คณบดีสังคมวิทยาฯ ชำแหละยับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน


เพิ่มเพื่อน    

23 พ.ค.63 - นายอนุสรณ์ อุณโณ คณบดี คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  โพสต์เฟซบุ๊ก โดยมีเนื้อหาดังนี้

รัฐประหารไวรัส

ศบค. มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของ สมช. ในการขยายการบังคับใช้ พรก.ฉุกเฉิน ต่อไปอีก 1 เดือนภายใต้เหตุผลว่าจะช่วยให้การรับมือการระบาดที่อาจจะเพิ่มมากขึ้นจากการผ่อนคลายมาตรการระยะ 3 และ 4 เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีเอกภาพ รวมทั้งเพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดประเทศขณะที่สถานการณ์การระบาดในโลกยังไม่สิ้นสุด

แต่ปัญหาก็คือ พรก.ฉุกเฉิน เป็นกฎหมายที่มีไว้สำหรับแก้ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน ไม่ใช่ที่คาดว่าอาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะการบังคับใช้กฎหมายประเภทนี้มี “ต้นทุน” สูง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของหลักการตรวจสอบและถ่วงดุลและการพร้อมรับผลในการใช้อำนาจ หรือในเรื่องของสิทธิเสรีภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน การอ้างเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตสำหรับการต่ออายุ พรก.ฉุกเฉิน ของ ศบค./สมช. จึงผิดหลักการของการใช้ พรก.ฉุกเฉิน ตั้งแต่ต้น และจะก่อให้เกิดผลกระทบตามมาในระดับที่ไม่คุ้ม “ราคา” ที่ต้องจ่าย อีกทั้งยังไม่สามารถเรียกเก็บได้จากคนที่ก่อให้เกิดผลกระทบ

ขณะเดียวกันการคาดคะเนของ สมช./ศบค. มีความเป็นไปได้ต่ำ เพราะสถิติที่ผ่านมาโดยเฉพาะการผ่อนคลายมาตรการระยะที่ 1 ไม่ได้ส่งผลให้การระบาดรุนแรงขึ้น เรามีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันเป็นหลักหน่วยต่อเนื่องมากว่า 20 วัน เป็นเลข 0 มาแล้ว 3 วัน และไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มมาแล้วหลายวัน อีกทั้งการติดเชื้อส่วนใหญ่ก็อยู่ในเงื่อนไขหรือสภาพแวดล้อมเฉพาะ ไม่ใช่การใช้ชีวิตปกติทั่วไป นอกจากนี้ การคาดคะเนของ สมช./ศบค. ยังเป็นไปอย่างกว้างและหลวม ไม่ได้ชี้ให้เห็นอย่างจำเพาะเจาะจงว่าการผ่อนคลายในกิจกรรมใดที่ไม่ว่าจะใช้มาตรการป้องกันไหนก็จะเป็นเหตุให้เกิดการระบาดระลอกใหม่จนกลายเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน

นอกจากนี้ แม้การผ่อนคลายมาตรการอาจก่อให้เกิดการระบาดเพิ่มขึ้น แต่ในเบื้องต้นก็สามารถอาศัยกฎหมายปกติอย่าง พรบ.โรคติดต่อ ในการแก้ปัญหาได้ และที่ผ่านมาแม้มีการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน แต่การแก้ปัญหาในระดับจังหวัดส่วนใหญ่ก็อาศัยกลไกและอำนาจภายใต้ พรบ.โรคติดต่อ โดยเฉพาะในตอนนี้ที่ 50 จังหวัดไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่มากว่า 1 เดือน และการติดเชื้อเพิ่มส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเงื่อนไขหรือสภาพแวดล้อมเฉพาะ ก็ควรใช้กลไกและมาตรการที่ตอบสนองต่อความจำเพาะของแต่ละพื้นที่และผู้คนภายใต้ พรบ.โรคติดต่อ มากกว่าจะใช้กลไกและมาตรการที่รวมศูนย์และไม่จำแนกแยกแยะภายใต้ พรก.ฉุกเฉิน

ประการสำคัญ การอ้างว่าปัญหาการระบาดเกี่ยวข้องกับกฎหมาย 40 ฉบับ หากไม่ใช้ พรก.ฉุกเฉิน รวบให้มาอยู่ภายใต้อำนาจนายกรัฐมนตรีก็จะไม่สามารถแก้ได้ นอกจากจะเป็นการอ้างปัญหาระบบราชการไทยอย่างมักง่าย ยังสะท้อนให้เห็นถึงการไม่สามารถประสานความร่วมมือระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลในการแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นสาธารณสุข พาณิชย์ มหาดไทย หรือต่างประเทศ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการชี้ให้เห็นว่าพลเอกประยุทธ์ไม่สามารถธำรงความเป็นผู้นำเหนือพรรคร่วมรัฐบาลในฐานะนายกรัฐมนตรีในการแก้ปัญหาการระบาดได้ จึงต้องอาศัย พรก.ฉุกเฉิน ก่อ "รัฐประหาร" แล้วตั้ง ศบค. ที่ตนเองเป็นผู้อำนวยการและมีฝ่ายความมั่นคง เช่น สมช. เป็นกลไกหลัก แทนรัฐบาลที่ถูกริบอำนาจและบทบาทหน้าที่ไปอย่างสิ้นเชิง

ไวรัสเป็นโรคที่มาแล้วก็จากไป แต่ได้สร้างเงื่อนไขให้สังคมและการเมืองไทยต้องจมปลักอยู่กับรัฐประหารต่อไปไม่สิ้นสุด.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"