‘อีคอมเมิร์ซ’ เฟซบุ๊ก-ยูทูบ เจอ‘ภาษี’แน่


เพิ่มเพื่อน    

 

วงการ ”อีคอมเมิร์ซ” หนาวแน่ สรรพากรเตรียมถอนขนห่านชุดใหญ่ เล็งคลอดกฎหมาย 3 ฉบับ ฉบับแรกเว้นภาษีสั่งสินค้าไม่เกิน 1,500 บาทเข้ามา ส่วนอีก 2 ฉบับผู้ค้าทั้งไทย-เทศโดนทั่ว เน้นหนักโซเชียลระดับโลกทั้ง “เฟซบุ๊ก-กูเกิล-ยูทูบ” รีดไม่เกิน 15% ส่วนผู้ประกอบการไทยก็มีมาตรการบีบเข้าระบบ

    เมื่อวันที่ 8 เมษายน นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวถึงการเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การเก็บภาษีจากผู้ประกอบการทำธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (อีคอมเมิร์ซ) ว่ากรมสรรพากรได้เร่งเสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวให้กระทรวงการคลังพิจารณาเห็นชอบ เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติอยู่ โดยร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว กรมได้แยกการร่าง พ.ร.บ.ออกเป็น 3 ฉบับ 
นายประสงค์กล่าวว่า พ.ร.บ.ฉบับแรกที่เสนอจะเป็นการยกเลิกการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) จากการส่งสินค้าเข้าประเทศผ่านทางพัสดุมูลค่าไม่เกิน 1,500 บาท ซึ่งได้เสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาเห็นชอบแล้ว ส่วนร่าง พ.ร.บ.ฉบับที่สอง จะเป็นเรื่องการให้ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซเสียภาษีแวต ซึ่งกรมสรรพากรอยู่ระหว่างตรวจรายละเอียดกฎหมายขั้นสุดท้าย ก่อนเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณา
“ร่าง พ.ร.บ.ฉบับที่สาม เป็นเรื่องให้ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซเสียภาษี โดยกำหนดให้เก็บภาษีกับผู้ประกอบการนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการโดยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เกิดรายได้ในไทย เช่น เฟซบุ๊ก กูเกิล ยูทูบ และไลน์ เป็นต้น โดยจะมีการกำหนดอัตราเพดานสูงสุดไว้ไม่เกิน 15% โดยผู้จ่ายเงินเป็นผู้มีหน้าที่หักภาษีและนำส่งให้กรม ซึ่งมีรายละเอียดทางเทคนิคที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนเสนอให้กระทรวงการคลัง” นายประสงค์กล่าว
    อธิบดีกรมสรรพากรกล่าวอีกว่า การเก็บภาษีอีคอมเมิร์ซกับผู้ประกอบการต่างประเทศ จะทำให้การเก็บภาษีได้เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันกรมก็เสนอแก้ประมวลรัษฎากรให้อีคอมเมิร์ซในไทยเข้ามาอยู่ในระบบภาษีมากขึ้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการต่างประเทศ โดยจะให้ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินของรัฐ และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ รายงานการทำธุรกรรมการเงินของลูกค้าให้กรมทราบ สำหรับการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปี และการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 200 ครั้ง และมียอดรวมของกันตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป
"ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซในประเทศต้องปรับตัว เสียภาษีให้ถูกต้อง เนื่องจากผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซต่างประเทศมีเข้ามาจำนวนมาก การจะแข่งโดยหวังได้เปรียบไม่เสียภาษี และไม่ปรับปรุงตัวเองจะทำให้อนาคตแข่งขันกับอีคอมเมิร์ซจากต่างประเทศไม่ได้" นายประสงค์กล่าว
สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพเก็บภาษีอีคอมเมิร์ซทั้งหมด เพื่อปรับการทำงานให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการประกอบธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยธุรกิจอีคอมเมิร์ซจะมาแทนที่การค้าปลีกระบบเดิมที่ต้องมีร้านค้าจำหน่าย เพราะจากสถิติปีที่ผ่านมา ธุรกิจอีคอมเมิร์ซขยายตัวเพิ่มขึ้น 20-30% ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจจำนวนมากปรับกลยุทธ์ไปจับมือกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และบางรายก็ปรับตัวเองเป็นธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เพื่อรักษาและเพิ่มยอดการขายสินค้า ซึ่งมีจำนวนมากยังอยู่นอกระบบภาษี ทำให้รัฐสูญเงินภาษีที่ควรเก็บได้เป็นจำนวนมาก.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"