โควิดฉุดดัชนีผลผลิตอุตฯ ระดับ79.04ดิ่งสุดรอบ8ปี


เพิ่มเพื่อน    

    พิษโควิด! ฉุดดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน เม.ย.ทรุด 17.21% อยู่ที่ระดับ 79.04 ต่ำสุดในรอบ 101 เดือนหลังเหตุน้ำท่วมใหญ่ปี 54 ขณะที่อุตฯ อาหารกลับมาขยายตัวในรอบ 9 เดือนรับคลายล็อกด้านขนส่ง
    เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม นายอิทธิชัย ยศศรี รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เอ็มพีไอ) เดือน เม.ย.63 หดตัวลงเมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนกว่า 17.21% อยู่ที่ระดับ 79.04 โดยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวและโรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งต้องหยุดการผลิตชั่วคราว เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนเมษายนมีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ 12.64%  เป็นต้น ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตโดยรวมเดือนเมษายนอยู่ที่ 51.87% ทั้งนี้ดัชนีเอ็มพีไอเป็นการหดตัวต่ำสุดในรอบ 101 เดือน หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2554 ที่ทำให้เอ็มพีไอตกต่ำไปอยู่ที่  66.95
    อย่างไรก็ตาม จากการแก้ไขปัญหาด้านการขนส่งสินค้าทั้งในและระหว่างประเทศให้สามารถส่งสินค้าได้ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการขยายตัวเพิ่มขึ้นในบางอุตสาหกรรมที่สามารถตอบสนองต่อผู้บริโภคได้ เช่น อุตสาหกรรมอาหารที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน  0.5% กลับขึ้นมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 9 เดือน โดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปและอาหารสัตว์ที่ได้รับคำสั่งซื้อจากประเทศจีนและสหรัฐอเมริกา โดยถ้าหักอุตสาหกรรมน้ำตาลซึ่งได้รับผลกระทบจากภัยแล้งและหดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 36.0% จะส่งผลให้อุตสาหกรรมอาหารโดยรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 7.2% เช่นเดียวกันกับอุตสาหกรรมยาที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน  38.52% นับเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นในระดับ 2 หลักติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3
    นายอิทธิชัยกล่าวว่า อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลลบต่อดัชนีเอ็มพีไอ เดือนเมษายน 2563 ได้แก่ รถยนต์และเครื่องยนต์, น้ำมันปิโตรเลียม และเบียร์ ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการเพื่อควบคุมสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้โรงงานต้องหยุดสายการผลิต ประชาชนต้องหยุดการระบาดด้วยการอยู่บ้าน ลดการเดินทาง และการถูกสั่งห้ามการจำหน่ายสุรา ในขณะที่อุตสาหกรรมหลักที่ยังคงขยายตัวดีในเดือน เม.ย. ได้แก่ ผลิตภัณฑ์คอนกรีตและปูนซีเมนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 23.47%
    เภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 38.52% จากผลิตภัณฑ์เกือบทุกรายการ เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นและผู้ประกอบการบางรายได้สร้างอาคารเก็บยาเพิ่มเพื่อขยายความสามารถในการสต๊อกล่วงหน้า ยกเว้นยาผงที่พบปัญหาขาดวัตถุดิบที่ต้องนำเข้า และชิ้นส่วนและแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 10.46% นอกจากนี้ยังมีอาหารทะเลกระป๋อง และอาหารสัตว์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
    "ยังต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจไทยใน 3 ปัจจัยหลัก คือ การปลดล็อกทางเศรษฐกิจว่าจะสามารถกลับมาดำเนินการเต็มที่ได้เมื่อไหร่ การควบคุมโรคของประเทศคู่ค้า และรายได้และการออมที่จะกลับมาฟื้นตัวเร็วแค่ไหน โดยในเดือน พ.ค.ประเทศไทยมีการควบคุมการระบาดได้ดี ส่งผลให้รัฐบาลเริ่มมาตรการปลดล็อกกิจกรรมและกิจการบางประเภทให้สามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจบางส่วนเริ่มกลับมาดำเนินการ ส่งผลต่อเศรษฐกิจภาพรวมและในภาคอุตสาหกรรม" รองผู้อำนวยการ สศอ.ระบุ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"