"หมอธีระ" เผยไทยเปรียบเทียบการระบาดโควิด ในต่างประเทศ ก่อนตัดสินใจล็อกดาวน์  ชี้หลังผ่อนคลาย หนีไม่พ้นการระบาดรอบ2  แต่จะมาช้า หรือเร็วเท่านั้น 


เพิ่มเพื่อน    


22 พ.ค.63- จากการจัดประชุมวิชาการวาระพิเศษ COVID-19 Lecture Series ครั้งที่ 5 โดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสวนาผ่านทาง Facebook Live Streaming คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ ในหัวข้อ COVID-19 Projection Model: behind the Scenes กับสถาณการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา และการแพร่ระบาดในระลอกที่ 2

 
รศ.นพ.ธีระ ให้ข้อมมูลว่า  โรคโควิด-19 เริ่มมีการแพร่ระบาดมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว จนถึงปัจจุบันซึ่งเป็นระยะเวลาที่ไม่นาน แต่ปรากฎว่าก็มีทั้งแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ นักวิจัยทั่วโลกที่จะต้องร่วมมือกันสู้ จะเห็นได้จากงานวิจัยที่เผยแพร่ออกมากว่า 15,000 เรื่อง และในจำนวนนี้มีอยู่ประมาณ 300 เรื่องที่กล่าวถึง COVID-19 Prediction Model แบบจำลองการทำนายสถานการณ์โควิด-19 ที่มี 4 วัตถุประสงค์หลัก คือ การวินิจฉัย(Diagnosis) การเข้ารักษาในโรงพยาบาล(Hospital admission) การพยากรณ์โรค(Prognosis) และการระบาดของโรค (Disease epidemic)  โดยการระบาดของโรค ได้รับความสนใจอย่างมาก เพื่อที่จะทราบถึงการระบาดว่าจะขยายไปมากน้อยแค่ไหน ซึ่งมีหลายคนพยายามที่จะทำโมเดลการระบาดของโรคโควิด-19 แต่ยังไม่มีโมเดลไหนที่จะทำนายได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เพราะการจะทำนายได้ต้องอาศัยเหตุผลหลักก็คือ เราต้องทราบธรรมชาติของโรค พฤติกรรมของคน และทราบเรื่องของผลอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีปฏิกิริยาต่อตัวโรคและพฤติกรรมของคน แต่เชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นไวรัสที่ยังไม่เคยพบก่อน ทำให้ข้อมูลต่างๆของโมเดลเป็นเพียงสมมติฐานทั้งสิ้น และมีโอกาสที่จะคาดเคลื่อนได้สูง


ย้อนกลับไปดูสถาการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทย รศ.นพ.ธีระ กล่าวว่า ไทยได้มีมาตรการออกมาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างจริงจังและเข้มงวด จะเห็นได้จากการเปลี่ยนในช่วงแรกที่มีการระบาดในช่วงเดือนมกราคม มาจนถึงกลางเดือนมีนาคม จะมีมาตรการในลักษณะหนึ่งที่ค่อนข้างผ่อนคลาย แต่หลังจากกลางเดือนมีนาคม จะมีมาตรการที่เข้มงวดออกมาจนทำให้การแพร่ระบาดโควิด-19 อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงมาเป็น 0 ซึ่งเป็นผลมาจากการตัดสินใจที่จะดูแล และคาดการณ์การระบาดในไทย จากการประเมินการระบาดของประเทศอื่นๆที่เริ่มระบาดมาก่อน เพื่อดูสถานการณ์ และประเมินในประเทศว่าจะมีโอกาสเป็นเหมือนประเทศนั้นมากน้อยแค่ไหน นำไปสู่ข้อเสนอในเชิงนโยบายในปัจจุบัน

ผลการติดเชื้อสะสมและติดเชื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นในช่วงวันที่ 19 มีนาคม.


โดยจุดเริ่มต้นของเบื้องหลังการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ลดลง รศ.นพ.ธีระ กล่าวว่า  เริ่มขึ้นในวันที่ 19 มีนาคม 2563 ที่ทาง 3 โรงเรียนแพทย์ ได้แก่ จุฬาฯ ศิริราช และรามาธิบดี ที่เล็งเห็นว่าโควิด-19 เข้าสู่ภาวะที่วิกฤติมากขึ้นเรื่อยๆ จากการสังเกตของทีมแพทย์ ที่มีจำนวนคนติดเชื้อเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงเกิดการคาดการณ์ไว้ว่า จะมีจำนวนเคสติดเชื้อใหม่และสะสมที่เพิ่มขึ้นหลังจากนี้ ในการลดการติดเชื้อและนำไปสู่การเสนอนโยบายต่อรัฐ โดยเราอาศัยการเปรียบเทียบกับการแพร่ระบาดโควิด-19 ทั่วโลก   ที่ได้จากการเก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา จะสังเกตว่าช่วงเวลาการระบาดของโควิด-19 ใน 100 เคส และจะใช้เวลาเท่าไหร่ในการระบาดไปถึง 200 เคส ซึ่งจะเป็นตัวช่วยในการทำนายโชคชะตาการบาดในประเทศ  จากกราฟจะเห็น กลุ่มประเทศที่มีการระบาดเยอะ ใช้เวลาในการระบาดน้อยกว่า 3 วัน   ซึ่งต้องพบกับภาวะการระบาดวิกฤติ ทำให้ระบบสาธารณสุขรับไม่ไหว มีผู้เสียชีวิตเยอะ อาทิ ประเทศจีน อิหร่าน อิตาลี สเปน อเมริกา และเยอรมัน ถัดมาในจะเห็นกลุ่มประเทศ อย่าง ญี่ป่น ฮ่องกง สิงคโปร์ ที่มีการระบาดไปอย่างช้าๆ จะใช้เวลายาวนานมากกว่า 5 วัน เป็นผลสะท้อนให้เห็นการระบาดในไทยช่วงเดือนมีนาคมที่มีการติดเชื้อจาก 100 เคส ใช้เวลาเพียง 3 วัน ก็มีการติดเชื้อไปถึง 200 เคส แปลว่าเรามีโอกาสสูง ที่จะมีการแพร่ระบาดอย่างในแถบยุโรป หากไม่เปลี่ยนมาตรการในการป้องกัน  โดยเราได้คาดประมาณจากการระบาด วันละ 33%  ( ประมาณ 350,000เคส) จะลดลงมาเหลือ 20% (ประมาณ 24,000 เคส) ต่อมา คือ ระบบสาธารณสุขของไทย ในการรับมือไม่ว่าจะเป็นห้องความดันลบ หรือบุคลากรทางการแพทย์ ที่ต้องพร้อมและเพียงพอ

 

กราฟเปรียบเทียบระยะเวลาการระบาดจากผู้ป่วย 100 เคส

 

สำหรับ ระยะการระบาดและมาตรการที่ได้ใช้นั้น จะเห็นว่า ในระยะที่ 1จะมีคนติดเชื้อจากข้างนอกมาสู่พื้นที่ของเรามาตรการที่ควรใช้คือการทำ containment  ปิดกันไม่ให้เข้ามา เช่น การระงับการเดินทางของคนจากพื้นที่เสียงเข้ามาในประเทศเรา แต่ด้วยเหตุผลบางอย่างทำให้ประเทศไทยไม่ได้แบนทั้งหมด  เข้าสู่ระยะที่ 2 คนที่ติดเชื้อได้แพร่ให้คนภายในประเทศ มาตรการที่ควรใช้ คือ การตรวจจับคนติดเชื้อให้ได้ และนำไปกักกันเพื่อแยกออกจากคนในสังคม (Isolation) และการนำคนที่มีประวัติไปสัมผัสกับคนที่ติดเชื้อไปกักกันเพื่อเฝ้าระวังจนกว่าจะพ้นระยะฟักตัวของโรค (Quarantine) โดยมาตรการทั้งสองนั้นไทยเลือกที่จะใช้วิธีคัดกรองด้วยการวัดไข้ ซึ่งเป็นจุดอ่อนเพราะมีความไวไม่เพียงพอทำให้มีโอกาสที่ผู้ติดเชื่อหลุดรอดไปได้ อีกมาตรการที่ควรทำในระยะที่ 2 คือการปิดพื้นที่เสี่ยง (Mitigation) เช่นสถานศึกษาสถานบันเทิงที่มีคนติดเชื้อ แต่เราเพิ่งเลือกมาเลือกใช้ตอนสถานการณ์เป็นระยะที่ 3 ไปแล้วระยะหนึ่ง 

จำนวนผู้ป่วยในช่วงการประกาศใช้มาตรการของรัฐ

 

 

และในระยะที่ 3 คนในพื้นที่ของเราได้แพร่ไปให้แก่กันและกันขยายวงไปเรื่อย ๆ ดังเช่นที่ปรากฎในปัจจุบัน ดังนั้นมาตรการที่ต้องรีบทำคือปิดประเทศปิดเมืองไม่ให้คนติดเชื้อใหม่จากข้างนอกเข้ามา และไม่ให้คนติดเชื้อของเราออกไปแพร่ให้ประเทศอื่น ร่วมกับการให้คนในประเทศพยายามอยู่ในบ้านไม่เดินทางพร่ำเพรื่อ สังเกตอาการตนเองและครอบครัวเพราะเชื้อไวรัสมีอยู่ทั่วไปทำให้มีโอกาสติดได้เสมอ ดังนั้นในระยะเวลานี้เราจะมีการล็อกดาวน์ จากการเปรียบเทียบให้เห็นถึงประเทศจีน  ที่ใช้การล็อกดาวน์ จะช่วยตัดวงจรของการระบาดได้ โดยมีนัยยะอย่างน้อยเวลา 4 สัปดาห์ ซึ่งจะมีผลให้ลดเคสผู้ติดเชื้อได้ถึง 80% และชะลอการระบาดของโรคและลดจำนวนผู้ติดเชื้อให้สามารถเข้าสู่ระยะที่ 4 คือมีการติดเชื้อแบบประปราย 

จำนวนการพบผู้ป่วยใหม่ในแต่ละช่วงเวลาตั้งแต่เริ่มใช้มาตรการที่เข้มงวด

“สำหรับการกลับมาระบาดในระลอกที่ 2 หากมองในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านหรือทั่วโลก จะเห็นว่าหลังจากที่ผ่านการระบาดในระลอกแรกและเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆนั้น ไม่มีประเทศไหนที่รอดจากการระบาดในระลอกที่ 2 แต่ขึ้นอยู่ที่ว่าจะมาช้าหรือเร็ว และจะมีการติดเชื้อน้อยหรือมาก  โดยไทยก็ต้องดูและประเมินจากประเทศที่ปลดล็อกเป็นปัจจัยสำคัญในการระมัดระวังของการปลดล็อคและการปฏิบัติตัวของประชาชนและสิ่งแวดล้อมต่างๆให้เอื้อต่อการดำเนินชีวิต” รศ.นพ.ธีระ ทิ้งท้าย
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"