คำพยากรณ์ก่อนจะเจอ 'มนต์ขลังโควิด' หรือเศรษฐกิจไทย ต้องเวทมนตร์?


เพิ่มเพื่อน    

    หลายสำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจของทางการ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทยและสภาพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติพยากรณ์ว่าตัวเลขจีดีพีสำหรับทั้งปีนี้อาจจะติดลบ 5-6%
    กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ให้ไทยติดลบ 6.7%
    แต่ ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี (ไทย) ใส่ข้อมูลชุดล่าสุดเข้าไปในสมการวิเคราะห์แล้ว
    ได้ตัวเลข -8.9%
    “ผมเองเห็นตัวเลขแล้วยังตกใจเลยครับ” ดร.อมรเทพบอกผมระหว่างการสนทนาวันก่อน
    แกบอกว่าหลังจากประเมินตัวเลขล่าสุดแล้วก็ต้องปรับลดมุมมอง GDP เศรษฐกิจไทย 2563 ลงจาก -6.4% เป็น -8.9% 
    และเฉพาะ GDP ไตรมาส 2 มีโอกาสหดตัวได้ถึง 14%
    ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
    คำตอบคือวิกฤติเศรษฐกิจรอบนี้อาจเลวร้ายที่สุดที่ประเทศไทยเคยเผชิญ
    เพราะรุนแรงกว่าวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2541 ที่เศรษฐกิจ -7.63% (ไตรมาส 2 หดตัวลึก 12.53%)
    แต่มีความน่าสนใจตรงที่ว่า ดร.อมรเทพบอกว่าตอนนี้เศรษฐกิจไทยเหมือนกำลัง “ต้องเวทมนตร์”
    นักเศรษฐศาสตร์ดูเหมือนมองโลกในแง่ลบ มองเศรษฐกิจกำลังเลวร้าย เพราะมองจากสถานการณ์ปัจจุบัน
    แต่สำหรับนักลงทุน กลับมองโลกในด้านบวก เพราะมองไปอนาคต และเห็นว่าเป็นราคาที่น่าลงทุน จากเศรษฐกิจกำลังจะถึงจุดต่ำสุดในช่วงนี้ แต่สถานการณ์กำลังคลี่คลายไปด้วยดี ทั้งการเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การลดลงของจำนวนผู้ติดเชื้อ จึงกลับเข้ามาลงทุน 
    ที่เชื่ออย่างนี้เพราะสะท้อนจากราคาหุ้น และราคาสินทรัพย์ต่างๆ ทะยานกลับขึ้นไปได้อย่างรวดเร็วหลังดิ่งลงมาในช่วงเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน
    สภาพัฒน์รายงานตัวเลขการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกไว้ที่ -1.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน หรือหดตัว 2.2% เมื่อเทียบไตรมาสก่อนหน้าหลังปรับฤดูกาล 
    ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจเช่นนี้มีปัจจัยสำคัญมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้คนระมัดระวังการเดินทางและการเข้าไปในพื้นที่สาธารณะต่างๆ รัฐบาลในหลายประเทศได้ออกมาตรการจำกัดการใช้พื้นที่ต่างๆ รวมทั้งการปิดกิจการห้างร้านเพื่อลดการแพร่ระบาด 
    แม้นับว่าเป็นเรื่องที่ดีทางสาธารณสุข แต่ในทางเศรษฐกิจก็ทำให้คนว่างงานและขาดรายได้ 
    ในไตรมาสแรกจำนวนนักท่องเที่ยวหดตัวถึง 38% ซึ่งกระทบธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยวอย่างแรง
    ที่ซ้ำเติมเข้ามาก็คือ อุปสงค์ภาคต่างประเทศที่ชะลอตัวและกระทบภาคการส่งออกของไทย 
    คนว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง
    ผู้คนระมัดระวังในการจับจ่ายซื้อของ 
    เมื่อส่งออกไม่ได้ ภาคการผลิตก็มีปัญหา เพราะผลิตไปก็ขายลำบาก กำลังการผลิตก็เหลือ สต๊อกสินค้าก็ล้น บริษัทและโรงงานต่างพากันลดคนงานหรือให้ลาพักโดยไม่รับเงินเดือนในช่วงนี้
    ผลที่ตามมาก็คือ การบริโภคในประเทศอ่อนแอลงเพราะขาดกำลังซื้อ 
    ไม่ใช่เพียงกำลังซื้อของนักท่องเที่ยวเท่านั้นที่หายไป แต่กำลังซื้อคนในประเทศก็อ่อนแอจากรายได้ที่หดหาย 
    มิหนำซ้ำ ผู้คนในภาคเกษตรก็ยากลำบากจากปัญหาภัยแล้งที่รุนแรงกระทบผลผลิตให้น้อยลง 
    ที่ซ้ำเติมลงมาคือ ภาครัฐเองที่มีความล่าช้าในการออกงบประมาณรายจ่าย มีผลให้การบริโภคและการลงทุนของรัฐบาลหดตัว 
    ดร.อมรเทพบอกว่า “แต่ภาครัฐก็ได้ออกมาตรการทางการคลังในการประคองเศรษฐกิจขนานใหญ่ที่เรียกว่า Bazooka...ซึ่งเราหวังว่าภาครัฐจะเป็นพระเอกในรอบนี้”
    แล้วไตรมาสสองจะเป็นอย่างไร?
    ในความเห็นของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่นั้น แม้รัฐบาลได้อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบด้วยการออกมาตรการชดเชยรายได้ให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ อีกทั้งทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาตรการลดภาระผู้กู้ในการชะลอการชำระหนี้ชั่วคราว และได้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย พร้อมอัดฉีดเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ 
    แต่ปัจจัยความเสี่ยงทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มสูงขึ้น 0
    การส่งออกสินค้ามีโอกาสหดตัวได้ถึง 20% และจำนวนนักท่องเที่ยวมีโอกาสหดตัวได้ถึง 90% 
    ดร.อมรเทพบอกว่า ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ทางสำนักวิจัยของเขาได้คาดว่า GDP ไตรมาสที่สองนี้มีโอกาสหดตัวได้ถึง 14% และน่าจะลดการหดตัวลงในช่วงที่เหลือของปี 
    และคาดการณ์ต่อว่าเศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งปีหลังอาจหดตัวราว 10% 
    “และเนื่องจากการหดตัวที่ลึกและลากยาวของเศรษฐกิจที่มากกว่าที่ประเมินไว้ก่อนหน้า โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่จะฟื้นตัวช้า ทางเราจึงได้ปรับลดมุมมองการเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้ลงจาก -6.4% เป็น -8.9%”
    นั่นแปลว่าวิกฤติเศรษฐกิจรอบนี้อาจเลวร้ายที่สุดที่ประเทศไทยเคยเผชิญ 
    เพราะมันรุนแรงกว่าวิกฤติต้มยำกุ้งที่เศรษฐกิจไทยในปี 2541 หดตัว 7.63% 
    โดยเฉพาะไตรมาสที่สองปีนั้นหดตัวลึกถึง 12.53% แต่รอบนี้อาจได้เห็นเศรษฐกิจหดตัวเลขสองหลักอีกครั้งและลากยาวกว่าเดิม.
                (พรุ่งนี้ : เวทมนตร์นั้นคืออะไร?)


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"