ปี 2563 เป็นอีกปีที่เศรษฐกิจไทยมีปัจจัยที่ท้าทายต่อการเติบโตอย่างมาก นั่นคือปัญหาเรื่อง “การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)” ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างชัดเจนกับเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีแรก โดยล่าสุดสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ได้เปิดเผยถึงคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในไตรมาส 1/2563 ว่า ขยายตัวติดลบ 1.8% ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้จ่าย โดยการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวชะลอลง การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ รวมถึงภาคเอกชนปรับตัวลดลง ขณะที่การส่งออกโดยรวมก็ปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน ตามการส่งออกบริการที่ปรับตัวลดลงอย่างมาก
นั่นหมายถึงจีดีพีที่ขยายตัวติดลบ 1.8% ในไตรมาส 1/2563 ถือว่าเป็นการลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 1/2557 ที่จีดีพีขยายตัวติดลบ 0.4% หรือเป็นการลดลงต่ำสุดในรอบ 6 ปี
นอกจากนี้ สศช.ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2/2563 จะเป็นช่วงที่ลดลงต่ำสุดของปีนี้ เพราะหลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างหยุดชะงัก ทุกอย่างถูกล็อกดาวน์ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส ทั้งสนามบิน การท่องเที่ยว ตลอดจนธุรกิจ ห้างร้านต่างๆ ส่วนตัวเลขที่ออกมาจะอยู่ที่เท่าไหร่นั้น คงต้องรอประเมินสถานการณ์อีกครั้งหนึ่ง และคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ตั้งแต่ในไตรมาสที่ 3/2563 เป็นต้นไป
เชื่อว่าไทยคงมีโอกาสน้อยที่ไวรัสโควิด-19 จะกลับมาระบาดรอบที่สอง เนื่องจากมีความเชื่อมั่นต่อระบบสาธารณสุขของไทยที่ค่อนข้างเข้มแข็งและความร่วมมือของคนไทย
ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยตลอดปี 2563 คาดว่าจะขยายตัวติดลบ 6.0-5.0% เนื่องจากการปรับตัวลดลงของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก การลดลงที่รุนแรงของจำนวนและรายได้ของนักท่องเที่ยวต่างชาติ การระบาดของไวรัสโควิด-19 และปัญหาภัยแล้ง พร้อมทั้งคาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งปีจะอยู่ที่ติดลบ 8.0% ส่วนการบริโภคภาคเอกชนจะติดลบ 1.7% และการลงทุนรวมติดลบ 2.1% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ติดลบ 1.5 ถึงติดลบ 0.5% และบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 4.9%
ทั้งนี้ การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ยังอยู่ภายใต้ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม นั่นคือความไม่แน่นอนของการแพร่ระบาดและความสามารถในการควบคุมการระบาดของไวรัสโควิดในประเทศสำคัญๆ, ความพร้อมและความสามารถของภาคการผลิตในการกลับมาประกอบธุรกิจภายหลังการผ่อนคลายมาตรการ การปิดสถานที่และจำกัดการเดินทางในประเทศสำคัญ และปัจจัยอื่นๆ เช่น การแพร่ระบาดที่ยืดเยื้อ, ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐและจีน รวมทั้งปัญหาเสถียรภาพของประเทศที่สำคัญ
ส่วนปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจและการค้าโลกในช่วงครึ่งปีหลัง จากที่การระบาดของไวรัสโควิดในประเทศคู่ค้าสำคัญเริ่มดีขึ้น ทำให้หลายประเทศเริ่มผ่อนคลายมาตรการปิดสถานที่และจำกัดการเดินทาง, มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการเงินการคลัง, การลดลงของจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ภายในประเทศ และมาตรการผ่อนคลายต่างๆ ของภาครัฐที่มีต่อสถานประกอบการและภาคธุรกิจต่างๆ ในประเทศ
ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าไม่ใช่แค่เศรษฐกิจของไทยเท่านั้นที่มีปัจจัยเสี่ยงที่เข้ามากดดันเรื่องการเติบโตในช่วงปี 2563 เพราะหากดูปัญหาเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กระจายไปยังหลายประเทศทั่วโลก จนหลายประเทศต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด จนเป็นผลทำให้เศรษฐกิจหลายประเทศทั่วโลกต้องหยุดชะงัก เพราะมาตรการล็อกดาวน์นี้มีผลชัดเจนกับภาคการค้าและบริการ การท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทย สะท้อนจากตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไปอย่างมีนัยสำคัญ
นั่นเพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของประเทศไทย อย่าง “จีน” ก็ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ด้วยเช่นกัน นี่เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงสำคัญกับเศรษฐกิจไทยในปีนี้
อย่างไรก็ดี คงต้องมาดูหลังจากนี้ว่ารัฐบาลจะเร่งหามาตรการอะไรบ้างในการใช้เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งหลายฝ่ายมองว่า การฟื้นฟูอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็เป็นเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการ แม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลจะยืนยันมาตลอดว่าได้ออกมาตรการที่ไม่ใช่เพียงแค่ดูแล แต่เป็นการประคองเศรษฐกิจให้สามารถเดินหน้าได้ต่อทันทีให้ภาวะที่วิกฤติต่างๆ คลี่คลาย.
ครองขวัญ รอดหมวน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |