ตั้งกองทุนสุขภาพ แต่ไม่มีกฏหมายที่เป็นร่วมใหญ่ในการขับเคลื่อน จึงตั้งเป้าจะให้ พ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ออกเป็นกฏหมายได้ในปี 2563 โดยศูนย์มานุษยวิทยาฯ จะเป็นตัวเชื่อมทุกภาคส่วนในการผลักดันให้สำเร็จ แต่ยังมีอุปสรรคอีกหลายข้อ โดยเฉพาะการให้นิยามกลุ่มชาติพันธุ์ต้องชัดเจน ไม่เช่นนั้นกลุ่มคนที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจจะเข้ามาใช้สิทธิ และยังต้องหาทางออกกับข้อกฏหมายอุทยานและกฏหมายที่ดินที่บัญญัติไว้ก่อนหน้า
นายแพทย์โกมาตร กล่าวต่อว่า ชาวเลเป็นกลุ่มเปราะบางที่สุด ถูกต้อนจนมุมไม่มีหาทางต่อสู้มากนัก คดีความก็เยอะกว่าจะสิ้นสุดชาวเลก็หมดแรงไม่ต้องทำมาหากิน เป็นตัวอย่างปัญหาเชิงโครงสร้างที่กดทับคนไร้อำนาจที่แท้จริง จึงต้องเร่งแก้ปัญหาคือ 1.เรื่องที่ดิน กว่าจะมีกฏหมายออกมารองรับชาวบ้านอาจโดยฟ้องจนสูญเสียที่ดินหมด กฏหมายออกมาก็ไม่มีประโยชน์ 2.สถานะบุคคล ต้องทวงสิทธิความเป็นพลเมืองไทย เพราะเรื่องยาก ในการคุ้มครองปกป้องการคุกคามจากทุน หรือความไม่เป็นนธรรมต่างๆ ในกลุ่มเปราะบาง 3.สร้างรากฐานเพื่อพัฒนา พรบ.ฉบับนี้ต่อไป เช่น การทดลองทำตัวอย่างให้เห็นว่าชาวเลสามารถจัดการทรัพยากรที่ดิน หรือรักษาภูมิปัญญาไว้ได้ พยายามกู้สถานะให้กลุ่มชาติพันธุ์มีที่ยืนในสังคมเท่าเทียม
นางปรีดา คงแป้น ผู้แทนมูลนิธิชุมชนไท กล่าวว่า 10 ปีที่ผ่านมา มีสิ่งที่หน้าสนใจ 2 ด้าน 1.ด้านดี นับตั้งแต่หลังเหตุการณ์สึนามิเป็นต้นมา เห็นพัฒนาการในทุกรัฐบาล มีการตั้งคณะกรรมการแก้ปัญหาระดับชาติ มีงานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเลทุกปี มีการนำเสนอปัญหาต่อเนื่อง 2.ข้อพิพาทที่ดินชุมชนหาดราไวย์เป็นคดีประวัติศาตร์ที่มีการพิสูจน์สิทธิ์ด้วยดีเอ็นเอ 3.รายงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูประเทศและสภาปฏิรูปแห่งชาติ มีการเสนอให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมด 4.รัฐธรรมนูญ ม.470 และในยุทศาสตร์ชาติได้ระบุเรื่องสิทธิศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ ดังนั้นก้าวต่อไปคือการผลักดันด้านการออกกฏหมาย
“ประเด็นสำคัญคือเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง นโยายที่กดทับคือการท่องเที่ยว และประกาศเขตอนุรักษ์ 10 ปีเป็นหัวเลี้ยวที่ปัญหาเชิงโครงสร้างยังไม่ได้แก้ไข ชุมชนมีคดีชาวบ้านถูกฟ้อง 35 คดี ชาวบ้านได้รับผลกระทบ 3 พันกว่าคน ชุมชนชาวเลที่ไม่มีความมั่นคง 37 ชุมชน เพราะอยู่ในที่ดินรัฐ ชาวเลพิพาทเขตอนุรักษ์ทางทะเล ถูกดำเนินคดีมากกว่า 30 ราย ซึ่งมติ ครม.นี้ พอจะเป็นหลักค้ำยันได้ แต่แก้ปัญหาไม่ได้ แต่พี่น้องไม่ได้หยุดนิ่งกับที่เชื่อมโยงกับพี่น้องทั่วประเทศ กฏหมายจึงไม่ควรอยู่ในกระดาษอย่างเดียว พี่น้องต้องได้รับความเข้าใจด้วย 10 ปีนี้จึงมีแนวโน้มที่ดีแต่ปัญหาที่ตามมาก็ใหญ่เกินกว่าจังหวัดจัดการ แต่ไม่ใหญ่พอที่รัฐบาลจะสนใจ พอชาวบ้านไม่ทวงถามก็จะหยุดเงียบไป” นางปรีดา กล่าว
นายจำนงค์ จิตนิรัตน์ ที่ปรึกษาเครือข่ายชาวเลอันดามัน กล่าวว่า มติ ครม.ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลเหมือนใบเบิกทาง แต่ไม่มีการทำให้เข้มข้น เดินเชื่องช้า ขณะที่ปัญหาที่รุกหน้าไปรวดเร็ว เช่น กรณีที่ดินหลีเป๊ะถูกรุกไปเรื่อยๆ เกาะหลีเป๊ะเป็นตัวดึงดูดนับพันล้านต่อปี แต่วิถีชีวิตชาวเลกลับตกต่ำ ทุกพื้นที่ควรร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อให้เกิดผลดีกับชาวเล ที่ผ่านมาการท่องเที่ยวหรูหรามาก แต่ชีวิตเล็กๆ กลับถูกทอดทิ้ง รวมถึงความขัดแย้งที่ดินรุนแรงจนเกิดเหตุทุบตีฟ้องร้องชาวเลชุมชนราไวย์ จึงอยากเสนอให้แต่ละชุมชนทดลองทำนวัตกรกรรมกำหนดพื้นที่หากิน พื้นที่จิตวิญาณนำร่องเป็นตัวอย่างเพื่อผลักดันมติ ครม.นี้ให้เกิด พ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |