โพลยี้เรียนออนไลน์/ปลื้มแจกเงิน


เพิ่มเพื่อน    


     นิด้าโพลเผยประชาชนหนุนเปิดเทอม 1 ก.ค. ไม่เห็นด้วย "เรียนออนไลน์" ชี้เด็กมีความพร้อมไม่เท่ากัน สวนดุสิตโพลเปิด 10 พฤติกรรมคนไทยปรับเปลี่ยนยุค "New Normal" ซูเปอร์โพลพบส่วนใหญ่พอใจมาตรการแจกเงิน ห่วงการเมืองขัดแย้งหนักหลังโควิด รัฐบาลสอบตกเรื่องปรองดอง
     เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชนเรื่อง “เรียนออนไลน์” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18-21 พ.ค.2563 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษาและอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,256 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเรียนการสอนออนไลน์สำหรับการศึกษาระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา โดยเมื่อถามถึงการมีบุตรหรือเป็นผู้ปกครองนักเรียนที่กำลังเรียนหนังสือในระดับอนุบาล ประถมศึกษา หรือมัธยมศึกษาในประเทศไทย พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.87 ระบุว่ามีบุตรหรือเป็นผู้ปกครองนักเรียนที่กำลังเรียนหนังสือ ขณะที่ร้อยละ 47.13 ระบุว่าไม่มีบุตรหรือเป็นผู้ปกครองนักเรียนที่กำลังเรียนหนังสือ
     ซึ่งผู้ที่ระบุว่ามีบุตรหรือเป็นผู้ปกครองนักเรียนที่กำลังเรียนหนังสือในระดับอนุบาล ประถมศึกษา หรือมัธยมศึกษา ในประเทศไทย พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 53.61 ระบุว่ามีบุตรหรือเป็นผู้ปกครองนักเรียนที่กำลังเรียนหนังสือในระดับประถมศึกษา รองลงมา ร้อยละ 29.37 ระบุว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, ร้อยละ 27.26 ระบุว่าระดับอนุบาล และร้อยละ 14.91 ระบุว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
     และเมื่อถามผู้ที่มีบุตรหรือเป็นผู้ปกครองนักเรียนที่กำลังเรียนหนังสือในระดับอนุบาล ประถมศึกษา หรือมัธยมศึกษา ในประเทศไทย ถึงบุตรหลานศึกษาในสถานศึกษาของเอกชนหรือของรัฐบาล พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 81.48 ระบุว่าเป็นสถานศึกษาของรัฐบาล ขณะที่ร้อยละ 23.19 ระบุว่าเป็นสถานศึกษาของเอกชน
    ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อคำสั่งให้เปิดเทอมสำหรับการศึกษาระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ในวันที่ 1 ก.ค.2563 พบว่า ร้อยละ 51.51 ระบุว่าเห็นด้วยมาก เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 คงหมดแล้ว และโรงเรียนควรมีมาตรการป้องกันอย่างเข้มงวด เด็กๆ ควรจะสวมหน้ากากอนามัยไปเรียนทุกครั้ง, ร้อยละ 28.27 ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วย เพราะช่วงระยะเวลาที่จะเปิดเรียนน่าจะปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 แล้ว และอยากให้เปิดทีละชั้นเรียนหรือผลัดกันเปิดของแต่ละชั้นเรียน เพื่อความปลอดภัยสำหรับเด็ก, ร้อยละ 9.87 ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะอยากให้เปิดเร็วขึ้นกว่านี้ เนื่องจากการปิดเทอมนานทำให้พัฒนาการเด็กช้าลง และจะทำให้ไม่อยากไปโรงเรียน, ร้อยละ 8.28 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเลย เพราะอยากให้เปิดเรียนเป็นวันที่ 16 มิ.ย.2563 เนื่องจากวันที่ 1 ก.ค.2563 นานเกินไป และบางพื้นที่ก็ปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 แล้ว และร้อยละ 2.07 ระบุว่าไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ 
     ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการเรียนการสอนออนไลน์สำหรับการศึกษาระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.90 ระบุว่าไม่เห็นด้วยในทุกระดับ เพราะเด็กมีความพร้อมด้านอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ไม่เท่ากัน โดยเฉพาะเด็กต่างจังหวัด และบางครอบครัวผู้ปกครองไม่มีเวลาคอยดูแลหรือให้คำแนะนำระหว่างเรียนออนไลน์ รองลงมา ร้อยละ 29.86 ระบุว่าเห็นด้วยในบางระดับ, ร้อยละ 22.05 ระบุว่าเห็นด้วยในทุกระดับ เพราะเด็กจะได้พัฒนาความรู้ระหว่างรอเปิดเทอม ได้ทบทวนเนื้อหาวิชาที่เรียน และทำให้ปลอดภัยจากการแพร่ระบาดโควิด-19 และร้อยละ 1.19 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ
     ซึ่งผู้ที่ระบุว่าเห็นด้วยในการสอนออนไลน์บางระดับ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.47 ระบุว่าควรสอนออนไลน์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพราะมีวุฒิภาวะที่สามารถควบคุมตัวเองให้อยู่ในการเรียนได้ และมีความรับผิดชอบและความสามารถในการใช้อุปกรณ์สื่อสาร สื่อออนไลน์ได้ดี รองลงมา ร้อยละ 60.80 ระบุว่า ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพราะเด็กมีความรับผิดชอบ มีสมาธิ ในการเรียนด้วยตัวเองได้ดี และสามารถเรียนรู้เทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว, ร้อยละ 21.33 ระบุว่าเป็นระดับประถมศึกษา เพราะควรจัดให้มีการเรียนการสอนออนไลน์ตั้งแต่ประถมศึกษาเป็นต้นไป เนื่องจากเด็กจะมีความเข้าใจมากกว่าระดับอนุบาล และร้อยละ 10.40 ระบุว่าเป็นระดับอนุบาล เพราะช่วงเวลานี้เด็กอยู่ในความดูแลของผู้ปกครองสามารถเรียนออนไลน์ได้ 
    “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณี “New Normal ของคนไทยจากสถานการณ์โควิด-19” จำนวนทั้งสิ้น 1,064 คน ระหว่างวันที่ 18-22 พ.ค.2563 สรุปผลได้ ดังนี้ “10 พฤติกรรม New Normal” ของประชาชนที่ต้องปรับเปลี่ยนเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อันดับ 1 ร้อยละ 71.05 การท่องเที่ยว โดยเลือกเที่ยวเฉพาะสถานที่ที่มั่นใจว่าปลอดภัยจากเชื้อโรค การเลือกพาหนะเดินทาง ฯลฯ, อันดับ 2 ร้อยะ 61.18 ช็อปปิ้ง เดินห้างสรรพสินค้า โดยต้องระมัดระวังตัว ไปเมื่อจำเป็น ลดจำนวนครั้งที่ไป มีสิ่งป้องกัน พกเจลล้างมือ ฯลฯ, อันดับ 3  ร้อยละ 59.68 การเดินทาง โดยป้องกันตัวเองเมื่อใช้รถสาธารณะ ตื่นเช้ากว่าเดิม พกเจลแอลกอฮอล์ เดินทางเมื่อจำเป็น ฯลฯ, อันดับ 4 ร้อยละ 59.40 ปาร์ตี้ สังสรรค์ โดยลดการปาร์ตี้ สังสรรค์ ไปเฉพาะเท่าที่จำเป็น ระมัดระวังตัวมากขึ้น ฯลฯ
    อันดับ 5 ร้อยละ 56.39 การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโควิด-19 โดยใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ ไม่ไปในที่แออัด สุ่มเสี่ยง ฯลฯ, อันดับ 6 ร้อยละ 47.27 การซื้อของกินของใช้ โดยเน้นเรื่องความสะอาด ปลอดภัย เลือกของที่มีประโยชน์ ราคาไม่แพง ฯลฯ,      อันดับ 7  ร้อยละ 46.43 การทำบุญ บริจาค โดยเลือกสถานที่ที่สะอาด ไม่แออัด ไปในวาระสำคัญหรือโอกาสพิเศษเท่านั้น ใช้วิธีการโอนเงิน ฯลฯ, อันดับ 8 ร้อยละ 45.3 การดูแลสุขภาพตัวเอง โดยเอาใจใส่สุขภาพ ออกกำลังกาย กินอาหารเสริม วิตามิน ปรึกษาแพทย์ ฯลฯ, อันดับ 9  ร้อยละ 45.11 โดยการเลือกอาหารการกิน เลือกอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ มีประโยชน์ต่อร่างกาย  ภาชนะปิดมิดชิด ทำทานเอง ฯลฯ, อันดับ 10 ร้อยละ 42.39 การประกอบอาชีพ/การหารายได้ สู้งาน โดยขยัน อดทน ไม่เลือกงาน เน้นความปลอดภัย ไม่เสี่ยงโรค ฯลฯ         
    ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจภาคสนามเรื่อง สามัคคีปรองดอง จำนวน 1,097 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่าง 18-23 พ.ค.2563 โดยเมื่อถามถึงมาตรการรัฐบาลช่วงโควิด-19 ที่ประชาชนพอใจ พบ 5 อันดับแรก ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.5 ระบุมาตรการแจกเงิน รองลงมาร้อยละ 80.9 ระบุลดค่าไฟ, ร้อยละ 63.1 ระบุลดราคาน้ำมัน, ร้อยละ 34.9 ระบุลดราคาสินค้า และร้อยละ 33.9 ระบุลดค่าน้ำประปา ตามลำดับ แต่เมื่อถามถึงความต้องการต่อมาตรการให้รัฐบาลขยายเวลาช่วยเหลือประชาชนเพิ่มเติมอีก พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.9 ระบุลดค่าไฟ รองลงมาร้อยละ 72.2 ระบุ แจกเงิน, ร้อยละ 66.5 ระบุลดราคาน้ำมัน, ร้อยละ 40.7 ระบุลดราคาสินค้า และร้อยละ 38.2 ระบุลดค่าน้ำประปา
     ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามถึงความพอใจของประชาชนต่อมาตรการต่างๆ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.3 ระบุเป็นผลงานของทีมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขณะที่เพียงร้อยละ 6.7 ระบุเป็นผลงานของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นอกจากนี้ เมื่อถามถึงการตัดสินใจของประชาชน ถ้าสมมติประชาชนเป็นนายกรัฐมนตรี ว่า จะรักษาทีม ครม.นี้ไว้หรือไม่ หลังโควิด-19 พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.8 จะรักษาทีม ครม.นี้ไว้ ในขณะที่ร้อยละ 5.2 จะไม่รักษาทีม ครม.นี้ไว้ ที่น่าเป็นห่วงคือระดับความขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองหลังโควิด-19 พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.5 ระบุค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 25.5 ระบุค่อนข้างน้อยถึงไม่รุนแรงเลย
     ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.8 ระบุ รัฐบาลไม่สำเร็จเรื่องความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ แย่งตำแหน่งรัฐมนตรีช่วงเวลาชาวบ้านกำลังทุกข์ คนในรัฐบาลเป็นต้นเหตุความขัดแย้งเสียเอง เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 40.2 ระบุสำเร็จ เพราะรัฐบาลทำงานมาต่อเนื่อง สำเร็จแต่เป็นเพราะลักษณะปกติของคนไทยที่มีจิตใจรักสงบรักสามัคคีกันมากกว่าเป็นผลงานของรัฐบาล เป็นต้น.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"