'จตุพร' อัดนักการเมืองสองฝ่ายเอาประชาชนไว้ท้ายเสมอ ชี้กระแสตั้งพรรคการเมืองเป็นแค่ความหวังลมๆแล้งๆ


เพิ่มเพื่อน    

27 พ.ค.63 - นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เฟซบุ๊กไลฟ์รายการ PEACE TALK ถึงการอภิปรายในสภาผู้แทนกรณี พรก. 3 ฉบับเกี่ยวกับการเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาทเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบโควิดนว่า สาระสำคัญอยู่ที่คนไทยต้องเป็นหนี้อย่างมาก 50 ปี หรือถ้าสถานการณ์ประเทศดีขึ้นอาจใช้หนี้หมดสัก 10 ปี อย่างไรก็ตาม ปัญหาก็ไม่จบ เพราะเงินกู้จากโควิดต้องเกี่ยวข้องกับ ร่างงบประมาณรายจ่ายปี 2564 ยังเป็นงบประมาณขาดดุล คือรายรับน้อยกว่ารายจ่าย โดยที่ผ่านมาไทยมีงบประมาณสมดุลเพียง 2 ปีงบประมาณเท่านั้น หมายถึงไม่ต้องกู้เงินเพราะมีรายรับพอกับรายจ่าย

สำหรับ พรก.เงินกู้ 1.9 ล้านล้านบาทเต็มไปด้วยข้อกังวล โดยเฉพาะเงิน 4 แสนล้านบาทนำไปฟื้นฟู เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งฝ่ายค้านต้องสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้น ดังนั้น ถ้าฝ่ายค้านทำหน้าที่ถูกใจ ประชาชนจะมีโอกาสได้เป็นรัฐบาลในอนาคต หากไม่ถูกใจประชาชนก็จะเป็นฝ่ายค้านในอนาคตตามเดิมอีก

ส่วนฝ่ายรัฐบาล คงต้องชี้แจง แต่การอภิปราย พรก.นั้น ส.ส.ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิ์อภิปราย ซึ่งแตกต่างจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เนื่องจากเป็นเรื่องของฝ่ายค้านกับนายกฯหรือ ครม.เท่านั้น

ทุกคนรู้ว่า พรก.ทั้ง 3 ฉบับต้องผ่านสภาอยู่แล้ว ดังนั้น ในช่วงอภิปราย 5 วันนั้น ฝ่านค้านจึงต้องใช้ศักยภาพตรวจสอบรายละเอียดการใช้จ่ายเงินจากรัฐบาล หรือมีข้อสงสัยถึงเงินที่ใช้ประชาชนจะได้ประโยชน์ตรงไหน เพราะเป็นหนี้ระยะยาว

นายจตุพร กล่าวว่า เดิมทีนั้น ตนมีความเห็นมาตลอดว่า ควรใช้เงินงบประมาณปี 2563 ให้ครบถ้วนก่อน โครงการอะไรพักได้ก็ควรพักเพื่อให้ประเทศบอบช้ำน้อยที่สุด เพราะเศรษฐกิจคราวนี้ยากจะฟื้น อีกทั้งการเยียวยาประชาชน 5 พันบาทจะสิ้นสุดในเดือน มิ.ย.นี้

"แล้วหลังจากนั้นประเทศไทยจะเป็นอย่าวไร การท่องเที่ยวเราจะฟื้นกันอีกนานเท่าไร นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศจะเข้ามา เราก็ยังไม่พร้อม เพราะเราไม่สบายใจเรื่องโควิด เมื่อจำเป็นต้องหารายได้จากการท่องเที่ยว แต่ไม่ง่าย เนื่องจากโควิดยังอยู่อีกยาว ประกอบกับต่างประเทศยังไม่เบ็ดเสร็จกับเชื้อไวรัสโควิด”

ดังนั้น คนไทยต้องรู้ก่อนว่า เดือน มิ.ย.เป็นเดือนสุดท้ายการเยียวยา ซึ่งเกี่ยวพันกับเคอร์ฟิวด้วย โดยสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) จะประเมินให้คลายล็อกเคอร์ฟิวกันอย่างไร ตนคาดหวังอยากให้ขยายเวลาเคอร์ฟิวจากเที่ยงคืนถึงตีสี่ เพราะบางธุรกิจจะไม่ต้องมีปัญหากับเคอร์ฟิว

นายจตุพร กล่าวถึงการเมืองไทยว่า ยังอยู่ในสภาพที่ไม่มีความหวัง เมื่อร่าง รธน.ปี 2540 นั้นมีการหารือเนื้อหาหลักอยู่ที่การปฏิรูปการเมือง อันเป็นผลจากการต่อสู้ของเหตุการณ์พฤษภา 2535 แต่วันนี้ปัญหาประเทศกลับมาสู่จุดเดิมอีก การเมืองไทยย่ำอยู่กับที่ ไร้ทางออกและไม่เห็นหนทางเดินไปอนาคต

“หากการเมืองไทยอยู่ในภาวะปกติ คงมีการเรียกร้องให้ยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชน แต่ปัจจุบันแล้วทุกคนรู้การเมืองผิดปกติ ถึงคืนอำนาจให้ประชาชนก็ไม่จบ เพราะกติกา รธน. 2560 เป็นแบบเดิม ยังไม่ได้รับการแก้ไข และที่สำคัญยังมีทุกข์รออยู่ข้างหน้าทั้งสิ้น”

ดังนั้น การทำหน้าที่ของนักการเมืองเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนแล้ว ตนไม่แน่ใจช่วง 5 วันการอภิปราย พรก.การเงิน 1.9 ล้านล้านบาท จะมีอะไร เพราะไม่น่ามีอะไรทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เนื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ผ่านมาเคยคาดจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่สรุปแล้วก็ไม่มีอะไร แล้วนับประสาอะไรกับการอภิปราย พรก.ที่มีวงเงินเกี่ยวข้อง ผสมกับตัวอย่างการเลือกตั้งซ่อมลำปาง ที่พรรคเพื่อไทยไม่ส่งผู้สมัคร ทำให้รัฐบาลมีโอกาสชนะค่อนข้างแน่นอน

“นักการเมืองสองฝ่ายเอาประชาชนไว้ที่ไหน เมื่อนักเลือกตั้งคิดกัน ส่วนใหญ่มักเอาประชาชนไว้ท้ายเสมอ โดยประชาชนถูกสร้างให้เกิดอารมณ์วูบวาบ ถูกสร้างความเชื่อ ให้มีความหวัง แล้วท้ายสุดในความเป็นจริงประชาชนแทบไม่ได้รับอะไร ถ้าได้รับก็เปรียบเหมือนโครงการแท่งไอติมในอดีตที่ละลายแทบหมดก่อนถึงประชาชน”

นายจตุพร ย้ำว่า การเมืองปัจจุบันยากที่จะมีความหวังกับประชาชน การตั้งพรรคการเมืองจะดีในระยะยาว แต่ในระยะสั้นภายใต้กติกา รธน.ฉบับนี้ ยังไม่เห็นทาง แม้สามารถชนะเลือกตั้งได้ แต่แก้ไขปัญหาชาติได้ไม่เด็ดขาดอยู่ดี

“ผมยังเชื่อว่า การเมืองนอกกระดานต้องบังเกิดสำหรับการเมืองของไทย เพราะเมื่อการเมืองในกระดานย่ำอยู่กับที่ ยิ่งกว่าน้ำเน่า อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องรักษาชีวิต รักษาความหวังและคิดว่าวันหนึ่งเราจะได้เห็นโอกาสความเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีสำหรับประชาชน”

นายจตุพร ยกตัวอย่างสรุปว่า การเมืองไทยจริงๆแล้วก็เหมือนกับการเลือกตั้งซ่อมที่ลำปาง และการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ผ่านมา แม้เกิดปรากฎการณ์ตั้งพรรคการเมืองหรือตั้งกลุ่มก็ยังมีความหวังกันอยู่ แต่ยังเป็นลมๆแล้งๆ ส่วนหนทางข้างหน้ายังหวังว่าจะมีความหวังเข้าข้างประชาชนบ้างสักวัน

"ผมเชื่อว่า หลังจากเดือน มิ.ย. ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายการเยียวยา นั่นคือของจริงที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย ส่วนจะออกมาอย่างไร ทิศทางไหนนั้น คงต้องว่ากันเป็นตอนๆไป"


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"