24 พ.ค.63- นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้ง และสถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่แต่ละแห่งของจังหวัดนครราชสีมา แม้ว่าทางกรมอุตุนิยมจะประกาศเข้าสู่ฤดูฝนแล้วว่า เรื่องภัยแล้งทางท่านพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีได้ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งด้วยความเป็นห่วง โดยเฉพาะพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ดูแลและแก้ไขเรื่องน้ำอุปโภค บริโภค น้ำกินน้ำใช้ต้องไม่ขาด สำหรับจ.นครราชสีมาเราก็ห่วงมาก ตอนนี้ต้องติดตามสถานการณ์ทุกวันอย่างใกล้ชิด แต่เนื่องจากพอมีฝนบ้างในบางจุดทำให้พอมีน้ำในบางจุดบางพื้นที่ แต่ก็ยังไม่ดีขึ้น ตอนนี้ตนเองสั่งการให้เร่งทำการหาน้ำให้กับประชาชนเหมือนเดิม ส่วนที่ไหนมีฝนตกต้องเร่งสูบน้ำเข้าในพื้นที่ โดยเฉพาะบ่อ สระ ประปาต่างๆที่ต้องเก็บน้ำเข้าไปไว้ ส่วนประชาชนก็ให้รองน้ำใส่โอ่ง ตุ่ม กะละมัง หรือบ่อในไร่ นา
นายวิเชียร กล่าวต่อว่า ตอนนี้เราได้แจ้งเตือนว่า เพื่อเป็นการรับน้ำฝนฤดูกาลใหม่คงจะต้องมีการทำร่องน้ำที่จะทำให้น้ำลงในสระ อ่างเก็บน้ำของประปาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขณะเดียวกันปีนี้จะต้องรณรงค์ให้มีการซื้อโอ่ง ถังน้ำ เก็บไว้ในครัวเรือน เพื่อเก็บน้ำในฤดูแล้งเพราะมีความจำเป็น เพราะว่าช่วงที่ผ่านมาประชาชนไม่ได้ซื้อโอ่ง แล้วก็ทิ้งถังน้ำเป็นจำนวนมาก ตอนนี้เรามีวิทยากรปั้นโอ่งและให้มีการปั้นโอ่งเอาไว้ หลายพื้นที่บอกว่าเดี๋ยวนี้ถังพลาสติกราคาไม่แพงและทนทานกว่าโอ่ง ซึ่งก็เป็นทางเลือก แต่เรากำลังรณรงค์ให้ประชาชนหาโอ่งเก็บน้ำเพื่อความมั่นคงในครัวเรือน ส่วนเขื่อนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะเขื่อนลำแชะ อ.ครบุรีฯมีปัญหา ซึ่งทราบว่าทางเขื่อนปล่อยน้ำออกมาแล้วแต่ภาพถ่ายน้ำเป็นสีเขียว คุณภาพน้ำไม่ดี ตนเองกำลังให้ทางชลประทานเข้าไปตรวจสอบว่า เป็นเพราะภาพถ่ายหรือเป็นเพราะพืชในน้ำ หรือเป็นเพราะมีการปล่อยน้ำเสียลง ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบ ส่วนอำเภอที่ประสบภัยแล้งชาวบ้านเดือนร้อนที่น่าเป็นห่วงก็มี อ.โนนสูง และ อ.เมืองนครราชสีมาในหลายจุด ซึ่งเคยใช้น้ำจากเขื่อนลำตะคอง บางจุดใช้น้ำจากลำน้ำที่มีปัญหา เช่น พื้นที่ ต.จอหอ , ต.หนองกระทุ่ม เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้มีจุดกักเก็บน้ำน้อย พอเราเอาน้ำจากเขื่อนลำตะคอง มาเติมจะอยู่ได้ 10-15 วันก็จะขาดน้ำอีก เราก็ต้องลำเลียงน้ำไปใหม่ก็มีปัญหาตรงนี้ ซึ่งเรากำลังให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขยายบ่อ สระให้มีน้ำมากขึ้น
ด้านนายกิติกุล เสภาศีราภรณ์ ชลประทานจังหวัดนครราชสีมาเปิดเผยถึงสถานการณ์ภัยแล้งและสถานการณืน้ำในเขื่อนแต่ละแห่งของจังหวัดนครราชสีมา ว่า ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำในจังหวัดนครราชสีมาซึ่งประกอบด้วยอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 23 แห่ง ปัจจุบันมีน้ำกักเก็บเพียง 19 เปอร์เซ็นต์ ของความจุ ซึ่งสามารถใช้น้ำได้เพียง 17 เปอร์เซ็นต์จากปริมาณน้ำทั้งหมด ทั้งนี้ชลประทานจังหวัดนครราชสีมาได้พยายามสนับสนุนน้ำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้งต่อเนื่องมาโดยตลอด ระยะเวลา 2 ปี ที่ผ่านมา แต่ในปีนี้ปัญหาปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างแต่ละแห่งเหลือไม่มากพอที่จะสนับสนุนเกษตรกรในการเพาะปลูก และจากปัญหาดังกล่าวทางชลประทานจังหวัดนครราชสีมาจึงได้ทำโครงการรณรงค์เรื่องการบริหารจัดการน้ำให้กับเกษตรกรและประชาชนผู้ใช้น้ำ โดยการจัดทำโครงการประชาสัมพันธ์ผ่านรถแห่กระจายเสียงของทางสำนักงานชลประทานพร้อมกับเจ้าหน้าที่ เพื่อให้เกษตรกรและประชาชนผู้ใช้น้ำได้รับทราบข้อมูลข่าวสารจากทางชลประทานได้โดยตรง โดยเน้นไปที่การประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน และการพยากรอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาเพื่อใช้เป็นข้อมูลวางแผนในการเพาะปลูกเพื่อป้องกันความเสียหายจากปัญหาฝนทิ้งช่วง.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |