ต่ออายุรัฐราชการ! ปฏิรูปสังคมชงเกษียณ63ปี/นักวิชาการซัดปาหี่


เพิ่มเพื่อน    

 

แก้ปัญหาวิกฤติสังคมผู้สูงอายุ พิมพ์เขียวปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข-สังคม ชงรัฐบาล-กรรมการยุทธศาสตร์ชาติขยายอายุเกษียณราชการจาก 60 ปีเป็น 63 ปี ตั้งเป้าเริ่มใช้กับเจ้าหน้าที่รัฐที่เกษียณปี 2567 นักวิชาการหวดยับ ปฏิรูปปาหี่ ไม่กล้าแตะต้องกองทัพ  

     หลังราชกิจจานุเบกษาได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องปฏิรูป 11 เรื่อง ใน 6 เล่ม เมื่อวันที่ 6 เมษายน ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 2,166 หน้า
    มีเรื่องน่าสนใจในเล่มที่ 5 ว่าด้วยแผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านสังคม ซึ่งมีจำนวน 277 หน้า
     โดยเนื้อหาดังกล่าวอยู่ในหน้า 34 ในแผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ 2  กลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคม ข้อ 3.การเสริมสร้างศักยภาพผู้สูงอายุในการทำงาน กิจกรรมที่ 1 ที่ระบุให้ขยายอายุเกษียณราชการจาก 60 ปี เป็น 63 ปี (โดยใช้เวลา 6 ปี) เพื่อเป็นต้นแบบในการขยายเวลาการทำงานและค่อยๆ ขยายเวลาเป็น 2 ปี ขยาย 1 ปี เพื่อจะไม่กระทบต่อการจ้างงานคนรุ่นใหม่ที่ทดแทนคนที่เกษียณอายุ โดยไม่ครอบคลุมหน่วยงานที่ต้องใช้ศักยภาพทางร่างกาย
    สำหรับวิธีการกำหนดให้ 1.ศึกษาความเหมาะสมของตำแหน่งที่จะมีการขยายอายุเกษียณ และ 2.แก้ไขพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญให้ขยายอายุเกษียณราชการเป็น 63 ปี ผู้รับผิดชอบหลักคือ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) มีเป้าหมายคือ ข้าราชการ, พนักงาน, รัฐวิสาหกิจ และเจ้าหน้าที่ของรัฐเกษียณอายุที่ 63 ปี ในปี 2567 และมีตัวชี้วัดเป็นข้าราชการ, พนักงาน, รัฐวิสาหกิจ และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีศักยภาพมีอายุเกษียณเพิ่มขึ้น 1 ปี ในทุกๆ 2 ปี กระทั่งปี 2567
    ด้านนายอนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต แสดงความเห็นต่อแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน ที่เพิ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย. พ.ศ.2561 ว่าแม้นว่าคณะกรรมการปฏิรูปจะมีเป้าหมายและความปรารถนาดีต่อชาติ แต่เป็นยุทธศาสตร์และแผนปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน ยังขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและพรรคการเมืองต่างๆ ที่ต้องทำหน้าที่บริหารประเทศต่อไปหลังการเลือกตั้ง ขาดความยืดหยุ่น และขาดการเปิดกว้างให้สามารถปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์และตามเจตนารมณ์ของประชาชนผ่านการเลือกตั้งได้อย่างเหมาะสม 
    "ไม่ได้กล่าวถึงการปฏิรูปกองทัพเพื่อให้ทหารเป็นทหารอาชีพเพื่อแก้ปัญหาวังวนของการทำรัฐประหารซ้ำซากในประเทศไทย ไม่ได้มีข้อเสนอที่ชัดเจนเรื่องการปฏิรูประบบและกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะการปฏิรูปตำรวจ รวมทั้งความปรับเปลี่ยนให้อำนาจตุลาการยึดโยงกับประชาชนมากขึ้น รวมทั้งการปฏิรูปความสัมพันธ์ทางอำนาจที่เหมาะสมระหว่างสถาบันการเมือง สถาบันศาสนา สถาบันกษัตริย์ และประชาชน ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้ ยังขาดรายละเอียดของมาตรการส่งเสริมให้พรรคการเมืองมีความเป็นสถาบัน และการเมืองภาคประชาชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น" นายอนุสรณ์กล่าว 
    นายอนุสรณ์กล่าวอีกว่า เนื้อหาในแผนการปฏิรูป 11 ด้าน ระบุถึงการดำเนินการเรื่องการกระจายอำนาจน้อยเกินไป เป้าหมายหลักของการปฏิรูปต้องมุ่งไปที่การปรับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ หรือเพิ่มอำนาจให้กับประชาชนผู้ด้อยโอกาสทั้งหลาย ให้พวกเขามีสิทธิมีเสียงมากขึ้น การยึดถือแนวทางการปฏิรูปเช่นนี้ จะนำมาสู่การเกิดดุลยภาพเชิงอำนาจระหว่างคนกลุ่มต่างๆ แผนปฏิรูปของรัฐบาลไม่ได้พูดถึงแนวทางการแก้ปัญหาความอยุติธรรมหรือการถูกเลือกปฏิบัติจากโครงสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมมากเพียงพอ ซึ่งปัญหาความอยุติธรรมนี้ นำมาสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำหรือความไม่เท่าเทียมในทุกด้าน ทั้งความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ ด้านสิทธิ ด้านโอกาส ด้านอำนาจและด้านศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 
    นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยรังสิตวิพากษ์ต่อไปว่า  แผนปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติไม่ว่าจะสั้นหรือยาว ต่อไปจะต้องตอบโจทย์ปัญหากับดักเชิงโครงสร้างของไทยในอนาคตให้ได้ การเตรียมรับมือกับกับดักปัญหาเชิงโครงสร้าง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ระบบสถาบันต่างๆ และการเมือง รัฐบาล ภาคเอกชน ภาควิชาการ ขณะนี้ยังไม่มีทางออกหรือยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนว่าประเทศไทยจะแก้ไขปัญหากับดักเชิงโครงสร้างอย่างไรในระยะยาว เช่น ปัญหาจากโครงสร้างสังคมผู้สูงอายุ ปัญหาจากเสถียรภาพระบบการเมืองในระยะเปลี่ยนผ่าน ปัญหาการศึกษาและคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ที่ทำให้ไม่สามารถสร้างนวัตกรรมและขีดความสามารถในการแข่งขันได้ ซึ่งปัญหาหลายประการจะทยอยปะทุขึ้นในช่วง 5-10 ปีข้างหน้าช่วงหนึ่ง และ 10-20 ปีข้างหน้าอีกช่วงหนึ่ง โดยที่ระยะ 5-10 ปีข้างหน้า ในมิติด้านเศรษฐกิจ ไทยจะสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันในหลายธุรกิจอุตสาหกรรม รวมทั้งภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น หากไม่มีการปรับเปลี่ยนปัจจัยที่กำหนดขีดความสามารถในการแข่งขันให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนทางด้านนวัตกรรม การลงทุนทางด้านการศึกษาและวิจัย มีความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจในระดับสูงติดอันดับโลก แรงงานระดับล่างและเกษตรกรรายย่อยมีความยากลำบากทางเศรษฐกิจ มีสัดส่วนของหนี้สินต่อรายได้สูงมาก มิติทางด้านการศึกษา เด็กกว่า 40% ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ เด็กไทย 1 ใน 5 ของเด็กก่อนวัยเรียนและครอบครัวไทยไม่สามารถมีเงินส่งลูกเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้ มีความไม่เสมอภาคทางการศึกษาระหว่างเมืองใหญ่กับชนบทสูงมาก 
    คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต กล่าวเสนอแนะว่า ยุทธศาสตร์ 6 ประการของแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว 20 ปี (บรรลุเป้าหมายและสิ้นสุดปี พ.ศ.2579) ที่จัดทำโดยสภาพัฒน์ภายใต้รัฐบาลชุดนี้เห็นด้วยกับเนื้อหาบางส่วน แต่ยุทธศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นยุทธศาสตร์พื้นฐาน ไม่มีอะไรแปลกใหม่ อาจไม่สามารถตอบสนองต่อพลวัตของเทคโนโลยีใหม่ที่พลิกผันระบบเศรษฐกิจ ระบบการผลิต ระบบการเงินและระบบการเมืองได้ดีนัก รวมทั้งยังติดกรอบคิดแบบราชการและอนุรักษนิยม รวมทั้งอาจไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเอาไว้ ไม่ได้มุ่งเป้าไปที่แก้ปัญหาในระดับโครงสร้างและฐานรากอย่างแท้จริง 
    นายอนุสรณ์ให้ความเห็นว่า เรื่องยุทธศาสตร์ควรมีมากกว่า 6 ยุทธศาสตร์ โดยยุทธศาสตร์ 15 ปี พ.ศ. 2561-2575 ที่ผมเคยเสนอไว้เมื่อทำหน้าที่กรรมการและผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสาธารณะ สำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ.2549 หรือเมื่อเกือบ 12 ปีมาแล้ว มีทั้งหมด 10 ยุทธศาสตร์ ดังต่อไปนี้ ยุทธศาสตร์ที่หนึ่ง ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างอำนาจและส่งเสริมประชาธิปไตยให้เข้มแข็งมั่นคง, ยุทธศาสตร์ที่สอง ยุทธศาสตร์การเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืนโดยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเอา “คุณภาพชีวิตของพลเมือง” เป็นศูนย์กลาง, ยุทธศาสตร์ที่สาม ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง และ Greater Thailand/New Siam ยุทธศาสตร์นี้จะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ความมั่นคง ตามยุทธศาสตร์ 20 ปีของรัฐบาล คสช. แต่ยุทธศาสตร์ที่ผมศึกษาวิจัยและคิดไว้นี้ จะรวมแผนยุทธศาสตร์ทางด้านวัฒนธรรมและภาษาด้วย รวมทั้งการสร้างพลังเครือข่ายสยามและเชื้อชาติไทยอีกด้วย, ยุทธศาสตร์ที่สี่ ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและเครือข่ายความร่วมมือ ยุทธศาสตร์ลดอำนาจการผูกขาด สร้างความเป็นประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ เพิ่มการแข่งขัน เสรีภาพในการประกอบการ,  
ยุทธศาสตร์ที่ห้า ยุทธศาสตร์ด้านลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาค ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น 
    นายอนุสรณ์กล่าวย้ำว่า แผนการปฏิรูปทั้ง 11 ด้านนั้น จะต้องมีการกระจายอำนาจสู่ประชาชนและสังคมอย่างแท้จริง เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมีส่วนสำคัญในการจัดการการศึกษา ทรัพยากรของชุมชน ตลอดจนการพัฒนาองค์กรประชาชนให้เป็นฐานสำคัญของการพัฒนา การกระจายอำนาจตามความหมายนี้ ก็คือการเพิ่มอำนาจประชาชนและลดอำนาจรัฐนั่นเอง ปรับเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณเสียใหม่ให้ลงสู่พื้นที่และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนในการกำหนดเป้าหมายด้านคุณภาพชีวิต เพื่อให้ทุกคนมีหลักประกันในชีวิต เกิดสันติธรรมและความสงบสุข อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี 
    ขณะที่นายณรงค์ศักดิ์ เนียมสอน เจ้าหน้าที่โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือไอลอว์ กล่าวว่า “ร่างยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 6 ด้านจัดทำเสร็จสิ้นตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม 2561 และถูกนำไปจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น 4 จังหวัดใน 4 ภูมิภาค คือ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา แม้จะมีการเปิดฟังความคิดเห็นจากช่องทางอื่นด้วย เช่น เปิดให้ส่งความคิดเห็นผ่านเว็บไ ซต์ของสภาพัฒน์ แต่ประชาชนส่วนใหญ่แทบจะไม่ทราบข่าวสารและช่องทางการแสดงความคิดเห็นเหล่านี้ จึงไม่อาจเข้าร่วมแสดงความเห็นได้ทัน ความน่ากังวลคือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งหลัง จากนี้จะมีหน้าที่ต้องทำตามยุทธศาสตร์ชาติ ต้องแถลงนโยบายและเสนองบประมาณให้สอดคล้องกัน โดยมี ส.ว.ที่ คสช.เลือกเอาไว้เป็นคนติดตาม กำกับการทำตามยุทธศาสตร์ชาติ เมื่อเป้าหมายแต่ละด้านตั้งไว้สูง โดยไม่ได้เขียนวิธีการไว้ หากรัฐบาลชุดหน้าทำไม่สำเร็จ ก็อาจจะกลายเป็นประเด็นปัญหาต่อไปได้ 
    "น่าดีใจที่หลายพรรคการเมืองประกาศว่า ถ้าได้เป็นรัฐบาลจะยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติของ คสช. อย่างไรก็ตาม หากร่างฉบับนี้ถูกประกาศใช้ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับพรรคการเมืองที่จะยกเลิก เพราะต้องผ่านด่านคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติกับ ส.ว. แต่งตั้ง 250 คน เป็นอย่างน้อย ดังนั้น ช่วงเวลานี้พรรคการเมืองหรือประ ชาชนที่มีความรู้ความเข้าใจในวิธีการปฏิรูปด้านต่างๆ จึงควรช่วยกันติดตามร่างยุทธศาสตร์ชาติของ คสช. เพื่อเตรียมความพร้อมกับอนาคตที่จะเกิดขึ้น หรือเพื่อปรับเปลี่ยนและเสนอให้ยกเลิกบรรดาสิ่งที่เขียนไว้แล้วแต่เป็ นไปไม่ได้" นายณรงค์ศักดิ์กล่าว.     


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"