29 พ.ค.63- นายสุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ตรรกะนรก เงินกู้ 1.9 ล้านล้านที่จะกู้ใหม่นี้ มันไม่ใช่หนี้ใหม่ที่สร้างขึ้นจากรัฐบาลนี้หรอกหรือ มันกลายเป็นหนี้ที่ "--มันเกิดมาตั้งนานแล้ว" ได้อย่างไร ท่านผู้รู้ให้การชี้แนะด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ถ้อยความที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ชี้แจงระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎรภายหลังถูกส.ส.อภิปรายกล่าวหาว่ารัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานเมื่อวันที่ 27 พ.ค.นั้น พบว่ามีการตัดต่อสร้างความเข้าใจผิด เพราะเรื่องหนี้นั้น พล.อ.ประยุทธ์พูดถึงหนี้สาธารณะที่เกิดมาหลายรัฐบาล ไม่ได้พูดถึงหนี้เงินกู้ 1 ล้านล้านที่รัฐบาลนี้จะกู้แต่อย่างใด
โดยพล.อ.ประยุทธ์ ชี้แจงกับสภาข้อความดังนี้ "ทุกคนเสียภาษีหมดผมยอมรับ ผมก็เสีย ท่านเป็นหนี้ตนเองก็เป็นหนี้ด้วย แล้วหนี้ตรงนั้นมันต้องมาชดใช้ด้วยอะไร ก็ด้วยเรื่องการทำประโยชน์ให้มากขึ้น ให้ประเทศก้าวหน้ามีรายได้ มีผลผลิตมากขึ้น เขาจึงมีกำลังทรัพย์ ในการเสียภาษี หนี้จำนวนนี้ไม่ได้เกิดสมัยรัฐบาลนี้ หนี้นี้มันเกิดมาก่อนแล้ว 40 กว่าเปอร์เซ็นต์มันเกิดมาตั้งนานแล้ว รัฐบาลนี้มาทำจนเหลือ 41 เปอร์เซ็นต์ ต่ำกว่าเดิมอีก จนวันนี้ต้องขึ้นมา 50 กว่าเปอร์เซ็นต์ เพราะเงินจำนวนนี้ (พรก.เงินกู้) 1.เพื่อรักษา 2.เยียวยา 3.ฟื้นฟูให้ประเทศเข้มแข็ง เขาแยกชัดเจนแล้วจะต้องทำอย่างไร มีกรอบชัดเจน"
นอกจากนี้นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารเห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ชี้แจงถึงพรก.เงินกู้ ว่า ไม่ได้กู้ 1.9 ล้านล้าน อย่างที่ฝ่ายค้านและกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองนำไปโจมตีแต่อย่างใด มีการกู้เพียง 1 ล้านล้านเท่านั้น
โดยนายวิรไทได้ชี้แจงรายละเอียดเอาไว้ว่า ได้ยินหลายท่านอภิปรายในสภาว่า รัฐบาลเสนอ พรก.กู้เงิน 3 ฉบับ รวม 1.9 ล้านล้านบาท ขอเรียนยืนยันอีกครั้งว่า พรก. ที่ ธปท. เสนอ “ไม่” ควรเรียกว่าเป็น พรก. กู้เงิน เพราะหัวใจของ พรก. ทั้งสองฉบับคือการให้อำนาจ ธปท. เข้าไปบริหารจัดการสภาพคล่องได้ตรงจุด
เมื่อครบเวลาสองปี เงินที่ ธปท. ปล่อย soft loans ผ่านสถาบันการเงินไปให้ SMEs สถาบันการเงินก็ต้องเอากลับมาคืน ธปท. ส่วนเงินที่ ธปท. จะลงทุน ผ่านกองทุน BSF เป็นการให้ bridge financing ชั่วคราว เมื่อครบกำหนดก็เอาเงินกลับมาคืน ธปท. (ธปท. ถึงต้องเน้นเรื่องคุณภาพของตราสารที่กองทุน BSF เข้าไปลงทุน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย)
ทั้งกลไกของ soft loans และกองทุน BSF ไม่ใช่การกู้เงิน 900,000 ล้านบาทมาใช้จ่าย หรืออีกนัยหนึ่ง ไม่ได้สร้างภาระการคลัง 900,000 ล้านบาท หรือไม่ได้สร้างภาระภาษี 900,000 ล้านบาทให้ลูกหลานเหมือนกับที่หลายท่านกังวล
ทั้งสองกลไกอาจจะสร้างภาระการคลังในอนาคตได้บ้าง ถ้าสินเชื่อ soft loans ที่ปล่อยให้ SMEs จำนวนมากเกิดกลายเป็นหนี้เสีย หรือตราสารหนี้ที่กองทุน BSF เข้าไปลงทุนไม่ได้รับชำระหนี้คืน ซึ่งตาม พรก. แล้วรัฐบาลจะชดเชยความเสียหายให้เพียงบางส่วนเท่านั้น
ธปท. ตระหนักดีว่าทั้งสองกลไกที่ ธปท. เสนอไม่พึงสร้างภาระการคลังให้กับคนไทยในอนาคต จึงต้องมีเงื่อนไขด้านคุณภาพอย่างรัดกุมทั้งการปล่อยสินเชื่อผ่าน soft loans และการลงทุนผ่านกองทุน BSF.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |