ร้านเสริมสวยในวิกฤติโควิด-19 ปรับเปลี่ยนเพื่อความปลอดภัย


เพิ่มเพื่อน    

    หลังการผ่อนคลายของทางรัฐ อนุญาตให้เปิด 6 กลุ่มกิจกรรมจากการล็อกดาวน์ ซึ่งกิจการหนึ่งในนั้นคือร้านเสริมสวย ซึ่งได้รับผลกระทบมาเป็นเวลายาวนานเกือบ 2 เดือนนั้น  ก็มีการปลดล็อก โดยกำหนดสามารถให้บริการเฉพาะตัดผม สระ แต่ง หรือไดร์ผมเท่านั้น และต้องปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ในการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด
    เป็นเหตุให้ลอรีอัล กรุ๊ป ได้ดำเนินการสนับสนุนธุรกิจร้านตัดผม-เสริมสวย และช่างผมท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 ทั่วโลก โดยลอรีอัล ประเทศไทย ได้จัดทำ โครงการ “L’Oreal Thailand Salon Solidarity” เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนร้านตัดผม-เสริมสวย แนะแนวทางช่วยเหลือเพื่อปรับตัวหลังสามารถกลับมาเปิดให้บริการได้
    หนึ่งในนั้นคือการร่วมมือกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดบรรยายให้ความรู้รายละเอียดมาตรการด้านสุขอนามัย พร้อมจัดโปรแกรมการฝึกอบรมออนไลน์ให้แก่ร้านทำผม-เสริมสวย เพื่อให้สามารถก้าวผ่านวิกฤติโควิด-19 ได้
    นางอินเนส คาลไดรา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จุดประสงค์หลักคือช่วยให้ธุรกิจสามารถให้บริการได้อย่างปลอดภัยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยโครงการนี้ในประเทศไทยเป็นหนึ่งในมิติของการช่วยเหลือที่สำคัญนั้นคือด้านสุขอนามัย โดยในช่วงแรกของการระบาด ลอรีอัลได้จัดหาเจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดให้ร้านพันธมิตร และกำลังเตรียมมอบหน้ากากเฟซชิลด์ จำนวน 2,500 ชิ้น ให้แก่ร้านทำผม-เสริมสวย เพื่อสนับสนุนด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยของช่างและลูกค้าตามมาตรการของภาครัฐ 
    ทั้งนี้ จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2017 พบว่ามีร้านเสริมสวยในไทยมีกว่า 120,000 แสนร้าน ซึ่งสร้างรายได้ในอุตสาหกรรมเสริมสวยประมาณ 6 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ยังพบว่า 70% ของรายได้มาจากการให้บริการทำสีผม และดัดผมเป็นหลักอีกด้วย สะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจร้านเสริมสวยเป็นอีกรายได้ที่สำคัญ 
    “โดยในการดำเนินมาตรการในการสนับสนุนธุรกิจร้านทำผม-เสริมสวย ในโครงการฯ อาทิ การฝึกอบรมออนไลน์สำหรับช่างผม โดยในประเทศไทยได้มีการส่งเสริมการเรียนรู้ออนไลน์ให้แก่ช่างทำผมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของบริษัท ในขณะที่ธุรกิจถูกปิดชั่วคราวอีกด้วย โดยในเดือนเมษายนที่ผ่านมา แบรนด์ L’Oreal  Professionnel และ Kerastase ได้จัดทำการฝึกอบรมออนไลน์ให้แก่ช่างผมและลูกค้าถึง 16 หัวข้อ และลอรีอัล ยังได้ให้ความสำคัญกับช่างผมโดยการส่งเสริมให้มีบทบาทในสื่อสังคมออนไลน์ของบริษัท เพื่อให้พวกเขาได้มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าและคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง ยังมีการฝึกอบรมด้านเครือข่ายสังคมค้าขายออนไลน์ (Social Commerce) และร่วมมือกับพันธมิตรแพลตฟอร์มด้านการจองคิวออนไลน์ เพื่อให้ความช่วยเหลือธุรกิจร้านทำผม-เสริมสวยให้สามารถจัดการระบบรับจองคิวล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการให้บริการตัดผมแก่บุคลากรทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ  โดยไม่มีค่าใช้จ่าย” อินเนสกล่าว 
    มีการเผยแพร่ข้อมูลแบบสำรวจที่ได้เก็บข้อมูลจากผู้ร่วมตอบแบบสำรวจทั้งหมด 1,060 คน ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 30 เม.ย.-4 พ.ค.2563 พบว่ากว่า 85% ของผู้ตอบแบบสำรวจตระหนักถึงความจำเป็นในการใช้บริการทำผมที่ร้านในช่วงระหว่างล็อกดาวน์ และจากจำนวนผู้ตอบแบบสำรวจกว่า 70% ที่รู้สึกว่าการที่ไม่สามารถรับบริการจากช่างผมมืออาชีพส่งผลกระทบต่อทั้งทางสุขภาวะและความมั่นใจของตนเอง ยังสามารถสรุปได้ว่า พวกเขาเชื่อว่าร้านทำผม-เสริมสวย มีความสำคัญในการช่วยเสริมสร้างความมั่นใจและช่วยให้รู้สึกดีกับตัวเอง ด้านการบริการที่มีให้นอกเหนือจากการตัด สระ ไดร์ แล้ว  ผู้ตอบแบบสำรวจยังต้องการทำสีและไฮไลต์ผมมากที่สุดเมื่อร้านสามารถกลับมาเปิดให้บริการเต็มรูปแบบ โดยหลังจากรัฐบาลได้มีมาตรการผ่อนปรนให้ร้านตัดผมเสริมสวยกลับมาเปิดบริการ ตัด สระ ไดร์ เท่านั้นได้อีกครั้ง จำนวน 41% ของผู้ตอบแบบสำรวจรู้สึกมั่นใจที่จะใช้บริการตัดผม-เสริมสวย  โดยกว่า 78% อยากที่จะกลับไปใช้บริการภายในสัปดาห์แรกทันที และ 2 ใน 3 เชื่อว่าร้านที่ใช้บริการเป็นประจำจะสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้อย่างถูกต้องด้วย.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"