ชวนสร้างสรรค์คลิป 1 วินาที ถ่ายทอดชีวิตในยุค New Normal


เพิ่มเพื่อน    

 

     จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ทุกคนเป็นกังวล และกลัวการติดเชื้อที่ติดต่อจากคนสู่คนง่ายมาก แต่เมื่อสถาการณ์เริ่มคลี่คลาย รัฐบาลมีการผ่อนปรน คลายล็อกดาวน์มาตรการป้องกันการแพร่ระบาด เชื่อว่าหลายคนคงจะมีเรื่องราวที่อยากเล่าสู่กันฟัง หรืออยากที่จะถ่ายทอดความคิดต่างๆ ด้วยเหตุนี้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (สศส.) จึงได้จัดทำโครงการ “ONE SECOND THAILAND : วินาทีสร้างสรรค์” การประกวดคลิปวิดีโอความยาว 1 วินาที โดยเปิดกว้างสำหรับทุกคนที่อยากจะถ่ายทอดเรื่องราว หวังจุดกระแสการขับเคลื่อนความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นพลังเดินหน้าประเทศไทยในยุค New Normal

      สำหรับหัวข้อในการประกวดแบ่งเป็น 3 หมวด ได้แก่ 1.วิเดียวกินแบบไทย ที่ทุกคนสามารถเล่าเรื่องการกินของคนไทย ที่สามารถสรรค์สร้างและพลิกแพลงภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ ให้เข้ากับวิถีชีวิตในแต่ละยุคสมัย 2.วิเดียวเที่ยวไทย ในการถ่ายทอดเรื่องการท่องเที่ยวไทยที่แสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ วิถีและประเพณีชุมชน ของที่ระลึกและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น รวมถึงการออกแบบประสบการณ์เพื่อทำธุรกิจท่องเที่ยว 3.วิเดียวไทยสไตล์ บอกเล่าความน่าสนใจการแก้ปัญหาด้วยความคิดสร้างสรรค์ การประดิษฐ์คิดค้น และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบไทยๆ ด้วยอุปนิสัยของคนไทยที่เป็นคนสบายๆ และมีอารมณ์ขัน ทำให้เกิดเป็นงานที่มีลักษณะเฉพาะตัว เป็นที่สนใจทั้งคนในประเทศและนานาชาติ

      หลังจากนั้นจะทำการคัดเลือกหมวดละ 60 คลิป เพื่อนำมาเล่าเรื่องใหม่ในรูปแบบหนังสั้น 1 นาที ในชื่อว่า “ONE MINUTE THAILAND : สู่นาทีสร้างสรรค์” ผ่าน 3 ผู้กำกับชื่อดัง ได้แก่ บาส-ณัฐวุฒิ พูนพิริยะ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง ฉลาด เกมส์ โกง, เติ้ล-กิตติภัค ทองอ่วม ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง ตุ๊ดซี่ส์แอนด์เดอะเฟค และไก่-ณฐพล บุญประกอบ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง 2215 เชื่อ กล้า บ้า ก้าว ผู้ที่สนใจสามารถส่งผลงานเข้ามาได้ที่เว็บไซต์ www.onesecondthailand.com LINE official: OneSecondThailand Facebook fanpage: Thailand Creative & Design Center (TCDC) Instagram ส่วนตัวของคุณ โดยเปิด Public พร้อมใส่ hashtag #OneSecondThailand ตามด้วยหมวดที่ต้องการส่งประกวด เช่น #วิเดียวกินแบบไทย, #วิเดียวเที่ยวไทย, #วิเดียวไทยสไตล์ ส่งผลงานได้ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม-4 กรกฎาคม 2563

 

 

      อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (สศส.) หรือ CEA เผยว่า โครงการนี้เป็นครั้งแรกของเมืองไทยที่มีโครงการประกวดคลิปวิดีโอความยาวแค่ 1 วินาที โดยเริ่มมีการวางแผนดำเนินงานก่อนหน้าสถานการณ์โควิด-19 ด้วยความเชื่อว่า ความคิดสร้างสรรค์มีอยู่ในตัวทุกคน แต่อยู่ที่ว่ามุมมองและการแสดงออกของแต่ละคน ที่มีเสน่ห์ที่แตกต่างกัน อย่างอาชีพผู้กำกับภาพยนตร์ กำกับละคร ก็ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตผลงาน และในแง่ความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ ศาสนา หรือบุคลิก รูปร่างหน้าตา รวมไปถึงความคิด ความเชื่อต่างๆ ซึ่งหากความเชื่อทั้งสองด้านนี้นำมาร่วมกันสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นผลงานที่สะท้อนหรือถ่ายทอดให้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของเราอย่างไร

      แต่ในปัจจุบันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิตแบบใหม่ที่เรียกว่า New Normal หรือความปกติใหม่ ทำให้เราไม่สามารถคิดเหมือนเดิม ใช้ชีวิตเหมือนเดิม ภาคธุรกิจไม่สามารถค้าขายแบบเดิมๆ ได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นมาพร้อมกันด้วยก็คือ ความคิดสร้างสรรค์ หลายคนใช้ความคิดสร้างสรรค์มาปรับธุรกิจของตัวเองในช่วงนี้ ดังนั้นเราต้องการทำให้เห็นว่า จิ๊กซอว์ความคิดสร้างสรรค์เล็กๆ ของคนแต่ละคนนั้น เมื่อนำมารวมกันจะเห็นเป็นภาพที่ยิ่งใหญ่และมีพลัง ต่อยอดให้เกิดเป็นกระแสขับเคลื่อนความคิดสร้างสรรค์ (Creative movement)

      “ เพราะความคิดสร้างสรรค์คือพลังและความหวังที่จะช่วยเดินหน้าประเทศไทยต่อในยุคหลังโควิด-19 ซึ่งหลายๆ สิ่งอาจจะไม่เหมือนเดิม อาทิ วัฒนธรรมทางด้านอาหาร หรือแหล่งท่องเที่ยว ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างมหาศาล จากนักท่องเที่ยวทุกมุมโลก และการแก้ปัญหาการใช้ชีวิตประจำวันของไทยที่มีสไตล์ เกิดเป็นโจทย์ที่ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องสร้างสรรค์ผลงานถ่ายทอดจากมุมมอง ใน 1 วินาที แบ่งออกเป็น 3 หมวด ได้แก่ 1.วิเดียวกินแบบไทย 2.วิเดียวเที่ยวไทย และ 3.วิเดียวไทยสไตล์ โดยไม่จำกัดอายุและจำนวนคลิป เพื่อเปิดกว้างให้กับทุกคนที่สนใจอยากสร้างสรรค์ผลงาน” อภิสิทธิ์เล่าถึงแนวคิดการประกวด

      นอกจากนี้ สำหรับผลงานที่ผ่านการคัดเลือกจาก 3 หมวด หมวดละ 60 คลิป จะถูกนำมาต่อยอดร้อยเรียงกันเพื่อเล่าเรื่องใหม่ในรูปแบบของหนังสั้นความยาว 1 นาที ในชื่อว่า “ONE MINUTE THAILAND : สู่นาทีสร้างสรรค์” ผ่านมุมมองของ 3 ผู้กำกับ และผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับรางวัลเงินสด รางวัลละ 3,000 บาท รวมมูลค่ารางวัลทั้งหมด 540,000 บาทด้วย” ผู้อำนวยการ สศส.กล่าว

      ทางด้านผู้กำกับภาพยนตร์ ณัฐวุฒิ บอกว่า ส่วนใหญ่แล้วผลงานที่ทำขึ้นก็จะมาจากความคิด ถ่ายและตัดต่อเอง ซึ่งเราสามารถวางแผนได้ แต่โครงการนี้เป็นความคาดเดาไม่ได้ จึงมีความท้าทายที่น่าสนใจ เพราะบางครั้งความคิดสร้างสรรค์ก็จะออกมาในรูปแบบของการมีข้อจำกัดบางอย่าง อย่างการถ่ายทอดเรื่องราวใน 1 วินาที ที่ดูน้อยมาก สั้นมากๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะทำอะไรไม่ได้ ตรงข้าม อาจจะทำให้เกิดความใส่ใจในรายละเอียดรอบด้านมากขึ้น และสร้างเป็นหนังสั้นที่คุ้มค่าที่สุด

      ด้าน กิตติภัค บอกว่า ความสำคัญในการถ่ายทอดเรื่องราววิดีโอใน 1 วินาที อย่างในการทำภาพยนตร์ 1 วินาทีที่เราสามารถปรับให้ช้าหรือเร็วก็มีผลในการเล่าเรื่อง เพราะฉะนั้นทุกเฟรม ทุกช็อตถือว่าสำคัญมาก และโจทย์ในโครงการมี 3 หัวข้อ ซึ่งมีความท้าทาย เพราะจะทำให้เห็นถึงมุมมองของผู้ที่ส่งผลงานที่หลากหลาย โดยที่เราไม่รู้ว่าเรื่องราวที่แต่ละคนจะส่งมาเป็นอย่างไร

      อีกหนึ่งผู้กำกับ ณฐพล เสริมว่า การสร้างงานขึ้นมา 1 ชิ้น ไม่ว่าจะมีความยาวเท่าไหร่ มันเกิดขึ้นมาจากความสนใจของเรา โดยใช้ต้นทุนที่มี ไม่ว่าจะเป็นกล้องหรือโทรศัพท์มือถือ อาจจะมองว่าเป็นการประกวดภาพถ่าย เพราะวิดีโอ 1 วินาที กับภาพถ่ายอาจจะไม่แตกต่างกันมาก หรือการถ่ายด้วยไทม์แลปส์ที่สามารถถ่ายให้เห็นพระอาทิตย์ตก ดอกไม้บาน หรือจะถ่ายบูมเมอแรง ล้วนแล้วแต่สามารถถ่ายออกมาให้เป็นผลงานได้ และถือว่าโครงการนี้เป็นโจทย์ที่เปิดกว้าง ทำให้มีความน่าสนุกของแต่ละเรื่องราว

      อย่างไรก็ตาม ผู้ที่สนใจสามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม-4 กรกฎาคม 2563 โดยจะประกาศรายชื่อผลงานและคลิปวิดีโอที่ได้รับเลือกในวันที่ 11 สิงหาคม 2563 สอบถามเพิ่มเติม สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) www.cea.or.th/Facebook: Creative Economy Agency/โทร: 0-2105-7400 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) www.tcdc.or.th/Facebook: Thailand creative & design center/โทร: 0-2105-7400

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"