31 พ.ค.63- เมื่อเวลา 09.30 น.มีการประชุมสภาพิจารณาพ.ร.ก.กู้เงิน 1.9 ล้านล้านบาทเป็นวันที่ 5 โดยมีนายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาฯคนที่สองทำหน้าที่ประธาน น.ส. ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล กล่าวอภิปรายว่า การออกกฎหมายพ.ร.ก. ช่วยเอสเอ็มอี 5 แสนล้าน และพ.ร.ก. หุ้นกู้ 4 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการลำเอียงและบิดเบี้ยวช่วยนายทุน โดยเฉพาะพร.ก.หุ้นกู้ที่ครอบคลุมอุ้มคนรวยกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่เงินช่วยเหลือเอสเอ็มอีได้เพียงแค่ 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น โดยหุ้นกู้สามารถช่วยเหลือเอกชนได้ 125 ราย เฉลี่ยรายละ 3.2 พันล้านบาท ขณะที่เอสเอ็มอี ช่วยได้ 1.9 ล้านราย เฉลี่ยรายละ 2.6 แสนบาท แตกต่างกัน 1.2 หมื่นเท่า สัดส่วนตรงนี้สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลเข้าข้าง ลำเอียงให้กับทุนใหญ่อย่างชัดเจน
น.ส.ณธีภัสร์ กล่าวด้วยว่า ทั้งที่ความจริงทุนใหญ่ไม่ตายง่ายๆ เพราะแบงก์ปล่อยกู้ให้ง่ายกว่า แต่คนที่จะตายคือเอสเอ็มอีคนเล็กคนน้อยที่รัฐบาลมองว่าเขาไร้ค่า นอกจากนี้สำหรับทุนใหญ่ 125 รายรวมกัน 8.9 แสนล้าน แต่เกือบครึ่งเป็นของ 4 กลุ่มทุนใหญ่ คือ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) มีสัดส่วน 21 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นมูลค่า 1.85 แสนล้านบาท บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด 11 เปอร์เซ็นต์ 9.7 หมื่นล้านบาท บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (เอสซีจี) 8 เปอร์เซ็นต์ 7.5 หมื่นล้านบาท และ บริษัท ช.การช่าง จำกัด 2 เปอร์เซ็นต์ 1.5 หมื่นล้านบาท ที่เข้าข่ายได้รับประโยชน์ อีกทั้งกลุ่มเหล่านี้มีส่วนร่มในเครือข่ายประชารัฐ มีความใกล้ชิดกับรัฐบาลทหารอย่างแน่นแฟ้น ดังนั้นตนเองจึงเสนอให้ทุนใหญ่เหล่านี้ปฎิเสธความช่วยเหลือจากรัฐบาล ก็จะส่งผลให้ประเทศชาติไม่ต้องใช้วงเบินถึง 4 แสนล้านบาท และควรเอาไปช่วยเอสเอ็มอีเพิ่มขึ้น
น.ส. ณธีภัสร์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้การตั้งคณะกรรมการเพื่อกลั่นกรอง พ.ร.ก. หุ้นกู้ 4 แสนล้าน ส่วนใหญ่เป็นคนของกระทรวงการคลังและแบงก์ชาติ ซึ่งขอตั้งข้อสังเกตว่าตั้งกันเองชงกินกันเองหรือไม่ และกฎหมายยังให้อำนาจล้นฟ้า สามารถผ่อนผันเลือกบริษัทเอกชนเข้าร่วมตามพ.ร.ก. ดังกล่าวนี้ได้ นอกจากนี้ยังมีคนในการที่กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เข้าไปเป็นคณะกรรมการดังกล่าว ขณะที่กบข. ก็ถือเป็นผู้เล่นรายใหญ่ เพราะมีหุ้นกู้ 1.1 ล้านล้านบาท จะส่งผลให้มีส่วนในการตัดสินใจว่าจะอุ้มหรือไม่อุ้มหุ้นกู้รายใดบ้าง และการที่กบข. รู้ข้อมูลวงในจะถือเป็นการได้เปรียบเอกชนรายอื่นหรือไม่ จะถือเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์หรือไม่ และขัดกับหลักธรรมาภิบาลสากลหรือไม่
เธอระบุ ว่า ซึ่งแตกต่างจากสำนักงานประกันสังคม ที่มีการลงทุนหุ้นกู้มากกว่าแต่ไม่ได้เข้ามาอยู่ในคณะกรรมการดังกล่าว หรือเป็นเพราะว่า กบข. สำคัญกว่าสำนักงานประกันสังคมหรือไม่ เพราะส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้แรงงาน นอกจากนี้ตนเองยังเป็นห่วงในมาตรา 19 ที่ให้อำนาจ รมว.คลัง ตีเช็คเปล่าซื้อตราสารหนี้ในตลาดรองมูลค่าเท่าไหร่ก็ได้ ซึ่งมีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก และมาตราดังกล่าวนี้อาจจะขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 77 วรรค 3 ซึ่งเป็นข้อจำกัดของการใช้ดุลพินิจหากเกิดความเสียหายขึ้น กระทรวงการคลังจะต้องรับผิดชอบด้วยภาษีประชาชน ถือเป็นการเฉือนเนื้อคนจนไปอุ้มคนรวยหรือไม่.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |