สิ้นมิ.ย.เตรียมชง พ.ร.บ.โรคติดต่อ หมดเวลาฉุกเฉิน


เพิ่มเพื่อน    


        "วิษณุ" ย้ำ พ.ร.ก.ฉุกเฉินยกเลิกไม่ได้เพราะเป็นกฎหมายแม่ แย้มใช้ พ.ร.บ.โรคติดต่อหากเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่อาจลักลั่นในบางจังหวัด กรุงเทพโพลล์เผยประชาชนไม่กังวล ผ่อนปรน เคอร์ฟิว เฟสสอง
        เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีที่มีข่าวว่านายกรัฐมนตรีแต่งตั้งให้นายวิษณุเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาศึกษารองรับเพื่อรองรับกรณีหากมีการยกเลิกประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไม่ได้ตั้งคณะกรรมการอะไร แต่มอบหมายให้ตน แต่ พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เสนอนายกฯ ว่าจำเป็นต้องมีการพิจารณาจะใช้กฎหมายใด หรือออกมาตรการอะไรมารองรับหลังจากเลิกประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อมีความละเอียดอ่อน หากเลิกประกาศใช้ไปแล้วไม่มีสิ่งใดมารองรับจะเกิดปัญหาตามมา 
    รองนายกฯ กล่าวว่า เมื่อถึงเวลาเกิดปัญหาแล้วก็สามารถประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้อีกครั้ง ตามมาตรา 5 ของ พ.ร.ก.ที่บัญญัติว่า กรณีที่จำเป็นฉุกเฉินเร่งด่วน นายกรัฐมนตรีสามารถสั่งการเองได้ก่อน จากนั้นจึงไปขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีภายใน 3 วัน หากไม่ขอ ครม.ภายในกำหนดถือว่าประกาศสถานการณ์นั้นสิ้นสุดไป 
    "ขอย้ำว่าตัว พ.ร.ก.ฉุกเฉินไม่สามารถยกเลิกได้ เพราะเป็นกฎหมายแม่ที่ยังคงอยู่ แต่เมื่อจะใช้บังคับต้อง
ออกกฎหมายลูก คือประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่นายกฯ ต้องขอความเห็นชอบจาก ครม. และหากยกเลิกประกาศใช้ไปแล้ว ต่อมาเกิดปัญหาแต่ไม่ถึงขั้นรุนแรงที่สุด ก็ไม่ต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอีกก็ได้ แต่สามารถนำมาตรการอื่นมาใช้ได้ แต่ไม่ใช่กฎหมายความมั่นคง เพราะสามารถใช้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 ที่ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งการได้ แต่อาจเกิดความลักลั่นในบางกรณี ดังนั้นอาจจะออกมติ ครม.มาอุดช่องโหว่ในเรื่องตรงนี้ได้ เนื่องจากต้องปฏิบัติตามมติ ครม. ส่วนมาตรการที่จะออกมารองรับนั้น ทางคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แพทย์จากสถาบันการศึกษา และจากกระทรวงสาธารณสุข จะร่วมกันพิจารณาด้วย"
    ผู้สื่อข่าวถามว่า การหามาตรการรองรับจะต้องมีทีมงานขึ้นมาช่วยพิจารณาหรือไม่ นายวิษณุตอบว่า การหารือเรื่องนี้มีอยู่แล้ว โดยฝ่ายของหมอจะเป็นคนพูด และในการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ เมื่อวันที่ 29 พ.ค.ที่ผ่านมา ยังไม่ได้มีการพูดคุยกันว่าจะต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไปถึงเมื่อใด ถ้าไปตอบก็จะเกิดการคาดหมายว่าจะประกาศใช้ต่อ หรือจะยกเลิกเมื่อใด บางเรื่องคาดหมายยังไม่ได้ตอนนี้ เพราะต้องประเมินสถานการณ์ตั้งแต่วันที่ 1มิ.ย. และพิจารณาตามวงรอบ ยกตัวอย่างเรื่องการปรับเวลาเคอร์ฟิว ก็ใช้แนวทางนี้ในการพิจารณา
    เมื่อถามว่า นายกฯ ระบุหรือไม่ว่าอะไรเป็นเงื่อนไขสำคัญในการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน นายวิษณุกล่าวว่า เรื่องความปลอดภัยทางสาธารณสุขต้องเป็นที่วางใจได้ก่อน และให้ไปอ่านในข้อกำหนดฉบับที่จะออกมามีการระบุคำปรารภเอาไว้ว่าช่วงการผ่อนปรนระยะที่สามเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ เพราะในต่างประเทศมีการแพร่ระบาด และมีคนไทยเดินทางกลับจากต่างประเทศ และใกล้จะผ่อนคลาย อาจมีการลองดีลองของ ไม่กลัวหรือชะล่าใจ เช่น ไม่สวมหน้ากากอนามัย ไม่เว้นระยะห่างทางสังคม เดินทางข้ามจังหวัดโดยไม่ระมัดระวัง หรือกิจการที่ได้รับการผ่อนปรนไม่ทำตามข้อกำหนด ส่วนคนที่ฝ่าฝืน แม้ถูกจับหรือดำเนินการตามกฎหมาย แต่ก็เกิดการแพร่ระบาดของโรคได้ มีการติดเชื้อหลังเปิดภาคเรียน ก็เป็นตัวชี้วัดสถานการณ์ได้ว่าการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอาจทำได้ลำบาก
    กรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “คนไทยว่ายังไง…กับการต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,205 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 57.9 เห็นว่าการต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน การล็อกดาวน์ มีผลต่อการดำเนินชีวิต การทำงาน การเรียน ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 42.1 เห็นว่ามีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
    เมื่อถามว่า กังวลมากน้อยเพียงใดต่อสถานที่ที่เปิดจากมาตรการผ่อนปรนเฟสแรกและเฟสสองว่าจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 ได้ พบว่าในมาตรการผ่อนปรนเฟสแรกเคอร์ฟิว 22.00-04.00 น. เช่น ตลาด ร้านอาหารขนาดเล็ก สนามกีฬากลางแจ้ง ร้านตัดผม ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.8 มีความกังวลต่อสถานที่ที่ผ่อนปรนค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด (แบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 43.8 และน้อยที่สุดร้อยละ 18.0) ขณะที่ร้อยละ 38.2 มีความกังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด (แบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 32.8 และมากที่สุดร้อยละ 5.4)
    ส่วนมาตรการผ่อนปรนเฟสสอง เคอร์ฟิว 23.00-04.00 น. เช่น ห้างสรรพสินค้า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.6 มีความกังวลต่อสถานที่ที่ผ่อนปรนค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด (แบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 44.6 และน้อยที่สุดร้อยละ 17.0) ขณะที่ร้อยละ 38.4 มีความกังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด (แบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 32.6 และมากที่สุดร้อยละ 5.8)
    ทั้งนี้ เมื่อถามต่อว่าสถานที่ที่กังวลมากที่สุดหากมีการผ่อนปรนในเฟสที่ 3 และเฟสที่ 4 ว่าอาจจะทำให้มีการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ได้ คือสถานบันเทิง ผับ บาร์ คิดเป็นร้อยละ 80.5 รองลงมาคือ สนามมวย สนามม้า สนามแข่งกีฬาต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 77.6 และโรงภาพยนตร์ คิดเป็นร้อยละ 46.2.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"