ปลายสัปดาห์ทุกภาคกลับมาร้อน


เพิ่มเพื่อน    

 

  ประเทศไทยตอนบนฝนเริ่มลดลง ไปตกหนักที่ภาคใต้ ก่อนที่ช่วงปลายสัปดาห์อากาศจะกลับมาร้อน เหนือ อีสาน อุณหภูมิแตะ 38 องศา ขณะที่กรุงเทพฯ ก็พุ่งสูงถึง 37 องศา ชาวสวนทุเรียนเมืองจันท์น้ำตาตก จะตัดขายได้ภายในอีกไม่กี่วัน เจอพายุฤดูร้อนพัดลูกร่วง ต้นหักโค่นเสียหายยับ 15 ล้าน 

    กรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ ดังนี้ ในช่วงวันที่ 8-9 เมษายน บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง ส่วนภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนเพิ่มขึ้น สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 เม.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อน ส่วนภาคใต้จะมีฝนลดลง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังอ่อนลง 
    ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 8-9 เม.ย. ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย
    พยากรณ์อากาศ ภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 8 -9 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 24-28 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 เม.ย. มีเมฆบางส่วน กับมีอากาศร้อน อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 8-9 เม.ย. มีเมฆบางส่วน อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 เม.ย. อากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
    ภาคกลาง ในช่วงวันที่ 8-9 เม.ย. มีเมฆบางส่วน อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 เม.ย. มีเมฆบางส่วน กับมีอากาศร้อน อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
    ภาคตะวันออก    ในช่วงวันที่ 8-9 เม.ย. มีเมฆบางส่วน อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่น 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร
    ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) ในช่วงวันที่ 8-9 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
    ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 7-8 เม.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
    กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในช่วงวันที่ 8-9 เม.ย. มีเมฆบางส่วน อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 เม.ย. มีเมฆบางส่วน กับมีอากาศร้อน อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
    เมื่อวันอาทิตย์ นายปิยะ สมัครพงศ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี และนายสุเนส เฉียงเหนือ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลจันทเขลม พร้อมด้วยเกษตรอำเภอเขาคิชฌกูฏ ได้รับแจ้งจากนายสมบัติ แก้วงาม ผู้ใหญ่บ้าน ว่าพื้นที่หมู่ที่ 3, 4, 6, 8 ต.จันทเขลม หมู่ที่ 6 ต.คลองพลู หมู่ที่ 10 ต.พลวง และหมู่ที่ 5 ต.ชากไทย อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี เกิดพายุฤดูร้อนพัดถล่มสวนทุเรียนต้นล้มหักโค่นและลูกร่วงหล่นเสียหาย จึงเดินทางไปตรวจสอบ พบสวนผลไม้ โดยเฉพาะต้นทุเรียนโค่นล้มกว่า 100 ต้น ผลผลิตที่ใกล้จะเก็บเกี่ยวร่วงหล่นเป็นจำนวนมาก น้ำหนักรวมกว่า 80 ตัน คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 15 ล้านบาท 
    ?นายปิยะกล่าวว่า แนวทางการให้ความช่วยเหลือ จะเร่งตรวจสอบและประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติธรรมชาติเพื่อช่วยเหลือตามระเบียบต่อไป โดยมีเงินทดรองจ่ายเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2556 ด้านการเกษตร ไม้ผล ไม่เกินรายละ 30 ไร่ ในอัตราไร่ละ 1,690 บาท นอกจากนี้ ได้สั่งการให้เกษตรอำเภอชุดปฏิบัติการแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพของอำเภอที่ประสบภัย ลงพื้นที่ตรวจสอบในพื้นที่อย่างใกล้ชิด เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้ทุเรียนที่โดนลมที่ด้อยคุณภาพออกสู่ตลาดต่อไป
    ต่อมาผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่หมู่ที่ 6 ต.ซึ้ง อ.ขลุง จ.จันทบุรี ซึ่งเป็นสวนทุเรียนของนางศรันยา พันธุวนิชย์ อายุ 59 ปี และนางสาวสุทธดา พันธุวนิชย์ อายุ 54 ปี พบต้นกล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า ต้นสน หักโค่นได้รับความเสียหาย ลมยังคงกระโชกแรงอยู่ตลอดเวลา เจ้าของสวนร่ำไห้ ตรวจสอบภายในสวนที่มีทุเรียนพันธุ์หมอนทองกว่า 300 ต้น ถูกพายุพัดลูกร่วงหล่นกระจายเกลื่อนโคนต้น ทั้งที่เตรียมจะตัดขายภายในอีก 8 วัน โดยทุเรียนที่ถูกพายุพัดร่วง ทำได้เพียงแปรรูปเป็นทุเรียนทอด รวมมูลค่าความเสียหายของสวนทุเรียนทั้งหมดในพื้นที่ประมาณ 1 ล้านบาท วอนรัฐบาลให้การช่วยเหลือ เพื่อบรรเทาต้นทุนการผลิตบ้างก็ยังดี ปีต่อไปคนสวนจะได้มีเงินลงทุนอีก.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"