พบติดเชื้อรายใหม่3คน! สถานที่ชุมชนยังระบาด


เพิ่มเพื่อน    


    ศบค.เผยพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 3 คน การ์ดตกไม่ได้เพราะยังพบในสถานที่ชุมชน แต่น่าพึงพอใจเพราะจากการประกาศเคอร์ฟิวจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ยังเป็นเลขตัวเดียว รองอธิบดีกรมการแพทย์ชี้แม้ผู้ป่วยน้อยลง แต่ยังต้องเตรียมความพร้อมรองรับการระบาดระลอกที่ 2
    เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. พญ.พรรณประภา ยงค์ตระกูล ผู้ช่วยโฆษก ศบค. แถลงว่า 6 วันหลังสถานการณ์ผ่อนคลายระยะที่ 2 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั้งสิ้น 3 ราย ผู้ป่วยสะสม 3,040 ราย ผู้ป่วยกลับบ้านเพิ่มขึ้น 6 ราย รวมเป็น 2,916 ราย ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 68 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม ผู้เสียชีวิตสะสมเท่าเดิม 56 ราย 
    สำหรับผู้ป่วยรายใหม่เป็นคนไทยที่กลับจากต่างประเทศ อยู่ใน State Quarantine จำนวน 2 ราย และเป็นผู้ป่วยที่ไปสถานที่ชุมชน 1 ราย ผู้ที่ไปสถานที่ชุมชนเป็นชายสัญชาติอิตาลี อายุ 49 ปี อาศัยอยู่ที่ จ.ภูเก็ต เข้ารับการตรวจหาเชื้อในวันที่ 22 พ.ค. ไม่มีอาการ    
    ส่วนผู้ป่วยที่กลับจากต่างประเทศ เป็นชายไทยอายุ 24 ปี นักศึกษา เดินทางกลับจากประเทศอียิปต์เมื่อวันที่ 8 พ.ค. เข้าพัก State Quarantine จ.ชลบุรี และวันที่ 9 พ.ค. มีอาการไข้ ไอ และท้องเสีย พร้อมเข้ารับการตรวจหาเชื้อ แต่ไม่พบเชื้อ และตรวจหาเชื้อใหม่ครั้งที่ 2 แล้วพบเชื้อในวันที่ 20 พ.ค.2563 กับผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 43 ปี พนักงานสปา เดินทางกลับจากประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 17 พ.ค. เข้าพัก State Quarantine จ.ชลบุรี และวันที่ 9 พ.ค. มีอาการไข้ ไอ ปวดศีรษะ คลื่นไส้และไม่ได้กลิ่น พร้อมเข้ารับการตรวจหาเชื้อแล้วพบเชื้อในวันที่ 21 พ.ค.2563
    พญ.พรรณประภากล่าวด้วยว่า หลังจากการประกาศเคอร์ฟิว มีมาตรการผ่อนคลายระยะที่ 1 และ 2 จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ยังเป็นตัวเลขตัวเดียว อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจ อย่างไรก็ตาม ต้องขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนในการป้องกันการติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการสวมหน้ากากอนามัย การรักษาระยะห่างทางสังคม การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์เป็นประจำ เพื่อให้เราเข้าสู่มาตรการผ่อนคลายระยะที่ 3 และ 4 ต่อไปได้
    สำหรับสถานการณ์ติดเชื้อในสถานที่กักกันของรัฐ ตั้งแต่ ก.พ. -23 พ.ค.2563 จำนวนทั้งสิ้น 104 ราย เพศชายมากกว่าหญิง อัตราป่วยในกลุ่มผู้เข้ากักโรค 0.43 เปอร์เซ็นต์ มีผู้ป่วยติดเชื้อจากต้นทางมากที่สุดคือประเทศอินโดนีเซีย ปากีสถาน คาซัคสถาน ส่วนจำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสมทั้งหมด จำแนกตามปัจจัยเสี่ยง 2 สัปดาห์ล่าสุด มากที่สุดเป็นผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างประเทศ และเข้า State Quarantine จำนวน 17 ราย สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยก่อนหน้า 10 ราย ไปสถานที่ชุมชน 5 ราย อาชีพเสี่ยง 3 ราย ค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก 1 ราย
    ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงวิถีชีวิต​ใหม่ในระบบการแพทย์ฉุกเฉินว่า ในระหว่างการแพร่ระบาด​ของเชื้อโรค​โควิด-19 ได้มีปรับเปลี่ยนระบบทางการแพทย์หลายอย่างเพื่อความให้มีปลอดภัย โดยการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน แต่เดิมจะมีทั้งผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้ป่วยไม่ฉุกเฉินเข้ามาที่โรงพยาบาล ทำให้สมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยลดลง เพราะว่าผู้ป่วยฉุกเฉินมีจำนวนมาก ทำให้เกิดความแออัดในห้องฉุกเฉิน จะทำให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ไม่ปลอดภัย อาจจะมีผู้ป่วยหรือญาติที่ติดเชื้อโควิด-19 เข้ามา  
    อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพห้องฉุกเฉิน โดยมีระบบของการคัดกรอง เพื่อคัดกรองผู้ป่วยที่ไม่ฉุกเฉินมารับบริการตามนัด แล้วให้ผู้ป่วยฉุกเฉินเข้าไปสู่กลไกของโรงพยาบาลในห้องฉุกเฉินในการรับบริการตามความรุนแรงของผู้ป่วย เพื่อได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีและเหมาะสม นอกจากนี้ยังต้องลดความเสี่ยงและหัตถการที่ก่อให้เกิดฝุ่นละออง เพื่อลดการแพร่กระจายของโรค ทั้งนี้ ถ้านำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อจัดการระบบให้บริการประชาชน ก็จะทำให้สิ่งนี้เป็นวิถีชีวิตใหม่ในห้องฉุกเฉิน
    นพ.ณรงค์กล่าวว่า แม้ประชาชนเจ็บป่วยด้วยโรคโควิด-19 ลดลง แต่ในส่วนของการเตรียมการในการดูแลผู้ป่วย ในการเตรียมอุปกรณ์ความพร้อมต่างๆ ที่จะรองรับการแพร่ระบาดของโรคในระลอกที่ 2 เราได้เตรียมอย่างเต็มที่ในเรื่องของความปกติใหม่นั้นได้กลับมาให้บริการในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเร่งด่วนระดับรองลงมา เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งขณะนี้ผู้ป่วยกลุ่มนี้กลับเข้ามาในโรงพยาบาล ทั้งนี้ ได้มีการปรับการจัดกลุ่มผู้ป่วย ถ้ากลุ่มผู้ป่วยนอกที่ดูแลตัวเองได้ อาจจะส่งยาไปทางไปรษณีย์หรือการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีการพบหมอทางออนไลน์ ซึ่งเป็นความปลอดภัยทั้งผู้ป่วยและญาติเพื่อลดการสัมผัสการติดเชื้อในโรงพยาบาล ส่วนผู้ป่วยที่มีความจำเป็นที่จะต้องมารับการรักษาในโรงพยาบาลต่างๆ ได้มีการเปลี่ยนระบบต่างๆ ทั้งในห้องผ่าตัดการเข้าออกในหอห้องผู้ป่วยในก็เช่นกัน 
    "สำคัญที่สุดคือมาตรการในการคัดกรองความเสี่ยง ถ้าความเสี่ยงลดลง ก็จะสามารถดำเนินการทำหัตถการต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยลดความเสี่ยงของตัวเองลงไป โดยขณะนี้การแพร่ระบาดของโรคทำให้เราเปลี่ยนวิถีชีวิตและการดูแล โดยให้ความมั่นใจว่าเรากำลังค่อยๆ กลับมาดูแลผู้ป่วยในทุกกลุ่มเพื่อลดผลกระทบทางด้านสุขภาพของประชาชน"
    นพ.ณรงค์กล่าวว่า นอกจากนี้ การที่ญาติจะเข้าเยี่ยมผู้ป่วยในโรงพยาบาล โรงพยาบาลจะประเมินความเสี่ยงของแต่ละคนตามกลไกคัดกรอง ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัส หรือประวัติการไปในพื้นที่เสี่ยง อีกทั้งกำหนดจำนวนและระยะเวลาผู้เยี่ยม โดยขอให้แต่ละคนปฏิบัติตามข้อกำหนดของโรงพยาบาล เพื่อลดความเสี่ยงที่จะไปสัมผัสผู้ป่วยซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง
    ด้าน นพ.เฉลิมพล ไชยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์เขตสุขภาพที่ 10 โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กล่าวถึงขั้นตอนในการให้บริการในห้องฉุกเฉินว่า ช่วงก่อนที่โควิด-19 จะมีการแพร่ระบาด จุดคัดกรองเป็นจุดที่สำคัญที่สุดในห้องฉุกเฉิน ได้มีการแยกลำดับความฉุกเฉินของผู้ป่วยในการให้รักษาพยาบาลมีการออกันของประชาชนเป็นจำนวนมาก แต่หลังจากมีการแพร่ระบาด ห้องฉุกเฉินทุกที่ปรับตัวทันทีในการที่จะรับสถานการณ์ จะเห็นได้ชัดว่าจุดคัดกรองมีแบริเออร์กั้นอยู่ เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยสัมผัสถูกต้องเนื้อต้องตัว เว้นระยะห่างทางสังคม บุคลากรทางการแพทย์มีการใส่ชุดป้องกันที่เหมาะสม เพราะพยาบาลคัดกรองจะเป็นผู้ที่เจอผู้ป่วยคนแรกที่เข้าห้องฉุกเฉิน 
    ในส่วนของอุปกรณ์ในโรงพยาบาล โดยเฉพาะเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษาตามห้องต่างๆ ได้มีการป้องกันโดยใช้เตียงความดันลบ เพื่อไม่ให้เชื้อเล็ดลอดออกไปสู่ภายนอก ส่วนการรับผู้ป่วยจากที่บ้าน ได้มีการปรับเปลี่ยนรถพยาบาลให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รวมถึงการให้บุคลากรทางการแพทย์ที่ไปรับผู้ป่วยใส่ชุดป้องกันทุกครั้ง.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"