“รักษ์ วรกิจโภคาทร” กับภารกิจพลิกบทบาท บสย. ทำงานเชิงรุก มุ่งมั่น พัฒนาเพื่อผู้ประกอบการ SME


เพิ่มเพื่อน    

    “รักษ์ วรกิจโภคาทร” อีกหนึ่งคนรุ่นใหม่ฝีมือดีที่คลุกคลีอยู่ในแวดวงการเงินมาตลอด โดยเคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลังหลายแห่ง อาทิ รองกรรมการผู้จัดการบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.), รองกรรมการผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) หรือไอแบงก์ และรองกรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือเอ็กซิมแบงก์ ก่อนที่จะก้าวขึ้นมารับตำแหน่งกรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.2561


    พร้อมกับการพลิกโฉมการทำงานของ บสย.ในอีกมิติที่ทันสมัยขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ด้วยการเน้นการทำงานในเชิงรุก และการเป็นตัวเชื่อมระหว่างสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐและสถาบันการเงินเอกชน ในการร่วมขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะการดูแลช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย
    การริเริ่มผลิตภัณฑ์ทางการเงิน หรือโครงการในการให้ความช่วยเหลือในรูปแบบใหม่ๆ ภายใต้การนำของ “รักษ์” เริ่มเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ การปล่อยกู้คนขับแท็กซี่ ผ่านโครงการ “ฮักแท็กซี่” ที่ร่วมมือกับเอสเอ็มอีแบงก์ และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และเรียกว่าประสบความสำเร็จเกินคาด, โครงการ “บสย.รักพี่วิน” ที่ร่วมมือกับธนาคารออมสินในการปล่อยกู้คนขับแท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์ ซึ่งเสียงตอบรับก็ดีเกินคาดเช่นกัน มีกลุ่มเป้าหมายที่สนใจเข้าร่วมโครงการถึง 4,000 ราย ถือเป็นอีกมิติใหม่ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายเล็กๆ ที่อาจจะเข้าถึงสินเชื่อในระบบปกติได้ยาก ซึ่งการดำเนินงานทั้งหมดยังเดินหน้าควบคู่ไปกับโครงการสำคัญๆ ที่ บสย.ดำเนินการ ทั้งโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Micro Entrepreneur ที่ดำเนินการมาถึงระยะที่ 4 แล้ว และโครงการ Portfolio Guarantee Scheme : PGS ที่ประสบความสำเร็จในทุกระยะที่ดำเนินการ ปัจจุบันอยู่ในระยะที่ 8 และอยู่ระหว่างการเตรียมดำเนินการในระยะที่ 9


    โดยโครงการ PGS นี้ เป็นการนำโมเดลการค้ำประกันที่นำข้อดีและความสำเร็จจากการค้ำประกันในประเทศต่างๆ มาปรับให้เหมาะสมกับบริบทด้านสินเชื่อของสถาบันการเงินและมาตรการของภาครัฐของไทย จนเกิดมาเป็นโมเดลที่ยูนิค เฉพาะตัว แตกต่างและไม่เหมือนใคร
    การดำเนินงานของ บสย.เต็มไปด้วยความมุ่งมั่น เพื่อให้การดำเนินโครงการต่างๆ สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย ภายใต้แนวทางเติมทุน เติมความรู้ เติมคุณภาพชีวิต ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ
    สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับคือ ภายหลังจาก “รักษ์” เข้ามารับตำแหน่งกรรมการและผู้จัดการทั่วไปของ บสย.แล้ว ผลการดำเนินการขององค์กรมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิด ปรับปรุงกระบวนการทำงานของ บสย.ใหม่ให้ตอบโจทย์กับลูกค้า มากกว่าที่ลูกค้าจะเข้ามาหา บสย.เพียงเพราะถูกสถาบันการเงินบังคับให้มาซื้อประกันความเสี่ยงก่อนดำเนินการกู้เงิน
    “การทำงานที่เต็มไปด้วยความทุ่มเท กับเป้าหมายสำคัญที่วางไว้ คือ การพัฒนาให้ บสย.เป็นองค์กรที่ดีและเลี้ยงตัวเองได้ การยกระดับให้ บสย.เป็นองค์กรชั้นนำที่ใครๆ ก็อยากเข้ามาทำงานด้วย และที่มากไปกว่านั้นคือ การเสริมสร้างพลังกายและพลังใจในการทำงานให้คนของ บสย.ที่ทำงานอยู่ร่วมกันมีกำลังใจและพร้อมที่จะต่อสู่ไปด้วยกัน”

    สำหรับความสำเร็จที่เป็นอีกเครื่องพิสูจน์ความสามารถของนักบริหารรุ่นใหม่อย่าง “รักษ์” นั่นคือ ผลการดำเนินงานล่าสุดของ บสย.ในช่วงเดือน ม.ค.-วันที่ 15 พ.ค.2563 ซึ่งเป็นช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ต้องยอมรับว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทย ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ ทั้งหมดได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ แต่ บสย.ยังสามารถบริหารจัดการและสร้างผลงานในการช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยยอดอนุมัติการค้ำประกันสินเชื่อ 5.81 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 103%, การอนุมัติหนังสือค้ำประกันสินเชื่อ (LG) 8.02 หมื่นฉบับ เพิ่มขึ้น 227% ด้วยจำนวนลูกค้าใหม่ 6.42 หมื่นราย เพิ่มขึ้น 216%
    และ บสย.อนุมัติวงเงินค้ำประกันสะสม 9.05 แสนล้านบาท มีภาระค้ำประกันสะสม 4.21 แสนล้านบาท และช่วยเหลือเอสเอ็มอีให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน 4.78 แสนราย ถือเป็นการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในภาวะวิกฤติเช่นนี้
    ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซึ่ง “รักษ์” ได้ถอดบทเรียนจากสถานการณ์ดังกล่าวที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค ส่งผลกระทบในเชิงธุรกิจของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้องหยุดชะงัก ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ขาดเงินทุนหมุนเวียน และปัญหาการเข้าถึงสินเชื่อ ดังนั้น บสย.จึงต้องปรับตัว เพื่อรับมือกับ “New Normal บริบทใหม่ บสย.” ที่ให้ความสำคัญกับการปรับกระบวนการทำงานภายใต้กรอบแนวคิดและรูปแบบการบริหารจัดการองค์กรใหม่ 3 มิติ ได้แก่ 1. New Proccess… Lean and Automation ภายใต้แนวคิด ทำน้อยแต่ได้มาก หรือการเพิ่มผลิตภาพ Productivity เปลี่ยนวิธีการบริหารจัดการองค์กร ปรับกระบวนการและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ด้วยการนำระบบไอทีมาช่วย ซึ่งช่วยพัฒนากระบวนการอนุมัติหนังสือ LG ได้มากขึ้นถึง 4 เท่า จากวันละ 350 ฉบับ เป็น 1,400 ฉบับต่อวัน
    2. New Mindset… SMEs Centric โดย บสย.เปลี่ยนมุมมอง ปรับโจทย์ใหม่ ให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเป็นศูนย์กลาง และ บสย.ทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาทางการเงิน เป็นการปรับพันธกิจจากการเป็นเพียงผู้ค้ำประกันปลายน้ำ เป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้เอสเอ็มอี สะท้อนอย่างชัดเจนจากโครงการคลินิกหมอหนี้ ที่ บสย.เดินเคียงข้างลูกค้าตั้งแต่วันเข้ารับคำปรึกษาจนวันได้รับสินเชื่อ
    3. System Integration… ภายใต้แนวคิด “คิด ริเริ่ม เพิ่ม Productivity ด้วยการปรับวิธีคิดและการทำงานแบบ Project Base บูรณาการการทำงานเพื่อผลสำเร็จร่วมกัน ซึ่งแนวคิดนี้เป็นการลดปัญหาการทำงานแบบไซโล และเพิ่ม Productivity ได้มากขึ้น
    เหล่านี้เป็นมิติการทำงานใหม่ๆ ของ บสย.ที่เกิดขึ้นภายใต้การนำของ “รักษ์ วรกิจโภคาทร” ที่พลิกบทบาทของ บสย.จากการเป็นเพียงผู้ค้ำประกันที่ผู้ประกอบการจะนึกถึงเมื่อสถาบันการเงินยังไม่ดำเนินการปล่อยกู้ การปรับบทบาท เปลี่ยนลุคส์ให้ บสย.ในครั้งนี้ ไม่เพียงสร้างกระบวนการทำงานที่ทันสมัย ตอบโจทย์กับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้ และสามารถเดินหน้าธุรกิจได้อย่างเต็มศักยภาพอีกด้วย.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"