ระดมพลังคนจนเมืองทำ ‘ครัวชุมชน’ สู้พิษเศรษฐกิจ-โควิด แจกจ่ายข้าว-อาหารกว่า 1 แสนกล่อง


เพิ่มเพื่อน    

(ครัวกลางที่ชุมชนบ้านมั่นคงสวนพลู เขตสาธร กรุงเทพฯ นำาอาหารไปแจกพี่น้องชุมชนอื่นๆ ด้วย)

 

     แม้ว่าขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะลดน้อยลง และรัฐบาลมีมาตรการผ่อนคลายให้ภาคธุรกิจเอกชน ห้างร้านน้อยใหญ่ และประชาชนทั่วไปทำมาหากินได้มากขึ้น แต่พิษเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากสถานการณ์โควิดยังแผ่กระจายไปทั่ว คนจน คนจร คนหาเช้ากินค่ำต่างได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า  โดยเฉพาะเรื่องปากท้อง  เรื่องความหิวที่ไม่เคยปราณีใคร

     ขณะที่ในอีกด้านหนึ่ง กลุ่มคนจนในเมืองได้ร่วมกันจัดทำ ‘ครัวชุมชน’ เพื่อทำอาหารขึ้นมา โดยการระดมทุนจากชุมชน การสมทบจากภาคเอกชนและหน่วยงานรัฐ  นำข้าวสาร อาหารสด-แห้งมาหุงหา ช่วยกันต้มยำทำแกงต่างๆ เช่น  แกงส้ม แกงเขียวหวาน ไข่พะโล้ ต้มจืด ผัดพริก ผัดกะเพรา ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ กระเพาะปลา ฯลฯ  แจกจ่ายกันกิน รวมทั้งยังมี ‘ตู้ปันสุข-ปันน้ำใจ’ ผุดขึ้นที่โน่น...ที่นี่ กระจายไปทั่วบ้านทั่วเมือง สะท้อนให้เห็นถึงความงดงาม ในยามทุกข์ยากของสังคมไทย

 

เปิด ‘ครัวและธนาคารอาหารชุมชน’

     เครือข่ายองค์กรชุมชนสู้ภัยโควิด-19  เกิดจากการรวมตัวของพี่น้องเครือข่ายองค์กรชุมชนทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 200  ชุมชน  ได้จัดทำโครงการ ‘ครัวและธนาคารอาหารชุมชน’ ขึ้นมา ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ให้ชุมชนที่มีความพร้อมจัดตั้งครัวเพื่อผลิตข้าวกล่องหรืออาหารต่างๆ แจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมาย (ระยะแรก) ภายในเดือนพฤษภาคมนี้ จำนวน 110,000 กล่อง มีครัวรวม 44 จุด ผลิตอาหารแจกจ่ายให้แก่ประชาชนในกรุงเทพฯ และนนทบุรีรวม  254  ชุมชน

     ชุมชนที่จะทำครัวและแจกจ่ายอาหาร เช่น ชุมชนสิตาราม เขตป้อมปราบ ชุมชนบ้านครัว เขตราชเทวี ชุมชนเฟื่องฟ้า เขตประเวศ ชุมชนซอยสวนพลู เขตสาธร ชุมชนริมทางรถไฟ เขตคลองเตย ชุมชนเชื้อเพลิงพัฒนา เขตยานนาวา  ชุมชนรุ่งมณี เขตวังทองหลาง ชุมชนบางนา เขตบางนา ชุมชนลัดภาชีและศิรินทร์ฯ เขตภาษีเจริญ ชุมชนกองขยะ เขตหนองแขม ชุมชนริมคลองลาดพร้าว เขตจตุจักร เขตบางเขน ชุมชนวัดกู้ จังหวัดนนทบุรี ฯลฯ

     แต่ละชุมชนที่จัดทำครัวจะมีแม่ครัวอาสาสมัครในแต่ละชุมชนช่วยกันจัดเตรียม ทำอาหาร และแจกจ่ายในชุมชน  โดยให้ชาวบ้านนำถ้วยจานมาใส่เอง เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติก ส่วนครัวที่ทำอาหารแจกจ่ายให้แก่ชุมชนอื่นๆ จะตักแบ่งใส่ถุงหรือกล่องโฟม บางครัวทำอาหารวันละ 1 มื้อทุกวัน บางครัวทำสัปดาห์ละ 1-2 วัน ส่วนใหญ่ทำครั้งละ 300-500 กล่อง  จนถึงสูงสุดครั้งละ 1,050 กล่อง (ชุมชนบึงพระราม 9 เขตห้วยขวาง และชุมชนร่วมมิตรแรงศรัทธา เขตดอนเมือง)

     นอกจากนี้ยังจัดทำครัวที่ศูนย์ฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพคนไร้บ้านในจังหวัดต่างๆ คือ กรุงเทพฯ (ศูนย์สุวิทย์ วัดหนู) ศูนย์คนไร้บ้าน จ.ปทุมธานี บ้านเตื่อมฝัน จ.เชียงใหม่ และบ้านโฮมแสนสุข จ.ขอนแก่น เพื่อแจกจ่ายอาหารให้แก่ผู้ที่พักพิงในศูนย์คนไร้บ้านและนอกศูนย์ประมาณ 500 คน 

     เฉพาะที่ศูนย์คนไร้บ้านสุวิทย์ วัดหนู เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ปัจจุบันมีผู้อยู่อาศัยประมาณ 80 คน จัดทำอาหารให้คนไร้บ้านวันละ 2 มื้อ  และปันน้ำใจเอาไปแจกจ่ายให้คนไร้บ้านที่อยู่อาศัยในที่สาธารณะนอกศูนย์ฯ  อีกประมาณ 50-60 คน รวม  300 กล่อง/วัน  โดยได้รับบริจาคข้าวสาร  อาหารสดแห้ง  จากภาคเอกชน  และหน่วยงานต่างๆ เช่น  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) 

 

บ้านมั่นคงสวนพลูทำอาหารเดือนละ 8,000 กล่อง

     พรทิพย์ วงศ์จอม ผู้นำชุมชนบ้านมั่นคงสวนพลู เขตสาธร เล่าความเป็นมาของชุมชนว่า ชาวชุมชนสวนพลูส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อย หาเช้ากินค่ำ เช่น ค้าขายทั่วไป ทำงานรับจ้าง ขับแท๊กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ฯลฯ เดิมมีผู้อยู่อาศัยกว่า 1,000 ครัวเรือน ประมาณ  5,000 คน เป็นที่ดินราชพัสดุ ในเดือนเมษายนปี 2547 เกิดเหตุไฟไหม้ชุมชน  บ้านเรือนเสียหายเกือบทั้งหมด  

     ต่อมาชุมชนได้รวมตัวกันทำโครงการ บ้านมั่นคง’ โดยเช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์อย่างถูกต้อง  เนื้อที่ประมาณ 6 ไร่เศษ  เพื่อสร้างบ้านใหม่ ได้รับการสนับสนุนเรื่องงบสาธารณูปโภคและสินเชื่อจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  เริ่มสร้างบ้านเสร็จในปี 2550  รวมทั้งหมด  249  ครัวเรือน  ส่วนใหญ่เป็นบ้านแถว  2 ชั้น  (อีกส่วนหนึ่งไปอยู่บ้านเอื้ออาทรของการเคหะแห่งชาติ) เมื่อมีบ้านใหม่ มีความมั่นคงแล้ว  ชาวชุมชนยังทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน  เช่น  มีกลุ่มออมทรัพย์  มีสหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคง  มีกองทุนสวัสดิการชุมชน ทำกิจกรรมเด็กและเยาวชน  ต่อต้านยาเสพติด  และใช้ที่ว่างในชุมชนปลูกผักแบ่งกันกิน

      “เมื่อเกิดผลกระทบจากโควิดในปีนี้  มีคนตกงาน ไม่มีรายได้เป็นร้อยๆ คนในชุมชน  พวกเราจึงคิดเรื่องทำอาหารช่วยเหลือกันขึ้นมา  โดยเริ่มระดมเงินจากชาวบ้านเอง  หลังจากนั้นจึงมีมูลนิธิคริสต์จักรในย่านสวนพลูนำเงินมาสมทบ  เริ่มทำครัวตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน  นอกจากนี้ยังมีผู้บริจาคเอาข้าวสาร  อาหารมาสมทบ  เช่น  เนื้อวัว  หมู  ไก่   ปลาแห้ง  ใช้ผักที่ปลูกเองบ้าง  ทำแจกกันวันละ 1 มื้อ  บางวันก็เป็นผัดผักบุ้ง  ผัดคะน้า  เป็นแกงต่างๆ หรือทำหมูทอด  เนื้อทอด พร้อมข้าวสวย บางวันทำน้ำพริก แจกข้าวสาร แล้วแต่จะมีใครเอาอะไรมาบริจาค แต่ถือว่าช่วยแบ่งเบาภาระของชาวบ้านไปได้เยอะ” ผู้นำชุมชนบ้านมั่นคงสวนพลูบอก 

(ทีม ‘มอไซค์แว้น’ (รุ่นใหญ่) จากชุมชนบ้านมั่นคงสวนพลูเอาอาหารไปแจกชุมชนใกล้เคียง

ใช้ ‘โควิด’ เป็นเครื่องมือรวมพลังชุมชน

     ชุมชนบ้านมั่นคงสวนพลู  ถือเป็นตัวอย่างของชุมชนในเมืองที่จัดทำครัวเพื่อช่วยเหลือชาวชุมชนที่เดือดร้อน เน้นกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบ เช่น ตกงาน ผู้สูงอายุ พิการ คนป่วย เด็ก ฯลฯ และยังแบ่งปันไปยังชุมชนใกล้เคียง  เช่น  ชุมชนบ้านเอื้ออาทรสวนพลู  ชุมชนหน้าสมาคมธรรมศาสตร์  ทำอาหารแจกครั้งละ 400 กล่อง (คน) ต่อครั้ง โดยเดือนหนึ่งจะทำ  20 วัน หากมีผู้บริจาคหรือมีอาหารมาสมทบก็จะทำเพิ่มเป็นเกือบทุกวัน  รวมแล้วไม่ต่ำกว่าเดือนละ 8,000 กล่อง

     สมสุข  บัญญะบัญชา  ประธานคณะอนุกรรมการบ้านมั่นคง  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  กล่าวว่า  โครงการบ้านมั่นคงเป็นโครงการที่ชุมชนและชาวบ้านที่เดือดร้อนเป็นเจ้าของโครงการ ส่วนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  สนับสนุนงบประมาณและความรู้  ทำให้ชาวชุมชนมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง และเมื่อแก้ไขปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยแล้ว ยังทำเรื่องอื่นๆ  เช่น  สวัสดิการชุมชน  การพัฒนาคุณภาพชีวิต  ฯลฯ

“เมื่อเกิดปัญหาโควิด ชุมชนที่ทำเรื่องบ้านมั่นคง  รวมทั้งชุมชนผู้มีรายได้น้อยต่างๆ  จึงทำเรื่องครัวชุมชนขึ้นมา  เพื่อช่วยเหลือกันในช่วงนี้ และจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในระยะยาว รวมทั้งปัญหาเรื่องอื่นๆ ต่อไป โดยใช้เรื่องโควิดเป็นเครื่องมือ เพื่อรวมคนมาทำงานช่วยเหลือกัน” สมสุขกล่าว

รวมน้ำใจสู้ภัยโควิด-19

     นอกจากการระดมทุนของชาวชุมชนเพื่อจัดทำครัวแล้ว  น้ำใจจากภาคเอกชนยังหลั่งไหลเข้ามาสมทบการจัดทำครัวในครั้งนี้ด้วย โดยมอบเงิน ข้าวสาร สิ่งของ ผ่านสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ เพื่อนำไปมอบให้เครือข่ายองค์กรชุมชนสู้ภัยโควิด-19  และกระจายสู่ชุมชนต่างๆ  เช่น  เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม กลุ่มนิสิตเก่า น้องใหม่จุฬาฯ รุ่น 2514  มอบข้าวสารและเงิน รวม 331,000 บาท โครงการปันกันกิน โดยเครือข่ายเพื่อนปลูกเพื่อนกินมอบข้าวสารหอมมะลิอินทรีย์  จำนวน  3,500 กิโลกรัม บริษัทน้ำตาลมิตรผล จำกัด มอบแอลกอฮอล์เพื่อใช้ล้างมือ จำนวน 600 ลิตร

     นอกจากนี้เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ภาคเอกชนและหน่วยงานต่างๆ ได้มอบความช่วยเหลือการ จัดทำครัวให้แก่  นายจุติ  ไกรฤกษ์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อนำไปมอบให้แก่ชุมชนต่างๆ ต่อไป เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) มอบงบประมาณสนับสนุน ตัวแทนเครือข่ายชาวนาจังหวัดยโสธร มอบข้าวสาร 3.5 ตัน บริษัท TESCO LOTUS และบริษัท  เจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) มอบผักสด ไก่สด ข้าวกล่อง บริษัทหยั่นหว่อหยุ่น มอบเครื่องปรุงอาหาร บริษัท เอช เค ฟาร์มาซูติคอล จํากัด มอบยาสามัญประจำบ้าน สถาบันพระปกเกล้า มอบอาหารสุขภาพ  ฯลฯ 

     ทั้งนี้หน่วยงานและบุคคลที่จะสมทบเงิน อาหารสด-แห้ง เพื่อใช้จัดทำครัวชุมชน หรือสิ่งของเพื่อป้องกันไวรัส COVID  ได้ที่ ธนาคารกรุงไทย บัญชีเลขที่ 095-0-23881-3 ชื่อบัญชี เครือข่ายองค์กรชุมชนสู้ภัยโควิด

(แปลงผักของเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนเขตวังทองหลางใช้ที่ดิน 400 ตารางวาปลูกผักต่างๆ)

สภาองค์กรชุมชนวังทองหลาง-ชุมชนเฟื่องฟ้าสร้างแหล่งอาหารระยะยาว

     นุชจรี  พันธ์โสม  เลขานุการสภาองค์กรชุมชนเขตวังทองหลาง  เล่าว่า  ชุมชนตั้งอยู่ในย่านวัดเทพลีลา (ใกล้ ม.รามคำแหง)  ร่วมกันจัดตั้ง ‘สภาองค์กรชุมชนเขตวังทองหลาง’ ขึ้นมา  มีสมาชิก 20 ชุมชน  จำนวน 5,294  ครัวเรือน  ประชากรประมาณ  27,000  คน  ส่วนให­่เป็นผู้มีรายได้น้อย  หาเช้ากินค่ำ  มีอาชีพขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง  ลูกจ้างร้านอาหาร  ผับ  บาร์  และรับจ้างทั่วไป  ได้รับผล

     กระทบในช่วงโควิด  เนื่องจากถูกเลิกจ้าง  พักงาน  หรือมีรายได้ลดลง 

สภาองค์กรชุมชนฯ จึงให้สมาชิกแต่ละชุมชนสำรวจข้อมูล   พบผู้เดือดร้อนประมาณ  1,300 คน  จึงจัดทำครัวกลางเพื่อช่วยเหลือพี่น้องชาวชุมชนที่ได้รับผลกระทบ  โดยจัดทำข้าวกล่องแจกตั้งแต่ช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา  ครั้งละ 400-500 กล่อง   ใช้งบประมาณเริ่มแรกจากกองทุนสวัสดิการชุมชน (กองทุนวันละบาทที่สมาชิกสมทบเงินเข้ากองทุนเพื่อนำมาช่วยเหลือกัน  ก่อตั้งในปี 2551 ปัจจุบันมีเงินกองทุนประมาณ 3 ล้านบาท) และเงินสนับสนุนจากสภาองค์กรชุมชนเขตวังทองหลาง  รวมทั้งหมดประมาณ  130,000 บาท  

     “การทำครัวกลางจะช่วยแก้ปัญ­หาได้เฉพาะหน้า  แต่ไม่ยั่งยืน  เราจึงคิดว่าชุมชนควรจะสร้างแหล่งอาหาร  เพราะเรามีพื้นที่อยู่แล้วเป็นที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์  เนื้อที่  400 ตารางวา  จึงเริ่มปลูกผักตั้งแต่เดือนมีนาคม  มีผักบุ้ง  คะน้า  กวางตุ้ง  เป็นผักอินทรีย์  ตอนนี้เก็บเอามาทำกับข้าวได้แล้ว  และเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์อีก 6 บ่อ  แต่ตอนนี้คงจะไม่เพียงพอ  เพราะมีผู้เดือดร้อนเพิ่มมากขึ้นเป็น 2,000 คน  ฉะนั้นทุกครัวเรือนจะต้องช่วยกันสร้างแหล่งอาหาร  คืออย่างน้อยต้องปลูกผักกินเอง”  เลขาฯ สภาองค์กรชุมชนเขตวังทองหลางบอก

     นุชจรีบอกด้วยว่า  แม้จะมีพื้นที่เล็กน้อย  แต่ก็สามารถปลูกผักสวนครัวในกระถาง  ตะกร้า  หรือสวนครัวแนวตั้ง  ถ้าทำทุกครัวเรือนก็จะเพียงพอ ถ้าขาดเหลือ  เช่น  มีผัก  แต่ไม่มีน้ำมันจะผัดก็มาเอาที่ส่วนกลางเรามีให้  โดยสภาฯ จะแจกเมล็ดพันธุ์ให้ทุกครัวเรือนไปปลูก  เช่น  ถั่วงอก  ทานตะวัน  ใช้เวลาประมาณ 7 วันก็เอาถั่วงอกหรือต้นอ่อนทานตะวันมาทำอาหารกินได้ 

     นอกจากนี้สภาฯ ยังมีแผนจะส่งเสริมเรื่องกลุ่มอาชีพเพื่อให้คนที่ว่างงาน  กลุ่มแม่บ้าน  มีรายได้  เช่น  เย็บผ้า  หรือทำอาหารขาย  เชื่อมโยงกับเครือข่ายบ้านมั่นคงทั่วประเทศ  ค้าขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้ากันทางออนไลน์   ส่วนในกรุงเทพฯ  เรามีมอเตอร์ไซค์รับจ้างในชุมชนอยู่แล้ว  สามารถใช้รับส่งสินค้าหรืออาหารได้   และจะสนับสนุนให้แต่ละครัวเรือนทำบั­ญชีรับ-จ่าย  เพื่อให้รู้รายจ่ายที่ไม่

จำเป็นและตัดออกไป

(ผลผลิตจากสวนครัวชุมชนเฟื่องฟ้า เขตประเวศ)

     ผุสดี  ปั้นเลิศ  ผู้นำชุมชนเฟื่องฟ้า  เขตประเวศ  บอกว่า  ชุมชนเฟื่องฟ้ามี 85 ครัวเรือน  ประชากรเกือบ 300 คน  มีพื้นที่ว่างในชุมชนประมาณ 30 ตารางวา  จึงใช้ทำสวนครัว  ปลูกผักต่างๆ  ไม่ใช้สารเคมี  ตั้งแต่เมื่อ 3 ปีก่อน  เช่น  คะน้า  กวางตุ้ง  ผักกาด  ผักบุ้ง  บวบ  มะเขือ  มะละกอ  ตะไคร้  พริก  มะนาว  ฯลฯ  เมื่อมีสถานการณ์โควิดจึงเอาผักมาแจกชาวบ้าน  และเอาผักมาทำครัวกลาง  ตอนแรกใช้เงินจากการระดมทุนกันเองของชาวบ้านที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล (เงินเยียวยา 5,000 บาท)  ช่วยกันคนละ 300-500 บาท  ได้เงินประมาณ 40,000 บาท  เอามาเป็นทุนทำครัวกลาง  บางคนก็เอาข้าวสาร  เอาไข่ไก่มาช่วย

     “ตอนแรกเราทำอาหารแจกเฉพาะคนที่เดือดร้อนในชุมชนก่อน  เมื่อได้รับบริจาคข้าวสาร  อาหารแห้งจากเอกชน  และ พอช.ช่วยสนับสนุนงบประมาณ  ตอนนี้เราทำแจกชุมชนอื่นๆ  ในเขตประเวศด้วย  รวมทั้งหมด 10 ชุมชน  ทำอาทิตย์ละ 2 ครั้ง  ครั้งละ 500 ถุง  เน้นเป็นกับข้าว  หรือแกง  เพื่อให้กินกันได้หลายคน  แบ่งกันกินก่อนในช่วงนี้  แม่ซดน้ำแกง  ลูกกินเนื้อ  และแจกสลับกันไป  เพื่อให้ทั่วถึงกันทุกคน...ส่วนเมนูเด็ดของเราก็คือ  แกงคั่วเนื้อใส่มะเขือพวง  รสชาติอร่อย  เข้มข้นเพราะใช้กะทิคั้นเอง  และแม่ครัวเป็นคนทำอาหารขายอยู่แล้ว  แกงคั่วเนื้อของเราจึงอร่อย”  ผุสดีบอก

     อย่างไรก็ตาม  นอกจากการสร้างแหล่งอาหารในชุมชนในเขตวังทองหลางและชุมชนเฟื่องฟ้าแล้ว  ขณะนี้มีหลายชุมชนที่ใช้พื้นที่ว่างในชุมชนเป็นแปลงปลูกผักต่างๆ  เช่น  ชุมชนบ้านมั่นคงสวนพลู  เขตสาธร  ชุมชนมั่นคง  133  เขตบางบอน  (เพาะเห็ดต่างๆ)  ชุมชนวัดกู้  จ.นนทบุรี ฯลฯ  ถือเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ  แต่หากทุกครัวเรือน  ทุกชุมชน  ช่วยกันปลูก  อย่างน้อยๆ ก็ยังมีผักแบ่งปันกันกิน  จะผัด  จะแกงก็ปลอดภัยจากสารเคมี  แถมยังประหยัดเงินได้อีกไม่น้อย...

‘ตู้ปันสุข-ตู้กับข้าว’ จากคนจนถึงคนที่ยากลำบากกว่า

     ‘ตู้ปันสุข’ ไม่ว่าจะมีจุดเริ่มต้นมาจากที่ไหน  เริ่มจากใคร  แต่วันนี้เมล็ดพันธุ์แห่งความดีได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศไทยทั้ง 77 จังหวัด  ไม่ต่ำกว่า  800 ตู้  ในจำนวนนี้มีตู้ปันสุข-ตู้กับข้าวที่เกิดจากความปรารถนาดีของพี่น้องคนจนในชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศที่เผื่อแผ่ไปถึงผู้ที่ได้รับความยากลำบากกว่า  เช่น  ที่จังหวัดสุรินทร์

     สุดใจ  มิ่งพฤกษ์   ผู้ประสานงานเครือข่ายพัฒนาเมืองสุรินทร์  บอกว่า  ช่วงเกิดโควิดใหม่ๆ  พี่น้องชุมชนก็มาช่วยกันทำหน้ากากอนามัย  โดยเอาเงินจากกองทุนต่างๆ ที่มีอยู่  เช่น  กองทุนสวัสดิการชุมชน  กลุ่มออมทรัพย์  กองทุนรักษาดินรักษาบ้าน  ฯลฯ

เอามาซื้อของช่วยกันทำหน้ากากอนามัย  ทำเจลล้างมือ  หลังจากนั้นก็เอาไปซื้อข้าวสาร  อาหารแห้ง  แจกคนที่เดือดร้อนก่อน  ครอบครัวละ 5 กิโลกรัม  บางครอบครัวลำบากมาก  พอได้ข้าวสารก็ร้องไห้เลย  เพราะไม่คิดว่าพี่น้องคนจนด้วยกันจะมีน้ำใจมาช่วยเหลือกัน  ช่วงนั้นเครือข่ายฯ ซื้อข้าวสารแจกเกือบ 6,000 กิโลกรัม  คิดเป็นเงินนับแสนบาท หลังจากนั้นทางผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์จึงเข้ามาช่วยสนับสนุน

     “ต่อมาเราจึงเริ่มทำตู้กับข้าว  เอาข้าวสาร  อาหารแห้งมาใส่ตู้   ตอนแรกเราคิดว่าพอเอากับข้าวไปใส่ตู้  ไม่นานก็คงจะหมด  บางคนบอกว่าแม้แต่ตู้ก็คงจะไม่เหลือ  แต่มันไม่เป็นไปตามนั้น  เพราะบางคนพอได้ปลากระป๋องก็เอาไปทำเป็นกับข้าว  ทำน้ำพริกปลากระป๋อง  แล้วเอามาใส่ตู้  เอามาเผื่อคนที่ไม่มีบ้าน ไม่มีครัวจะทำอาหาร  เพราะถ้าได้ปลากระป๋อง  ได้ไข่  ได้บะหมี่ซอง  เขาก็ไม่รู้จะเอาไปทำกินอย่างไร  เพราะบางคนอาศัยนอนตามศาลาริมถนน  ตามที่สาธารณะ ตอนนี้ตู้กับข้าวของเราก็จะมีของที่กินได้เลย  เช่น  ก๋วยเตี๋ยวแห้ง  บะหมี่แห้ง  ข้าวผัด  ข้าวผัดกะเพรา  วันละ 20-30 ห่อ  มีน้ำดื่ม เพื่อให้คนที่ยากลำบากได้เอาไปกิน”  สุดใจบอกและว่า...

     ตอนนี้ในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์มีตู้ปันน้ำใจรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 10 จุด  โดยมีตู้กับข้าวของเครือข่ายพัฒนาเมืองสุรินทร์กระจายอยู่ 3 จุด  แบ่งปันอาหารให้คนจน  คนจร  คนเก็บขยะ  คนถีบสามล้อ  รวมทั้งคนในชุมชนได้เอาไปกิน  นอกจากนี้ยังมีภาคเอกชน  ประชาชนทั่วไป  เอาอาหาร-น้ำดื่มมาเติมใส่ตู้  เป็นสายธารน้ำใจที่หลั่งไหลมาไม่ขาดสาย

“โควิดครั้งนี้มันให้บทเรียนแก่ชาวชุมชนหลายอย่าง  คือ 1.ถ้าเราไม่เตรียมตัว  ใช้ชีวิตสนุกสนาน  ฮาเฮ  ไม่เก็บออมเงิน  พอเราไม่มีงาน

     ตกงาน  ไม่มีเงิน  ชีวิตมันจะช็อตทันที  2.ถ้าชาวชุมชนไม่รวมตัวกัน ไม่ช่วยเหลือกัน  ไม่มีกองทุนต่างๆ  เราก็จะอยู่ไม่ได้เหมือนกัน  แต่เพราะเรามีกองทุนสวัสดิการชุมชน  หรือกองทุนวันละบาท  มีกลุ่มออมทรัพย์  มีกองทุนรักษาดินรักษาบ้าน  เมื่อเกิดโควิดหรือเกิดภัยพิบัติเราก็เอาเงินตรงนี้มาช่วยเหลือกันได้  อย่างน้อยๆ ก็มีข้าวกิน  มีแรงที่จะสู้ต่อ... 

และ 3.เกิดน้ำใจ  เกิดความช่วยเหลือกันในยามยากลำบาก  โดยเฉพาะพี่น้องชุมชน  คนยากคนจน  ซึ่งเมื่อก่อนคนอื่นอาจจะมองว่า

     พวกเขาเคยรอรับแต่ความช่วยเหลือ  แต่คราวนี้เราเห็นว่าเขาก็มาช่วยคนที่เดือดร้อน  คนที่ยากลำบากกว่า  เอาอาหาร  เอาข้าวปลามาให้ 

เป็นการช่วยเหลือกันในยามยากจริง ๆ” สุดใจพูดถึงบทเรียนที่ได้ในครั้งนี้ 

(สมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนช่วยกันเย็บหน้ากากอนามัยชนิดผ้า)

ล้านแล้วจ้า.. !!  กองทุนสวัสดิการฯ ทำหน้ากากผ้าอนามัยครบ 1 ล้านชิ้น

ต่อยอดผลิตขายส่งอเมริกา-เยอรมัน

     กองทุนสวัสดิการชุมชนทั่วประเทศผลิตหน้ากากอนามัยครบ 1 ล้านชิ้น  แจกจ่ายให้แก่พี่น้องชาวชุมชนและผู้ด้อยโอกาสใช้ใส่ป้องกันเชื้อโควิด  นอกจากนี้ยังร่วมกันดูแลช่วยเหลือพี่น้องที่ได้รับผลกระทบทั่วประเทศ  เช่น  ส่งเสริมการปลูกพืชผักสร้างแหล่งอาหาร  แจกจ่ายถุงยังชีพ  มอบสิ่งของจำเป็น  และมีแผนฟื้นฟูเรื่องอาชีพและรายได้หลังสถานการณ์โควิด  ด้านเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนจังหวัดลำปางต่อยอดรับจ้างผลิตหน้ากากอนามัยส่งจำหน่ายยุโรปและอเมริกากว่า 1 แสนชิ้น

     จากสถานการณ์โควิด-19  ทำให้หน้ากากอนามัยป้องกันการแพร่เชื้อเกิดความขาดแคลน  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน

     ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สนับสนุนให้เครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชน  สภาองค์กรชุมชน  และภาคีเครือข่ายทั่วประเทศ  ตัดเย็บหน้ากากอนามัยชนิดผ้าตั้งแต่เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา  โดยใช้งบประมาณของกองทุนสวัสดิการชุมชน  องค์กรชุมชนแต่ละแห่ง  รวมทั้งเงินสมทบจาก  อบตเทศบาล  หน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐและเอกชน  ผลิตหน้ากากอนามัยชนิดผ้า 

     ใช้ผ้าที่ไม่มีความระคายเคืองต่อใบหน้า  หรือผ้าที่ใช้กับเด็กทารก  เช่น  ผ้ามัสลิน  ผ้าสาลู  และผ้าสำลี  ใช้แรงงานอาสาสมัครในชุมชน  เช่น  กลุ่มแม่บ้าน  ใช้จักรเย็บผ้า  แต่หากไม่มีสามารถใช้เข็มเย็บผ้าแทนได้

 

กองทุนสวัสดิการชุมชนฯ  ภาคีเครือข่ายผลิตหน้ากากผ้าอนามัยครบ 1 ล้านชิ้น

     ปฏิภาณ  จุมผา  รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชนหรือพอช.’กล่าวว่า  สถานการณ์ไวรัส COVID-19  เป็นเรื่องให­  เป็นโจทย์ของมนุษยชาติ  ทุกฝ่ายจึงต้องรวมพลังกัน  ซึ่งในส่วนของ พอช.ทำงานในระดับพื้นที่ทั่วประเทศ  มีเครือข่ายต่างๆ  เช่น  กองทุนสวัสดิการชุมชนที่จัดตั้งทั่วประเทศแล้ว  จำนวน  6,027 กองทุน  มีเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลทั่วประเทศ  จำนวน 7,789  แห่ง  เครือข่ายบ้านมั่นคง 1,133  พื้นที่  และพื้นที่เศรษฐกิจและทุนชุมชน 500 ตำบล   

     พอช.จึงสนับสนุนให้กลุ่มและองค์กรเหล่านี้ผลิตหน้ากากอนามัยป้องกันการติดเชื้อร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และ  อบตโดยผลิตตามความสามารถและความพร้อมของแต่ละกลุ่ม/องค์กร  ตั้งแต่ 300-10,000  ชิ้น  เพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชนในชุมชน  โดยมีกลุ่มที่ร่วมผลิตไม่ต่ำกว่า 200 กลุ่ม  ใน 50 จังหวัด ขณะนี้ (20 พฤษภาคม) ผลิตและแจกจ่ายประชาชนไปแล้วประมาณ  1 ล้านชิ้น

     นอกจากนี้ พอช.จะใช้กลไกต่างๆ เหล่านี้ที่มีอยู่ทั้ง 77 จังหวัดร่วมมือกับภาคีเครือข่าย  เช่น  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  ลงไปทำงานในชุมชนในระดับตำบลร่วมกับท้องถิ่น  เช่น  รพ.สตอสมอบตโดยมี 1.แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน  เป็นแผนเชิงรุก  เพื่อป้องกัน  ฟื้นฟู  และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID  และ 2.แผนรับมือผลกระทบจากผู้ตกงานที่กลับคืนสู่ชุมชน  เช่น  การสร้างอาชีพ  สร้างรายได้  ผ่านโครงการและกลไกที่ พอช.มีอยู่  เช่น  สภาองค์กรชุมชนตำบล  โครงการบ้านมั่นคง  บ้านพอเพียงชนบท  พื้นที่ตำบลเศรษฐกิจและทุนชุมชน รอง ผอ.พอช.กล่าว

 

กองบุ­คุณธรรมฯ เมืองลีง จ.สุรินทร์ หนุนชุมชนสู้ภัยโควิด

     วิเชียร  สัตตธารา  เลขานุการกองบุ­คุณธรรมเพื่อจัดสวัสดิการชุมชนตำบลเมืองลีง  .จอมพระ  .สุรินทร์  ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกองทุนสวัสดิการชุมชนที่ร่วมจัดทำหน้ากากอนามัยแจกจ่ายประชาชน  เล่าว่า  เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19  หน้ากากอนามัยขาดแคลนและมีราคาแพง  และหากรองบประมาณจากหน่วยงานรัฐมาช่วยเหลือคงจะใช้เวลานาน  กองบุ­คุณธรรมฯ จึงขออนุมัติจากคณะกรรมการใช้เงินของกองบุ­ฯ จำนวน 10,000 บาท  จัดซื้อผ้าและวัสดุต่างๆ มาให้อาสาสมัครในตำบลช่วยกันทำ  มีคนมาช่วยตัดเย็บหน้ากากประมาณ 10 คน  เริ่มทำในเดือนมีนาคม  จำนวน 1,000 ชิ้น  แจกจ่ายประชาชนกลุ่มเสี่ยงก่อน  เช่น  ผู้สูงอายุ  คนป่วย  เด็ก  ฯลฯ 

     ตอนหลังจึงได้งบประมาณจาก อบต.มาจัดทำหน้ากากอนามัยผ้าอีก 1 หมื่นชิ้น  แจกจ่ายให้ประชาชนได้ทั่วทั้งตำบล  นอกจากนี้กองบุ­ฯ ยังนำเมล็ดพันธุ์ผักมาแจกจ่ายให้แก่ประชาชนใช้ปลูกกินในครัวเรือน  ประมาณ 500 ครัวเรือน  มีเมล็ดพันธุ์ต่างๆ  เช่น  ผักบุ้ง  ถั่วฝักยาว  บวบเหลี่ยม  ผักชี  ผักกวางตุ้ง  เนื่องจากช่วงนั้นผักขาดแคลน  ตลาดก็ปิด  เราจึงส่งเสริมการปลูกผักเอามาทำอาหาร  รวมทั้งเพาะชำกล้าไม้ต่างๆ ที่เป็นอาหาร  เพื่อให้ประชาชนเอาไปปลูกกิน  หากเกิดวิกฤตใดๆ ขึ้นมาอีก  เราจะได้มีแหล่งอาหารสำรอง  ไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากใคร วิเชียรบอก

     กองบุ­คุณธรรมเพื่อจัดสวัสดิการชุมชนตำบลเมืองลีง  เป็น 1 ในกองทุนสวัสดิการชุมชนที่ได้รับรางวัล ผู้สรรค์สร้างความมั่นคงของมนุษย์ ตามแนวคิด จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน ของ ดร.ป๋วย  อึ๊งภากรณ์ ประจำปี 2563  โดยมีความโดดเด่นเรื่องการสนับสนุนให้สมาชิกกองบุ­ฯ สร้างความมั่นคงทางอาหาร  เช่น  การสนับสนุนให้สมาชิกทำเกษตรอินทรีย์  อนุรักษ์การเลี้ยงควาย  เพื่อนำมูลควายมาทำปุ๋ย  ปัจจุบันมีสมาชิกเลี้ยงควายจำนวน 882 ตัว  ได้มูลควายประมาณปีละ 1,865 ตัน  หากควายออกลูกกองบุ­ฯ จะให้เงินสนับสนุนตัวละ 200 บาท

     นอกจากนี้กองบุ­ฯ ยังช่วยเหลือสมาชิกในด้านต่างๆ รวม 13 ด้าน  เช่น  คลอดบุตร 500 บาท  เสียชีวิต (ตามอายุการเป็นสมาชิก) 2,500-15,000 บาท ภัยพิบัติ  ไฟไหม้  1,000 บาท  ฯลฯ  ปัจจุบันมีสมาชิก  2,030 คน  มีเงินกองบุ­ฯ รวม 2 ล้านบาทเศษ  สมาชิกต้องสมทบเงินเข้ากองบุ­ฯ ปีละ 370 บาท

(ผู้แทนกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำาบลบ้านส้อง อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี มอบอาหารแห้งให้ผู้ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์โควิด)

กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านส้องฟื้นฟูอาชีพหลังโควิด

     สุวัฒน์  ดาวเรือง  ประธานกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านส้อง  .เวียงสระ  .สุราษฏร์ธานี  บอกว่า  กองทุนสวัสดิการฯ ร่วมกับกลุ่มและองค์กรต่างๆ ในอำเภอเวียงสระตัดเย็บหน้ากากอนามัยผ้า  จำนวน 10,000 ชิ้น  แจกจ่ายให้แก่ประชาชนในอำเภอเสร็จไปแล้วตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา  และขณะนี้กำลังจัดทำถุงยังชีพมอบให้แก่ประชาชนที่เดือดร้อน  เช่น คนพิการ  ผู้สูงอายุ  คนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด  เพราะขาดรายได้  หรือไม่มีงานทำในช่วงนี้  โดยใช้งบประมาณของกองทุนฯ ประมาณ 250,000 บาท  ทำถุงยังชีพจำนวน 500 ชุด ประกอบด้วย ข้าวสาร  น้ำมันพืช น้ำปลา ปลากระป๋อง  ฯลฯ

นอกจากนี้ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด  กองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ได้จัดทีมอาสาสมัครลงไปตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงร่วมกับเจ้าหน้าที่อนามัย  และ อสม.ในหมู่บ้านต่างๆ  เพื่อเฝ้าระวังเรื่องการแพร่เชื้อด้วย”  ประธานกองทุนฯ บอกถึงบทบาทของกองทุนสวัสดิการในช่วงสถานการณ์โควิด

     เขาบอกด้วยว่า  ผลกระทบจากสถานการณ์โควิดทำให้ชาวบ้านและสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านส้อง  ซึ่งปกติจะมีรายได้จากการขายผลไม้  เช่น  ทุเรียน  มังคุด  รวมทั้งการท่องเที่ยวชุมชน  เช่น  น้ำตก 357  ต้องปิดตัว  ไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้ามา  จึงทำให้ขาดรายได้  กองทุนฯ จึงมีแผนที่จะฟื้นฟูเรื่องเศรษฐกิจและรายได้  โดยจะส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตจากชุมชน  เช่น  นำทุเรียนมาทอดกรอบ  กวน  นำมังคุดมาแปรรูปเป็นน้ำผลไม้และขนมต่างๆ  เพื่อให้สามารถขายได้ตลอดทั้งปี  โดยจะให้กองทุนสวัสดิการชุมชนฯ เป็นฝ่ายจำหน่ายสินค้าทางสื่อออนไลน์  และนำผลกำไรส่วนหนึ่งมาสมทบเข้ากองทุนสวัสดิการฯ  เพื่อนำไปช่วยเหลือสมาชิกต่อไป

     นอกจากนี้  ถ้าหมดปั­ญหาเรื่องโควิดแล้ว  กองทุนสวัสดิการฯ จะฟื้นฟูเรื่องการท่องเที่ยวชุมชน  การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ขึ้นมาใหม่  เพราะเรามีแหล่งท่องเที่ยวหลายอย่าง  ถ้ามีนักท่องเที่ยวกลับเข้ามา  ชาวบ้านและสมาชิกกองทุนฯ ก็จะมีรายได้จากการท่องเที่ยวและการขายสินค้าชุมชนด้วย ประธานกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านส้องกล่าว

(ตัวอย่างหน้ากากอนามัยที่เครือข่ายกองทุนสวัสดิการฯ จ.ลำาปาง ผลิตส่งต่างประเทศ)

 

 

กองทุนสวัสดิการ จ.ลำปางผลิตหน้ากากอนามัยส่งขายอเมริกา-ยุโรป

     ยุพิน  เถาเปี้ยปลูก  ประธานกองทุนสวัสดิการออมบุ­วันละ 1 บาทเพื่อสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น  เทศบาลเมืองล้อมแรด  .เถิน  .ลำปาง  บอกว่า  ในช่วงเริ่มต้นการแพร่ระบาดของโควิดในประเทศไทยนั้น  เครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนในจังหวัดลำปาง (ประมาณ 110 กองทุน) ได้ช่วยกันผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้าแจกจ่ายประชาชนรวมกันแล้วหลายหมื่นชิ้น  บางกองทุนฯ จัดซื้อเจลล้างมือและหน้ากากอนามัยแจกจ่ายให้แก่สมาชิกและผู้ด้อยโอกาส

     จากการที่เครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนจังหวัดลำปางผลิตหน้ากากอนามัย  ซึ่งส่วนให­่จะเย็บด้วยเครื่องจักร  เพราะแต่ละพื้นที่จะมีกลุ่มแม่บ้าน  มีกลุ่มอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าอยู่แล้ว  จึงเย็บหน้ากากได้ประณีต  เรียบร้อย  จึงมีบริษัทส่งออกมาจ้างให้สมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนในจังหวัดลำปาง  ผลิตหน้ากากผ้าเพื่อใช้ป้องกันเชื้อโควิดส่งไปขายที่ประเทศเยอรมันและสหรัฐอเมริกา  เพราะที่นั่นมีคนติดเชื้อและตายเยอะ  หน้ากากก็ขาดแคลน  จึงมาว่าจ้างกองทุนฯ ผลิต ให้ค่าแรงชิ้นละ 3 บาท  ส่วนผ้าและวัสดุต่างๆ  บริษัทจะเอามาให้  ยุพินบอก

     ยุพินบอกด้วยว่า  กองทุนสวัสดิการฯ เทศบาลเมืองล้อมแรด  ได้รับการว่าจ้างในช่วงแรกจำนวน  2,000 ชิ้น  ขณะนี้กำลังเร่งผลิต  โดยกระจายให้สมาชิกที่มีจักรเย็บผ้านำไปเย็บ  โดยทางบริษัทจะเอาผ้ามาส่งและรับหน้ากากที่เย็บเสร็จแล้วเอากลับไปสัปดาห์ละ 1 ครั้ง  รวมแล้วในขณะนี้มีการว่าจ้างผลิตหน้ากากผ่านเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนจังหวัดลำปางไม่ต่ำกว่า 100,000 ชิ้น  ทำให้สมาชิกมีรายได้รวมกันในช่วงนี้ไม่ต่ำกว่า 300,000 บาท

     นี่คือบางตัวอย่างของบทบาทกองทุนสวัสดิการชุมชนที่ช่วยเหลือสมาชิกในช่วงสถานการณ์โควิด-19  รวมทั้งยังมีแผนฟื้นฟูเรื่องอาชีพและรายได้ให้แก่สมาชิก  ปัจจุบันกองทุนสวัสดิการชุมชนจัดตั้งขึ้นทั่วประเทศแล้ว  จำนวน  6,027 กองทุน 

     มีสมาชิกรวม 5,807,860 คน  และมีเงินกองทุนรวมกันว่า 16,000 ล้านบาท  ช่วยเหลือสมาชิกไปแล้วกว่า 2 ล้านคน รวมเป็นเงินกว่า 2,100 ล้านบาท...!!

 

เสียงสะท้อนจากชุมชน....‘คนไร้เสียง

โดย...ธิปไตย  ฉายบุ­ญครอง    

 

     เรื่องราวของชุมชนคนไร้เสียง’  ถูกเปิดเผยขึ้น  เมื่อเฟซบุ๊กหยืด ฅนเพื่อชีวิต’  โพสต์ข้อความเพื่อขอความช่วยเหลือให้แก่ชุมชนผู้พิการทางการพูดหรือการได้ยิน (คนใบ้และหูหนวก) ที่อาศัยอยู่บริเวณใต้สะพานข้ามคลองสามเสนใน  ถนนพระรามพวกเขาอาศัยอยู่ที่นี่รวมทั้งหมด 65 ครอบครัว  ประมาณ 130 คน  ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด  เพราะไม่สามารถออกไปทำมาหากินได้ตามปกติ  ทำให้ไม่มีเงินมาซื้ออาหารประทังชีวิต

 

ชีวิตใต้สะพาน

     ชาวชุมชนแห่งนี้ปลูกสร้างห้องพักติดๆ กันอยู่ใต้สะพานข้ามคลอง  และแบ่งกั้นเป็นห้องเล็กๆ คับแคบ  สร้างขึ้นมาจากเศษไม้อัด  แผ่นป้ายไวนิล  หรือวัสดุต่างๆ ที่พอจะหาได้  โดยมีสะพานคอนกรีตขนาดให­่เป็นหลังคาบ้าน   กันแดดและฝนได้ดี  แต่อากาศค่อนข้างร้อนและอับ  คละคลุ้งไปด้วยฝุ่นควันจากยวดยานต่างๆ ที่แล่นผ่านไปมา 

     ชุมชนที่นี่ไม่อยู่ในสารบบของ กทม. เพราะเป็นชุมชนบุกรุกอยู่ใต้สะพาน  ที่ผ่านมาจึงไม่มีหน่วยงานใดยื่นมือเข้ามาให้ความช่วยเหลือ  พวกเขาจึงอยู่กันแบบตามมีตามเกิด  ส่วนให­่เป็นผู้พิการทางการได้ยินและการพูด  ใช้ภาษามือในการสื่อสารกัน  ทำมาหากินเป็นรายวัน  เช่น  พนักงานทำความสะอาดตามบริษัทห้างร้านต่างๆ  ทำสวน  บางคนเก็บขยะรีไซเคิลขาย   ขายสลากกินแบ่งรัฐบาล และขายเทียนหอมบรรจุในถ้วยแก้วตามร้านอาหารต่างๆ ในสถานบันเทิงย่านอาร์ซีเอช่วงเวลากลางคืน  เมื่อ กทม.และรัฐบาลมีมาตรการต่างๆ ออกมาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19  สถานบริการต่างๆ  ถูกปิดลง   คนในชุมชนใต้สะพานเกือบทั้งหมดไม่สามารถออกไปทำมาหากินได้เหมือนเดิม  จึงขาดรายได้ที่จะมาจุนเจือครอบครัว เงินทองที่มีอยู่เล็กน้อยจึงหร่อยหรอไป  อาหารการกินเริ่มอัตคัตขาดแคลน  เกิดความเดือดร้อนไปทั่วชุมชน  แต่ไม่รู้จะไปบอกใคร  เพราะพูดไม่ได้

ชา­ณรงค์ เหมือนปั้น เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการชุมชนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช.’เจ้าของเฟสบุ๊ค หยืด ฅนเพื่อชีวิต เล่าว่า  เขาขี่รถมอเตอร์ไซค์ผ่านไปเจอชุมชนผู้พิการแห่งนี้ด้วยความบังเอิ­  โดยวันนั้นเขาได้เดินทางลงพื้นที่ไปสำรวจชุมชนภายใต้โครงการ  ‘สำรวจให้พบ จบที่ชุมชน ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)  เพื่อนำข้อมูลส่งให้กระทรวง พม. และให้ความช่วยเหลือต่อไป

     ผมสงสัยว่าเป็นคนกลุ่มไหนจึงมาอาศัยอยู่ใต้สะพาน  จึงจอดมอเตอร์ไซค์แวะลงไปสอบถาม  ตอนแรกเพียงจะไปถามว่าพวกเขาได้รับผลกระทบ  หรือต้องการความช่วยเหลืออย่างไรบ้างในช่วงสถานการณ์โควิด  พอไปสอบถามจึงรู้ว่าพวกเขาส่วนให­่เป็นคนพิการ  พูดไม่ได้  แต่มีบางคนที่พูดได้ช่วยเป็นล่าม  บอกว่าตอนนี้พวกเขาเดือดร้อนกันมาก  เพราะอาร์ซีเอซึ่งเป็นแหล่งทำมาหากินของพวกเขาถูกสั่งปิด  ทำให้ไม่มีรายได้  ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน  โดยเฉพาะเรื่องของอาหารการกิน ชา­ณรงค์เล่าความเป็นมา

     หลังจากนั้นเขาจึงได้โพสต์เรื่องราวความเดือดร้อนของชุมชนคนพิการใต้สะพานลงในเฟสบุ๊ค  ทำให้ผู้คนได้รับรู้เรื่องราวของชาวชุมชน  และมีผู้คนเข้าไปเยี่ยมชุมชน  นำอาหารไปแบ่งปัน รวมทั้งสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นให้กับสมาชิกในชุมชน  ซึ่งมีทั้งเด็กเล็ก  คนชรา  ผู้ป่วย  และคนตกงานกว่า 130 ชีวิตช่วยต่อลมหายใจของพวกเขาให้ยืดออกไปอีก

(ตุ๊กตา นางฟ้าใต้สะพาน)

ตุ๊กตานางฟ้าใต้สะพาน

     บุษบา โพธิ์นิ่มแดง  หรือตุ๊กตา’  สาวน้อยในชุมชนใต้สะพานแห่งนี้  ผู้ที่ช่วยเป็นล่ามสื่อสารให้คนภายนอกเข้าใจภาษามือ  รวมทั้งยังเป็นผู้ประสานงานต่างๆ ให้กับชุมชน  เล่าให้ฟังว่า  เธอเกิดที่นี่  ครอบครัวของเธอเป็นผู้พิการทางการพูดและการได้ยิน   อาศัยอยู่ด้วยกันทั้งหมด 5 คน  คือ  คุณพ่อ  คุณแม่  พี่ชาย  และน้องสาว  ทั้ง 4 คนพูดไม่ได้  มีเธอคนเดียวที่พูดได้  เธอจึงเป็นเสมือนล่ามประจำครอบครัวและชุมชน  ใครมีเรื่องที่ต้องติดต่อกับคนภายนอกหรือคนปกติทั่วไปก็มักจะมาอาศัยไหว้วานให้เธอเป็นธุระให้  ซึ่งเธอก็ยินดีและช่วยเหลืออย่างเต็มที่

     ปัจจุบันตุ๊กตาทำงานที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง  เรียนจบปริ­­าตรีจาก ม.ราชภัฏจันทรเกษม  ด้านการจัดการ  ส่วนภาษามือเธอก็ไม่ได้ไปเรียนมา  คงจะเกิดจากการที่คลุกคลีกับสภาพแวดล้อมแบบนี้มาตั้งแต่เกิด  ต้องใช้สื่อสารพูดคุยกับครอบครัวในการใช้ชีวิตประจำวัน  รวมทั้งการสื่อสารกับคนอื่นๆ ในชุมชน  โดยใช้ภาษามือทุกวันจนเกิดความชำนา­   (ในชุมชนนี้มีคนที่สื่อสารกับคนพิการได้ไม่กี่คน)  

     ตุ๊กตา  เล่าต่อว่า  เมื่อก่อนชุมชนที่นี่ยังมีคนมาอยู่ไม่เยอะ  แรกเริ่มทีเดียวคุณพ่อของเธอได้เข้ามาอยู่อาศัยที่ใต้สะพานแห่งนี้เมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว  โดยเปิดร้านรับจ้างเชื่อมโลหะอยู่บริเวณนี้ (ข้างโรงพยาบาลปิยะเวชในปัจจุบัน) ต่อมามีลูกน้องเพิ่มขึ้นอีกหลายคน  พวกเขามีทั้งคนที่พูดได้และพูดไม่ได้  ส่วนให­่มาจากต่างจังหวัดเข้ามาหางานทำ  เมื่อมาทำงานกับคุณพ่อ  พวกเขาจึงช่วยกันสร้างห้องพักอยู่ใต้สะพานข้ามคลองสามเสนใน  โดยใช้วัสดุที่พอจะหาได้  ไม่ต้องซื้อหา  เช่น  แผ่นไม้  แผ่นป้ายโฆษณาต่างๆ  กั้นเป็นห้องติดกันทำให้ประหยัดวัสดุและเนื้อที่  ส่วนหลังคาไม่ต้องทำ  เพราะมีสะพานคอนกรีตเป็นหลังคาอย่างดี

(สภาพที่พักคับแคบมีหลังคาเป็นสะพานคอนกรีต)

     เมื่อมีการเปิดสถานบันเทิงในยามราตรีที่เรียกกันว่า  ‘อาร์ซีเอ(ประมาณปี 2538)  ซึ่งเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีตัดใหม่กับถนนพระรามไม่ไกลกับใต้สะพานที่อาศัยอยู่   จึงมีพ่อค้าแม่ค้าจากจังหวัดต่างๆ  รวมทั้งคนพิการเข้ามาค้าขายสิ่งของต่างๆ  เช่น  เทียนหอม  พวงกุ­แจ  ดอกไม้  ตุ๊กตา  และอาหารหลากหลายชนิด  บางคนก็เข้ามาทำงานรับจ้างในสถานบริการ  ต่อมาคนที่ค้าขายเหล่านี้  รวมทั้งคนพิการก็เข้ามาปลูกสร้างห้องพักใต้สะพาน  จนชุมชนขยายออกไปเรื่อยๆ ปัจจุบันมีคนอยู่อาศัยทั้งหมด  65 ครอบครัว

     ส่วนสภาพของบ้านหรือห้องพักที่สร้างขึ้นก็จะอยู่กับขนาดของครอบครัว  ให­่บ้าง  เล็กบ้าง  บางห้องอยู่กันหลายคนเป็นครอบครัว  บ้างก็อยู่คนเดียว  แบ่งกั้นเป็นห้องๆ  ไม่ต้องเสียค่าเช่า  ส่วนให­่จะไม่มีหน้าต่าง  มีเพียงประตูเข้า-ออก  ภายในห้องมีเพียงหลอดไฟให้ความสว่าง  และเครื่องใช้ไฟฟ้าบางอย่าง  เช่น  ทีวี  พัดลม  กาต้มน้ำ หม้อหุงข้าว  กระทะไฟฟ้า ใช้ไฟฟ้าที่พ่วงมาจากข้างนอก ห้องน้ำใช้ร่วมกันมี 10 ห้อง  และช่วยกันจ่ายค่าน้ำ  ค่าไฟฟ้า  ประมาณห้องละ 300-400 บาทต่อเดือน 

     เหตุผลหลักๆ ที่ทำให้พวกเขามาอยู่รวมกันที่นี่   คือ  อยู่ใกล้แหล่งทำมาหากิน  และเป็นชุมชนที่มีคนพิการทางการพูดและการได้ยินอาศัยอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก  ทำให้พวกเขารู้สึกอบอุ่น  ปลอดภัย  สื่อสารกันรู้เรื่อง เหมือนกับเป็นคนครอบครัวเดียวกัน เมื่อมีอะไรก็จะช่วยเหลือกัน  แบ่งปันกันเหมือนพี่เหมือนน้อง ตุ๊กตา  นางฟ้าใต้สะพานบอก

 

เสียงสะท้อน....จากคนไร้เสียง

     ขจรจิตร  สุขศรี  เล่าให้ฟังผ่านน้องตุ๊กตา  บอกว่า  เขาอยู่ที่นี่มา 10 กว่าปีแล้ว  เดิมอยู่แถบมีนบุรี  มีอาชีพเป็นพนักงานทำความสะอาดในย่านอาร์ซีเอ  มาอยู่ที่นี่เพราะใกล้ที่ทำงาน  ก่อนหน้านั้นเขาขี่มอเตอร์ไซค์ผ่านไปผ่านมาที่ชุมชนแห่งนี้  สังเกตเห็นว่าเป็นคนพิการเหมือนกันจึงเข้าไปสอบถาม  พร้อมกับขอเข้ามาอยู่อาศัย  หลังจากนั้นไม่นานก็ย้ายเข้ามาอยู่ที่นี่  โดยปลูกห้องพักอยู่ใต้สะพานทำขึ้นเองอย่างง่ายๆ  ใช้วัสดุที่พอจะหาได้   ไม่ว่าจะเป็นเศษไม้อัด  แผ่นพลาสติก  เมื่อมาอยู่ในหมู่คนพิการเหมือนกัน  ทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย  มีเพื่อนพูดคุย (ภาษามือ) ทำให้ไม่เหงา 

     ผมอยู่ที่นี่ไม่ได้เสียค่าเช่า  แต่ช่วยออกค่าน้ำ  ค่าไฟ  ตกเดือนละ 400  บาท  เวลามีอะไรคนในชุมชนก็ช่วยเหลือกันรู้สึกประทับใจมาก  ส่วนสิ่งที่อยากจะได้มากที่สุดตอนนี้ก็คือ บ้าน  หลังเล็กๆ สักหลัง  เป็นของตัวเอง   อยู่ไปจนตายโดยที่ไม่มีใครมาขับไล่  เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคั­ญที่สุดในชีวิต”  ขจรจิตบอกถึงความหวัง

เจียงคำ ทีวาโตคะ  บอกเล่าเรื่องราวผ่านล่ามภาษามือว่า  เธออาศัยอยู่คนเดียวที่ชุมชนใต้สะพานแห่งนี้  ตั้งแต่ปี 2554 เพราะอยู่ใกล้ที่ทำงาน ทำอาชีพแม่บ้านในโรงแรมย่านอาร์ซีเอ  อยู่ที่นี่ก็สบายดี  ผู้คนช่วยเหลือพึ่งพากัน ดูแลกันยามเจ็บไข้  

     แต่ตอนนี้มีความเดือดร้อนเรื่องรายได้  เพราะโรงแรมปิด  ไม่มีงานทำ ไม่มีเงิน  ส่วนความต้องการก็อยากจะได้บ้านหรือที่อยู่อาศัยใหม่ที่ดีกว่านี้  และมีความมั่นคง  ไม่ต้องกลัวใครมาไล่  เพราะอยู่ที่นี่ก็ไม่รู้ว่าจะอยู่ได้อีกนานเท่าไหร่  เจียงคำบอก

 

รมว.พม.เยี่ยมชุมชนคนใต้สะพาน

     จากการเล่าเรื่องราวชาวชุมชนคนพิการใต้สะพานแห่งนี้ผ่านเฟสบุ๊คของหยืด ฅนเพื่อชีวิตทำให้นายจุติ  ไกรฤกษ์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และคณะผู้บริหารกระทรวง พม.ได้ลงไปเยี่ยมเยียนและมอบข้าวสาร  อาหารแห้ง  รวมทั้งสิ่งของจำเป็นเพื่อช่วยเหลือเป็นการเฉพาะหน้าให้แก่ชาวชุมชนแห่งนี้เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคมที่ผ่านมา 

(นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.พม. เยี่ยมชาวชุมชนเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา)

     นายจุติ ไกรฤกษ์  รมว.พม. กล่าวว่า  วันนี้เราได้เห็นความยากลำบากของชุมชน  เพราะสร้างบ้านอยู่ใต้สะพาน  ตนจึงได้เสนอที่พักอาศัยของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ออกเป็น 2 ทางเลือก  คือ 1. ห้องเช่าเดือนละ 999 บาท  โดย 3 เดือนแรกจะไม่คิดค่าเช่า และให้เช่าอยู่

     ระยะยาว  และ 2.การพัฒนาที่อยู่อาศัย  โดยเฉพาะการสร้างในที่ดินของรัฐบาล  เพื่อจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  โดยขอให้ชุมชนร่วมกันตัดสินใจย้ายไปอยู่ที่ใหม่  ด้วยความยินยอมพร้อมใจกัน  รวมทั้งจะดูแลเรื่องการมีงานทำและมีอาชีพเลี้ยงตนเองได้  

(บริเวณลานด้านหน้าชุมชนคนไร้เสียงใต้สะพาน)

     นอกจากนี้กระทรวง พม. จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลในเรื่องของเด็กที่ขาดแคลน  รวมถึงเรื่องการศึกษาด้วย

นี่คือความช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ชาวชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์โควิด  รวมทั้งข้อเสนอการแก้ไขปั­ญหาด้านที่อยู่อาศัยจากรัฐมนตรีกระทรวง พมซึ่งตรงกับความต้องการของชาวชุมชนที่สะท้อนออกมาว่าอยากจะมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง  มีความมั่นคง  และมีสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีกว่าเดิม...วันนี้เสียงของชุมชนคนไร้เสียง...ดังขึ้นมาแล้ว...!!


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"