ตามคาด....
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปอีก ๑ เดือน
ตั้งแต่ ๑ ถึง ๓๐ มิถุนายน
พวกฝ่ายแค้น นักวิชาเกินก็ดิ้นพล่านเป็นไส้เดือนกันไป
มุมมองต่างขั้วยังคงดำเนินไป ขณะที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบกับวิกฤติโควิด-๑๙ แต่ฝ่ายค้านพูดได้ทุกเรื่องโดยไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ
จึงไม่แปลกที่ฝ่ายค้านจะโยงเรื่อง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ให้เป็นเรื่องเดียวกับการเมือง
มันอาจจะมีจุดเชื่อมอยู่บ้าง กับการห้ามชุมนุมในช่วงเวลาที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมรำลึกเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมือง พฤษภาทมิฬ
แล้วแต่จะตามหาว่าความจริงคืออะไร
แต่ความจริง ณ พ.ศ.นี้ การรวมตัวของคนจำนวนมากมีความเสี่ยงให้โควิด-๑๙ ระบาด
ถามว่ารัฐบาลกลัวการชุมนุมทางการเมืองหรือไม่?
นับแต่รัฐประหาร ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ มีการชุมนุมทางการเมืองมาแล้วนับไม่ถ้วน
เดือนพฤษภาคมทุกปีก็ชุมนุมกันเป็นปกติ
แต่ที่ไม่ปกติคือ ปีนี้มีโควิด-๑๙ และทั่วโลกก็ออกมาตรการคล้ายๆ กัน ห้ามประชาชนรวมตัวกัน เพื่อป้องกันการระบาด
ถ้าไม่ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แล้วมีกฎหมายอื่นเอาอยู่หรือไม่
พวกนั่งกอดตำราบอกว่า พ.ร.บ.โรคติดต่อก็เหลือเฟือแล้ว
แต่คนที่นั่งทำงาน เห็นปัญหา อุปสรรค เขายืนยันว่าไม่พอ
คุณหมอทวีศิลป์ วิษณุโยธิน แถลงเรื่องนี้เอาไว้ชัดเจน
"ตอนเราใช้ พ.ร.บ.โรคติดต่ออย่างเดียว ต้องมีการทำงานข้ามกระทรวง ซึ่งการสั่งการทำได้ แต่มีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานข้ามกระทรวง แตกต่างจากตอนมี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่เป็นการนำเอากฎหมายกว่า ๔๐ ฉบับ รวมถึง พ.ร.บ.โรคติดต่อมาอยู่ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำให้มีการบูรณาการทำงานกัน
ยกตัวอย่างเรื่องปัญหาหน้ากากอนามัย ที่ตอนแรกบอกว่ากระทรวงสาธารณสุขต้องเป็นผู้บริหารจัดการ แต่พอไปดูรายละเอียดเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน พ.ร.บ.โรคติดต่อไม่สามารถจัดการสิ่งเหล่านี้ได้ พอเราใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำให้บริหารจัดการได้ เหตุที่เราต้องรวบอำนาจก็เพื่อต้องการจัดการแบบเบ็ดเสร็จเพื่อควบคุมโรคให้ได้ ความสำเร็จในการควบคุมโรคส่วนหนึ่งก็มาจากการบริหารจัดกฎหมายตรงนี้"
คนทำงานเขาลองแล้ว และเห็นปัญหาแล้ว จึงแก้ไข
แต่คนวิจารณ์ หายใจเข้าออก มันยังด่า และดูเหมือนจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาของนักการเมืองยุคนี้ไปแล้ว
อยากให้นักการเมืองฝ่ายค้าน และนักเคลื่อนไหวได้อ่านความเห็นของอาจารย์หมอธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ท่านโพสต์เฟซบุ๊กเอาไว้ว่า
"...ย้อนกลับไปช่วงกลางมีนาคม...เป็นช่วงที่เครียดที่สุดในชีวิตการทำงาน โชคดีที่นายกฯ เชื่อทีมโรงเรียนแพทย์ และไม่ทำตามมาตรการเดิมๆ ที่กระทรวงและการเมืองเสนอ
แต่ผลที่ออกมานั้น คุ้มค่าอย่างยิ่ง ลด morbidity และ mortality ไปมากมาย
เพราะการร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจของบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทุกคนจริงๆ.....
ครับ...ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อหลักหน่วย บางวันเป็นศูนย์ ขณะที่หลายๆ ประเทศกำลังตายกันเป็นเบือนั้น ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย
แต่เรามีผู้นำซึ่งฟังคนที่ทำงานในหน้างาน
ถ้าเพื่อไทย-ก้าวไกล เป็นรัฐบาลวันนี้ สุขภาพคนไทยคงมาหลังเสรีภาพ
การตายก็คงเป็นเรื่องเสรีภาพ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |