กรอ.ไม่หวั่นแม้ยอดร.ง.4 ช่วงไตรมาสแรกวูบ 1.08% มูลค่าการลงทุนหดตาม 26.96% แต่ยังมั่นใจทั้งปีจะดีขึ้นกว่าหลายปีที่ผ่านมา ชี้อีอีซีกำลังบูมคนแห่เปิดโรงงานเพียบ คาดเงินลงทุนแตะ 6 แสนล้านบาท
08เม.ย.61-นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กล่าวว่า การขอใบอนุญาตประกอบกิจการ(ร.ง.4) และขยายกิจการในช่วงไตรมาสแรกของปี 2561 (ม.ค.-มี.ค.) มีการขยายตัวลดลง โดยมีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 1,183 โรงงาน ลดลง 1.08% จากช่วงเดียวกันในปี 2560 ที่มีอยู่ 1,196 โรงงาน ขณะที่มูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 69,600 ล้านบาท ลดลง 26.96% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่อยู่ที่ 95,300 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการเปิดกิจการใหม่จำนวน 983 โรงงาน มูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 41,100 ล้านบาท ส่วนการขยายกิจการมีจำนวน 200 โรงงาน มูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 28,500 ล้านบาท
โดยอุตสาหกรรมที่มีจำนวนเปิดกิจการใหม่และขยายกิจการที่มีมูลค่ามากที่สุดตั้งแต่เดือนม.ค.-มี.ค. 61ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร 13,200 ล้านบาท อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง 7,150 ล้านบาท อุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 5,020 ล้านบาท อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ 4,510 ล้านบาท อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก 4,190 ล้านบาท
“ยอดขอใบอนุญาต ร.ง.4 ที่ลดลงไม่ใช่ตัวชี้วัดเศรษฐกิจประเทศ แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆที่มาเกี่ยวข้องที่เป็นตัวชี้วัดอีก อาทิ เศรษฐกิจโลก การนำเข้า การส่งออก เป็นต้น ซึ่งคาดว่าในปีนี้การขอใบอนุญาต ร.ง.4 จะอยู่ที่ 4,000 – 5,000 โรงงาน ส่วนมูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 500,000-600,000 ล้านบาทเหมือนทุกปีที่ผ่านมาหรืออาจจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปัจจัยหนุนโครงระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ที่นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศมีความสนใจเข้ามาลงทุนจำนวนมาก เนื่องจากได้สิทธิประโยชน์ที่ภาครัฐมอบให้เป็นตัวดึงดูดการลงทุน ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่จะมากระทบการลงทุนยังเห็นไม่ชัดนัก นอกจากนี้หลังจาก พ.ร.บ.อีอีซี ได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีทำให้นักลงทุนยิ่งมีความมั่นใจในการลงทุนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นปีนี้จึงมีแนวโน้มที่จะขอใบอนุญาต ร.ง.4 สูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา” นายมงคล กล่าว
สำหรับการขอใบอนุญาตประกอบกิจการ รง.4 และขยายกิจการในเดือนมี.ค. 61 เพียงเดือนเดียวมีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 423 โรงงาน ลดลง 13.8 % จากช่วงเดียวกันในปี 2560 ที่มีอยู่ที่ 491 โรงงาน มูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 16,700 ล้านบาท ลดลง 61.78% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 43,700 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการเปิดกิจการใหม่จำนวน 352 โรงงาน ขณะที่มูลค่าการลงทุน 11,900 ล้านบาท ส่วนการขยายกิจการมีจำนวน 71 โรงงาน ขณะที่มูลค่าการลงทุน 4,800 ล้านบาท
ส่วนการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ พบว่า จ.ชลบุรีมีการการขอใบอนุญาต ร.ง.4 และขยายกิจการมากที่สุด จำนวน 9 โรงงาน มูลค่าการลงทุน 262.18 ล้านบาท เกิดการจ้างงาน 348 คน จ.ระยอง จำนวน 6 โรงงาน มูลค่าการลงทุน 394.58 ล้านบาท เกิดการจ้างงาน 621 คน และ จ.ฉะเชิงเทรา จำนวน 2 โรงงาน มูลค่าการลงทุน 378.39 ล้านบาท เกิดการจ้างงาน 242 คน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |