จรวดฟอลคอน 9 ของสเปซเอ็กซ์ประสบความสำเร็จในการนำนักบินอวกาศอเมริกัน 2 นายทะยานขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันเสาร์ เพื่อเดินทาง 19 ชั่วโมงไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ สร้างประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของการเดินทางสู่อวกาศด้วยจรวดของบริษัทเอกชนเป็นครั้งแรก
จรวดฟอลคอน 9 ของสเปซเอ็กซ์ทะยานขึ้นจากฐานปล่อยที่ศูนย์อวกาศเคนเนดี เพื่อนำนักบินอวกาศ 2 นายขึ้นสู่วงโคจรพร้อมกับยานครูว์ดรากอน เพื่อไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม
รายงานเอเอฟพีและรอยเตอร์เมื่อวันอาทิตย์กล่าวว่า การส่งนักบินอวกาศขององค์การบริหารการบินอวกาศแห่งชาติสหรัฐ (นาซา) เมื่อวันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม 2563 ถือเป็นการส่งนักบินอวกาศของนาซาจากดินแดนสหรัฐครั้งแรกในรอบ 9 ปี
ที่เดินทางไปกับยานครูว์ดรากอนที่ติดตั้งบนจรวดฟอลคอน 9 ด้วยคือสองนักบินอวกาศมากประสบการณ์ โรเบิร์ต เบห์นเคน และดักลาส เฮอร์ลีย์ ที่จะขึ้นไปสมทบกับนักบินอวกาศอเมริกัน คริส แคสซิดี และนักบินอวกาศรัสเซีย อนาโตลี อีวานิชิน และอีวาน แว็กเนอร์ บนสถานีอวกาศนานาชาติ (ไอเอสเอส) ที่โคจรอยู่เหนือพื้นโลก 400 กิโลเมตร โดยใช้เวลาเดินทาง 19 ชั่วโมง
"จุดเทียนได้" เฮอร์ลีย์ วัย 53 ปี ซึ่งเป็นอดีตนักบินทดสอบของกองทัพสหรัฐเช่นเดียวกับเบห์นเคน กล่าวเลียนแบบวลีของอลัน เชพเพิร์ด ชาวอเมริกันคนแรกที่เดินทางสู่อวกาศเมื่อปี 2504 ก่อนที่จรวดฟอลคอน 9 แบบ 2 ท่อนของสเปซเอ็กซ์ จะพุ่งขึ้นจากฐานปล่อย 39เอ ของศูนย์อวกาศเคนเนดี รัฐฟลอริดา เมื่อเวลา 15.22 น. ตามเวลาฝั่งตะวันออกของสหรัฐ (02.22 น.วันอาทิตย์ของไทย)
ไม่กี่นาทีหลังการปล่อย จรวดท่อนแรกของฟอลคอน 9 ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แยกตัวออกจากจรวดท่อนบนอย่างราบรื่น แล้วร่อนลงกลับมาจอดที่แท่นลอยน้ำกลางมหาสมุทรแอนแลนติกได้สำเร็จ ส่วนแคปซูลครูว์ดรากอน ซึ่งมีระบบหน้าจอแสดงผลแบบสัมผัส เดินทางต่อไปกับจรวดท่อนที่ 2 มุ่งสู่ไอเอสเอส โดยกำหนดเข้าเทียบสถานีในเวลา 21.29 น.วันอาทิตย์ของไทย
จิม ไบรเดนสไตน์ ผู้อำนวยการนาซา กล่าวว่า การส่งนักบินอวกาศอเมริกันไปกับจรวดที่ผลิตโดยอเมริกันจากแผ่นดินของสหรัฐเป็นงานสำคัญอันดับแรกของนาซา และเป็นหมุดหมายสำคัญของประเทศ และว่า ตอนนี้เขาถอนหายใจได้อย่างโล่งอก แต่เราจะยังไม่ฉลองจนกว่าพวกเขาจะกลับถึงบ้านอย่างปลอดภัย
ด้านอีลอน มัสก์ ผู้ก่อตั้งสเปซเอ็กซ์ กล่าวว่า เขาเต็มตื้นด้วยอารมณ์ ต้องใช้เวลาทำงานถึง 18 ปีจึงบรรลุเป้าหมายนี้ และหวังว่านี่คือก้าวแรกของการเดินทางสู่การสร้างอารยธรรมบนดาวอังคาร
มัสก์มาชมการปล่อยจรวดครั้งนี้ด้วย เช่นเดียวกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่เดินทางมาชมการปล่อยจรวดเป็นครั้งที่ 2 หลังจากความพยายามครั้งแรกเมื่อวันพุธถูกยกเลิกก่อนปล่อยเพียง 17 นาที เนื่องจากสภาพอากาศไม่อำนวย
ทรัมป์กล่าวยกย่องการปล่อยจรวดของสเปซเอ็กซ์ครั้งนี้ว่าเป็นความก้าวหน้าครั้งใหญ่สู่เป้าหมายในการส่งมนุษย์ไปดาวอังคาร พร้อมกับย้ำความตั้งใจว่าสหรัฐจะส่งมนุษย์อวกาศไปดวงจันทร์อีกครั้งในปี 2567
เขายังชื่นชมมัสก์ด้วย โดยบอกว่าความสำเร็จของการปล่อยจรวดครั้งนี้ทำให้เห็นชัดเจนว่าอุตสาหกรรมอวกาศเชิงพาณิชย์คืออนาคต
นับแต่นาซาปลดระวางโครงการกระสวยอวกาศเมื่อปี 2554 นักบินอวกาศของนาซาต้องพึ่งบริการจากยานอวกาศโซยุซของรัสเซียในการเดินทางสู่ไอเอสเอส และได้ทุ่มงบเกือบ 8 พันล้านดอลลาร์ให้กับสเปซเอ็กซ์และโบอิ้งแข่งกันพัฒนาจรวด โดยคาดว่าปีหน้า โบอิ้งน่าจะส่งยานซีเอสที-100 สตาร์ไลเนอร์นำนักบินอวกาศขึ้นสู่วงโคจรได้ครั้งแรก.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |