จากสถิติอุบัติเหตุบนทางหลวงชนบทระหว่างปี 2560- 2562 พบว่า หนึ่งในสาเหตุสำคัญของอุบัติเหตุที่พบคือ การเสียหลักหลุดออกนอกทาง ชนกับสิ่งอันตราย และจากการวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุเชิงลึก พบว่าสิ่งอันตรายข้างทางที่ผู้ขับขี่เสียหลักหลุดออกนอกทางไปชนนั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ 1.สิ่งอันตรายที่เป็นสิ่งแวดล้อมข้างทาง ได้แก่ ต้นไม้ รั้วบ้าน คันคลอง เป็นต้น 2.สิ่งอันตรายที่เป็นอุปกรณ์จราจรได้แก่ หลักนำโค้ง เสาป้ายจราจร เสาไฟฟ้าแสงสว่าง เป็นต้น
ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมจึงต้องมีการคิดค้นนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้เพื่อเป็นการป้องกันและยับยั้งไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ มากไปกว่านั้นหากช่วยลดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินก็จะเป็นผลดีไปด้วย
เพราะเหตุผลนี้ ”ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รมว.คมนาคม หลังจากไปดูงานที่ประเทศเกาหลีใต้ สำหรับผลการทดสอบการทำแผ่นยางพาราหุ้มแบริเออร์ (Rubber Fender Barriers) โดยการประดิษฐ์คิดค้น ยางพาราหุ้มแบริเออร์ เพื่อให้การคมนาคมของประเทศไทยเกิดความปลอดภัยมากขึ้น โดยเจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้จะดูดซับแรงกระแทก จากหนักเป็นเบา และที่สำคัญช่วยเหลือพี่น้องชาวเกษตรกรสวนยางพารา
โดยจะนำร่องใช้ในจุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ ก่อน จากนั้นจะมีการเก็บสถิติอุบัติเหตุว่า สามารถลดลง หรือเมื่อเวลาเกิดอุบัติเหตุแล้วไม่รุนแรงได้หรือไม่ โดยจากผลการศึกษาที่ผ่านมานั้น พบว่าสถิติเรื่องอุบัติเหตุจะลดลง และเมื่อมีการชนแล้ว แบริเออร์ดังกล่าวจะไม่แตก พร้อมทั้งมีแรงเหวี่ยงซึ่งจะช่วยให้รถไม่พลิกคว่ำ รวมทั้งรถคันหลังที่วิ่งตามมา จะไม่ชนแรงด้วย จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ปัจจุบันไทยมีสถิติการเกิดอุบัติเหตุอยู่อันดับ 9 ของโลก อาจจะทำให้สถิติของไทยหายไปเลย
อย่างไรก็ตาม หากมีอุบัติเหตุหลุดโค้งชนกับเสาหลักนำทางคอนกรีตจนทำให้มีผู้ขับขี่เสียชีวิต 1 คนเกิดขึ้น จะคิดเป็นมูลค่าความสูญเสียของชีวิตเท่ากับ 10 ล้านบาท แต่หากโค้งที่เกิดอุบัติเหตุนี้ได้เปลี่ยนไปใช้เสาหลักนำโค้งที่ผลิตจากวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูงอย่างยางพาราแทน ผู้ขับขี่ที่เกิดอุบัติเหตุหลุดโค้งชนกับเสาหลักนำทางยางพารา อาจไม่เป็นอันตรายจนถึงกับเสียชีวิต และเมื่อพิจารณาตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้วถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุนปรับเปลี่ยนเสาหลักนำทางคอนกรีต ไปใช้เสาหลักนำทางยางพารา
นอกจากนี้ รมว.คมนาคม ได้สั่งการให้กรมทางหลวง และ ทช. ไปจดลิขสิทธิ์แผ่นยางพาราหุ้มแบริเออร์ เพื่อที่ในอนาคตจะสามารถนำไปขายในต่างประเทศได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าขั้นตอนการดำเนินการต่างๆ นั้น มีความโปร่งใส และยืนยันว่าไม่รื้อเกาะกลางของเดิมอย่างแน่นอน
สำหรับการดำเนินการดังกล่าว นอกจากจะช่วยลดความรุนแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ลดความสูญเสียของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผู้สัญจรบนทางหลวงชนบทลงได้แล้ว ยังเป็นการผลักดันการใช้ยางพาราภายในประเทศให้เพิ่มมากขึ้น สามารถช่วยเพิ่มเม็ดเงินให้ชาวสวนยางให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมในด้านการส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐได้อย่างเป็นรูปธรรม
ได้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม การดำเนินการดังกล่าวนั้นยังเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรในการสร้างความต้องการของการใช้น้ำยางพารา รวมถึงด้านความปลอดภัย ที่ผ่านการทดสอบมาแล้วจากทั้งในประเทศ และประเทศเกาหลี ซึ่งเป็นสถาบันระดับโลกที่มีมาตรฐานด้านความปลอดภัยด้วย นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากวิธีการดำเนินการในอดีตที่ผ่านมานั้น หากใช้งบประมาณ 100 บาท เงินจะถึงมือเกษตรกรเพียง 5.1 บาท หรือ 5.1% เท่านั้น แต่วิธีที่กระทรวงคมนาคมจะดำเนินการ ทั้งในเรื่องของแผ่นยางพาราหุ้มแบริเออร์ และเสาหลักกันโค้ง หากใช้งบประมาณ 100 บาท เงินจะถึงมือเกษตรกรประมาณ 70 บาทขึ้นไป หรือ 70%.
กัลยา ยืนยง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |