ใกล้เทศกาลหยุดยาว "สงกรานต์ ปี 2561" ซึ่งปีนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้หยุดยาว 5 วัน ตั้งแต่วันที่ 12 เม.ย. ถึงวันที่ 16 เม.ย.2561 เพื่อให้ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนา เยี่ยมญาติ พี่ น้อง ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเทศกาลที่ประชาชนจะมีการเดินทางกลับบ้านเกิดกันอย่างคับคั่งเหมือนทุกๆ ปีที่ผ่านมา
ซึ่งเทศกาลที่มีวันหยุดยาวๆ มักจะได้เห็นภาพของประชาชนที่เดินทางออกต่างจังหวัด ทั้งที่กลับภูมิลำเนา กลับบ้านเกิด หรือบางส่วนเดินทางไปท่องเที่ยวกันอย่างหนาตา สิ่งที่ตามมาคือ "การใช้จ่าย" ที่จะสะพัดเพิ่มขึ้นในทุกๆ เทศกาล เพราะไม่ใช่เพียงค่าใช้จ่ายในการเดินทางเท่านั้น แต่ยังมีค่าอาหาร เครื่องดื่ม และค่าใช้จ่ายจิปาถะต่างๆ ตามมาอีกมากมาย มองในมุมเศรษฐกิจตรงนี้ถือเป็นเรื่องดี เพราะการใช้จ่าย และการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ช่วยทำให้เกิดการหมุนเวียนของเงินในระบบมากขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการหลายรายก็ต่างหยิบฉวยโอกาสนี้ ซึ่งเป็นโอกาสทองที่จะค้าขายได้มากขึ้น สร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำกันเลยก็มี
โดย "ยุทธศักดิ์ สุภสร" ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มีการคาดการณ์ว่า ในช่วงหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ 5 วัน จะมีการใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้น โดย ททท.ประเมินว่าวันหยุดที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลดีให้จำนวนนักท่องเที่ยวคนไทยมากขึ้นถึง 6 แสนคน หรือสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นประมาณ 3.75 พันล้านบาท ส่งผลให้รายได้รวมเพิ่มขึ้นเป็น 1.04 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 15.59% จากปีก่อนที่มีรายได้อยู่ที่ 9.03 พันล้านบาท
นอกจากนี้ ททท.ยังคาดการณ์ปริมาณคนที่เดินทางท่องเที่ยวในปีนี้ ว่าจะอยู่ที่ประมาณ 3.01 ล้านคน-ครั้ง เพิ่มขึ้น 12.10% จากปีก่อนที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2.68 ล้านคน-ครั้ง และเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ ททท.เคประเมินสถานการณ์การท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ไว้ คือ หากหยุด 4 วัน จะมีการเดินทางท่องเที่ยวประมาณ 2.4 ล้านคน-ครั้ง รายได้อยู่ที่ 6.68 พันล้านบาท ค่าใช้จ่ายประมาณ 2.77 พันบาท/ทริป แต่เมื่อ ครม.ประกาศเพิ่มวันหยุด 1 วัน คือวันที่ 12 เม.ย. ส่งผลให้จำนวนวันหยุดเพิ่มเป็น 5 วัน ก็เป็นปัจจัยที่จะช่วยทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 3.46 พันบาท/ทริป หรือเพิ่มขึ้น 3.12% จากปีก่อนมีค่าใช้จ่ายต่อทริปอยู่ที่ประมาณ 3.36 พันบาท
ขณะที่ "ศูนย์วิจัยกสิกรไทย" ได้มีการคาดการณ์ว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2561 คนกรุงเทพฯ จะมีการจับจ่ายใช้สอยคิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 2.41 หมื่นล้านบาท ขยายตัว 5% จากปีก่อน โดยเม็ดเงินดังกล่าวแยกเป็นค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงสังสรรค์ (ค่าอาหารและเครื่องดื่ม) ประมาณ 9.2 พันล้านบาท, ค่าที่พัก/เดินทางประมาณ 6.3 พันล้านบาท, ค่าช็อปปิ้งประมาณ 4.5 พันล้านบาท, ค่าทำบุญไหว้พระ 2.04 พันล้านบาท และค่าใช้จ่ายในกิจกรรมอื่นๆ อาทิ ให้เงินผู้ใหญ่ในครอบครัว ค่าเที่ยวสถานที่ต่างๆ/ดูหนัง/ฟังเพลง/เล่นน้ำ 2.1 พันล้านบาท
ขณะที่งบประมาณใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 5.6 พันบาท โดยยังมีการประเมินอีกว่า คนกรุงเทพฯ อีกกว่า 53% เลือกวางแผนทำกิจกรรมในกรุงเทพฯ ในช่วงสงกรานต์ปีนี้ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน นั่นเป็นการสะท้อนว่า เทศกาลสงกรานต์ในปี 2561 นี้ น่าจะเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการในการจับตลาดผู้บริโภคคนกรุงฯ ที่เลือกอยู่กรุงเทพฯ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งเป็นวันหยุดยาวในปีนี้และปีต่อๆ ไป
สำหรับเทศกาลสงกรานต์ปี 2561 เชื่อว่าจะเป็นอีกปีที่ตลาดท่องเที่ยวภายในประเทศได้รับอานิสงส์จากนักท่องเที่ยวทั้งที่เดินทางกลับภูมิลำเนา และตั้งใจเดินทางไปท่องเที่ยว จนทำให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวเติบโตได้อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนหนึ่งไม่เพียงกระแส "นิยมไทย" ที่มีส่วนทำให้ประชาชนเดินทางไปท่องเที่ยวนิยมใส่ชุดไทยและเดินทางไปท่องเที่ยวในสถานที่ประวัติศาสตร์สำคัญมากขึ้น
โดยศูนย์วิจัยด้านตลาดการท่องเที่ยว ททท. ได้มีการคาดการณ์ว่า สถานการณ์ท่องเที่ยวในประเทศปีนี้จะเพิ่มสูงขึ้นทั้งด้านจำนวนและรายได้ โดยปัจจัยสนับสนุนสำคัญมาจากทั้งภาครัฐ ด้วยการประกาศเพิ่มวันหยุด และมาตรการลดหย่อนภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเมืองรอง รวมถึงการเพิ่มเที่ยวบินภายในประเทศสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงสงกรานต์ ตลอดจนการทำตลาดของ ททท.กระตุ้นการท่องเที่ยวเมืองรอง ซึ่งเป็นการเพิ่มความสนใจและทางเลือกใหม่ๆ ให้กับนักท่องเที่ยวอีกด้วย.
ครองขวัญ รอดหมวน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |