ยกมือสนับสนุน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ลุกขึ้นมาเป็นตัวตั้งตัวตี ร่วมกับกระทรวงคมนาคม และกระทรวงมหาดไทย แก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.ทางบก เรื่องการกำหนดความเร็ว เพราะฉบับที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2522
หรือ 39 ปีแล้ว!!!
สมควรต้องแก้ไขปรับปรุงให้ทันยุค ทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง โดยเฉพาะถนนหนทาง การคมนาคมที่เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว บางถนนเคยเป็นเลนสวนไปมา ตอนนี้กลายเป็นถนน 4 เลนไปแล้ว
เหมือนอย่างที่ พล.ต.ต.เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ ผบก.ส.3 ในฐานะคณะทำงานแก้ไขปัญหาจราจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ บอกบางเส้นทางกำหนดให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กม.ต่อชั่วโมง แต่ปัจจุบันสภาพถนนสามารถใช้ความเร็วได้ถึง 120 แล้ว
เท่าที่ฟังคณะทำงานแก้ไขปัญหาจราจรสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อธิบายการแก้ไข พ.ร.บ.ทางบก เบื้องต้น...
"กฎหมายฉบับดังกล่าวกำหนดความเร็วในเขตเทศบาลไม่เกิน 80 กม.ต่อชั่วโมง นอกเทศบาลไม่เกิน 90 กม.ต่อชั่วโมง เอาเข้าจริงถนนทุกวันนี้ 90 เปอร์เซ็นต์วิ่งเร็วกว่าที่กฎหมายกำหนด พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร.จึงมีความคิดให้มีการปรับความเร็วตามสภาพความเป็นจริง รวมทั้งมติ ครม.ก็ได้สั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงคมนาคมและกระทรวงมหาดไทย หารือร่วมกันถึงความจำเป็นปรับอัตราความเร็ว โดยเฉพาะทางหลวงเชื่อมระหว่างเมือง ไม่มีจุดตัด จุดแยก ให้มีความเร็วประมาณ 105-110 กม.ต่อชั่วโมง"
ครับ..เห็นด้วยกับเหตุผลของ พล.ต.ต.เอกรักษ์ พูดกันตรงๆ แบบไม่โลกสวย คนขับรถหลายคนในถนนโล่งๆ หรือเส้นทางออกต่างจังหวัด ก็เหยียบกันเฉลี่ย 100-120 กม./ชม.ทั้งนั้น
ใครเหยียบแค่ 80-90 กม./ชม. เพื่อนคันหลังก็บีบแตรกันสนั่น บางคันแซงไปแล้วยังชะโงกหน้ามาดูรถเราปากมุบมิบๆ แต่จะปรับแก้ความเร็วสูงสุดที่เท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม เป็นเรื่องที่ต้องคิดให้ถ้วนถี่ เพราะเรื่องความเร็วรถยังมีความเห็นแบ่งเป็นฝักฝ่าย
ฝ่ายแรกก็เห็นเหมือนตำรวจที่ว่า เส้นทางต่างๆ มีการขยายกว้างขึ้น รถยนต์มีสมรรถนะสูงขึ้น การใช้ความเร็วแค่ 80-90 กม./ชม. ดูจะน้อย ดูจะไม่สะดวกในการเดินทางตามความเป็นจริง แถมเป็นช่องทางให้ตำรวจหากิน
ส่วนอีกฝ่ายก็เห็นว่าถ้าอัตราความเร็วสูงขึ้น ก็เหมือนเอาโลงมาติดล้อ โอกาสเกิดอุบัติเหตุ เกิดความสูญเสียก็เพิ่มมากขึ้น และรุนแรงขึ้น ควรลดอัตราความเร็ว รถจะได้ขับขี่กันช้าๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งผู้ใช้รถใช้ถนน
ทุกฝักฝ่ายมีเหตุผลของตัวเอง แต่ข้อสรุปจะไปลงตัวกันตรงไหน คุณตำรวจ น่าจะนำข้อมูลที่ พล.ต.ต.เอกรักษ์พูดไว้ในวันแถลงข่าวเรื่องนี้ บอก "ฝากประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบ มีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการปรับความเร็วเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติต่อไป" มาใช้
เพียงแต่ตำรวจต้องเปิดช่องทางรับฟังความคิดเห็นจริงๆ จังๆ เป็นรูปธรรม ไม่ใช่แค่พูดโก้หรู แต่ชาวบ้านไม่รู้จะไปให้ความเห็นตรงไหน
น่าจะเป็นประโยชน์ เป็นประชาธิปไตย ลดเสียงก่นด่าตำรวจได้มากกว่าการคิดเอง ตั้งธงเอง เพราะกฎหมายฉบับนี้ใช้ร่วมกันทุกฝ่าย.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |