“พิพิธภัณฑ์ไทย”สตาร์ทเครื่องสู่ New Normal


เพิ่มเพื่อน    

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เสมือนจริง อพวช.ชวนเที่ยวชมผ่านโลกออนไลน์

 

   

      แม้ว่าสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 จะเริ่มคลี่คลาย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนี้ หลายภาคจะปรับความคิด ปรับตัว และแนวทางปฏิบัติเข้าสู่ New Normal หรือความปกติรูปแบบใหม่ ในแวดวงพิพิธภัณฑ์ไทยก็มีการเปิดเวทีพูดคุยและแชร์ไอเดียแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวทางความร่วมมือ และแก้ไขปัญหาจากกิจกรรมเสวนาออนไลน์” พิพิธภัณฑ์ไทยกับภาวการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19” แต่ละพิพิธภัณฑ์เตรียมเข้าสู่ New Normal กันอย่างไร

        จารุณี อินเฉิดฉาย  นายกสมาคมพิพิธภัณฑ์ไทย ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  กล่าวว่า วิกฤตการณ์โรคระบาดครั้งนี้ถือเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉินใหม่ในวงการพิพิธภัณฑ์ เพราะปกติพิพิธภัณฑ์จะมีคู่มือความปลอดภัยและเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ แต่เรื่องโรคระบาดยังไม่มีแนวทาง ซึ่งกระทบทั้งเจ้าหน้าที่และผู้เข้าชม  ซึ่งพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติ เน้นกิจกรรมลงมือปฏิบัติ มีการรวมกลุ่มคน   และเป็นพิพิธภัณฑ์แรกๆ ที่หยุดให้บริการ กลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชน เกษตรกร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำมาสู่การปรับเปลี่ยนกิจกรรมใช้ช่องทางออนไลน์ ส่วนเจ้าหน้าที่ก็มีการตรวจเชิงรุกเพื่อหาเชื้อโควิด มีมาตรการรักษาระยะห่างและทำงานจากบ้านบางส่วน

     “ เราปรับเป็นกิจกรรมเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์และเวิร์คชอปออนไลน์  ทำงานเชิงรุกผ่านพิพิธภัณฑ์ระบบเสมือนจริง เพิ่มอีบุ๊ค อีเวิร์คชอป แล้วยังมีบริการสินค้าเกษตรปลอดภัยเดลิเวอรี่  เราเป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนการเกษตร พิพิธภัณฑ์เราให้องค์ความรู้ จากโควิดอยากให้คนในสังคมหันกลับมาศึกษาเกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำริในหลวง รัชกาลที่ 9  นี่คือ โอกาสของเราเป็นแหล่งเรียนรู้ตั้งต้น อย่างไรก็ตาม จากโควิดต้องพัฒนาบุคลากรให้เชี่ยวชาญแต่ละด้านและพัฒนาความคิดของคน รวมถึงแหล่งเรียนรู้ต้องดูสังคมว่า มีนิวนอร์มอลอย่างไรบ้าง เราก็ต้องเสริมหรือแทรกซึม  อยากเห็นความร่วมมือของพิพิธภัณฑ์ในประเทศ มีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น เพราะแต่ละแห่งโดดเด่นต่างกัน  “   จารุณี กล่าว

 

จัดรายการเกษตรออนทัวร์ผ่านโซเชียล พาชมฐานเรียนรู้ต่างๆ ให้ความรู้เกษตรพอเพียง แม้พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ปิดบริการชั่วคราว

 

        ราเมศ พรหมเย็น ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ กล่าวว่า โควิด-19 เป็นการหยุดโลกไปช่วงหนึ่ง เป็นความผิดปกติ หรือ abnormal และไม่รู้จะผ่านพ้นไปเมื่อไหร่ มิวเซียมสยามใช้แพลตฟอร์ตออนไลน์ เราสร้างฝ่ายดิจิตอลมิวเซียมขึ้นมาเฉพาะ เพื่อเผยแพร่งานสู่สาธารชน ครั้งนี้เป็นโอกาสดีได้รับบททดสอบและความท้าทายใหม่ในการทำงานช่วงล็อคดาวน์กรุงเทพฯ เราเดินแคมเปญแรก #MUSEUMSIAMFROMHOME ให้การเรียนรู้ไม่ห่างอย่างที่คิด เยี่ยมชมมิวเซียมสยามได้แม้อยู่บ้าน อีกทั้งมี 15 โปรเจ็ค และกิจกรรมในช่วงเปลี่ยนผ่านกว่า 50 กิจกรรม รวมทั้งทำคลังภาพเก่าและจดหมายเหตุออนไลน์ให้ประชาชนเยี่ยมชมและใช้ประโยชน์ได้ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ของมิวเซียมสยามและแอพพลิเคชั่น  รากฐานมิวเซียมยังคงมี แต่เพิ่มเติมคุณค่า คุณภาพ และใส่ชีวิตชีวาด้วยการให้บริการดิจิตอล เทคโนโลยีไม่ใช่ยารักษาทุกโรค แต่ต้องไม่ลืมมนุษย์ต้องมีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งมิวเซียมสยามเปิดให้บริการอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 19 ..นี้ มีแนวทางเข้าชมนิทรรศการ

                ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ  กล่าวว่า องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (อ....) ได้รับผลกระทบด้านงบประมาณและจำนวนผู้เข้าชม พนักงานต้องทำงานจากบ้าน แต่ในวิกฤตมีมิติที่ดีๆ เราค้นพบวัฒนธรรมองค์กรในสถานการณ์ยากลำบาก เกิดความร่วมแรงร่วมใจกันก้าวผ่านไปให้ได้ นอกจากนี้ พบขุมทรัพย์จากกิจกรรมออนไลน์เพื่อทดแทนการเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ เพราะสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวย  เรานำความรู้ แรงบันดาลใจจากพิพิธภัณฑ์ออกไปสู่ข้างนอกผ่านกิจกรรม SCIENCE DELIVERY BY N S M ส่วนองค์ความรู้ที่เหมาะสมในช่วงเวลากักตัวของเด็กและเยาวชน ก็นำของเล่นวิทยาศาสตร์ ที่หาได้จากสิ่งใกล้ตัว ส่งให้ประชาขน อีกทั้งเปิดคอร์สฝึกอบรม เพราะหลังโควิดจะมีการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น คนตกงานและมองหาโอกาสใหม่ๆ โดยเสนอ 7 อาชีพน่าสนใจสำหรับฟื้นฟูเศรษฐกิจ ได้แก่ นักสตาฟ์สัตว์ นักพัฒนาของเล่นวิทยาศาสตร์ พื้นฐานสมาร์ทฟาร์มเมอร์ การสื่อสารวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์จากภูมิปัญญาไทย ทำนิทรรศการแบบ VIRTUAL EXCIBITION ระบบพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง  และหลักสูตรมัคคุเทศก์รุ่นใหม่นำชมระบบพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง

                “ หากสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ นิวนอร์มอลหนีไม่พ้นการเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ แต่ไม่ใช่นิทรรศการออนไลน์ทั้งหมด เพราะไม่สามารถทดแทนการชม และลงมือทำจริงๆ จากประสาทสัมผัสผู้เข้าชม แต่ในที่นี้รวมถึงการเอาข้อมูลสารสนเทศมาบริหารจัดการ ส่วนเรื่องความปลอดภัยด้านสาธารณสุขเป็นเรื่องใหม่ กระทบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ เราต้องเตรียมการทั้งหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่าง การจำกัดจำนวนผู้เข้าชม การปรับเปลี่ยนกิจกรรม เพื่อสุขอนามัยพนักงานและผู้ชม ในช่วง 2-3 เดือน คนหดหู่ อยากได้สิ่งที่กระตุ้นจิตวิญญาณ เพื่อตอบสนองจิตใจตนเอง  พิพิธภัณฑ์ต้องมีบทบาทยกระดับจิตใจ เราเตรียมนิทรรศการใหญ่ต้นปีหน้า นำสิ่งของที่ไม่เคยจัดแสดงออกมา กระตุ้นให้คนอยากมาเที่ยวเรียนรู้ ” ผศ.ดร.รวิน กล่าว

 

หยิบเนื้อหาในพิพิธภัณฑ์มาสู่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสนุกสนานผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์

 

 

               ดร.พธู คูศรีพิทักษ์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เราเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็ก ซึ่งการปรับตัวการให้บริการ จำนวนผู้ชม ปฏิสัมพันธ์ผู้ชม เปลี่ยนแปลงไป รถโมบายพิพิธภัณฑ์จากเคยมีบทบาทให้ความรู้ ในช่วงโควิดแปลงเป็นเรือแบ่งปันออกไปหาชุมชน เพื่อแบ่งปันน้ำใจแบ่งของให้ใช้อย่างพอเพียง นอกจากนี้ จัดกระบวนการเรียนรู้ใหม่ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่เราทำงานด้วยเป็นโอกาสดีที่จะพึ่งพาตนเอง ปรับตัวให้เข้าสภาพแวดล้อม ทิศทางพิพิธภัณฑ์ในแบบที่ดีที่สุด โดยออกแบบกิจกรรมให้เฉพาะเจาะจง และทำงานร่วมกับชุมชน ด้านการสื่อสารจะผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น และใช้มือถือ สร้างความสัมพันธ์กับผู้ชมบนพื้นฐานความเข้าใจ  กรณีเลวร้ายมีโควิดระลอกสองให้บริการไม่ได้ จะต้องวางแผนธุรกิจใหม่ เป็นแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างสรรค์ ออกไปทำงานให้วิถีชีวิตมีความปลอดภัย เกิดนิทรรศการชุดใหม่ได้   

                นิตยา กนกมงคล  ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กล่าวว่า กรมศิลปากรดำเนินการปิดแหล่งเรียนรู้ลดการแพร่ระบาดตามนโยบายรัฐตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน แต่เจ้าหน้าที่ทำงานปกติ ได้ใช้เวลานี้จัดการพิพิธภัณฑ์ด้านกายภาพ และซ่อมบำรุง เตรียมพร้อมเพื่อให้บริการอีกครั้ง จากปัญหาโควิดกระตุ้นเตือนพิพิธภัณฑ์ทั่วประเทศได้ทบทวนการใช้สื่อดิจิตอล นำมาตรการศิลปากรออนไลน์มาใช้ เป็นช่องทางให้ประชาชนใช้บริการจากบ้านได้ และนำความคิดเห็นมาปรับปรุง  รวมถึงจัดทำสื่อความรู้รูปแบบใหม่ขึ้นมาด้วย

                “ พิพิธภัณฑ์ในวิถีชีวิตใหม่จะใส่ใจสุขภาพ คุณภาพชีวิต มีการเว้นระยะห่างทางสังคมจะทดลองเรื่องการจองคิวการเข้าชม  เพื่อกำหนดจำนวนผู้เข้าชม ด้านระมัดระวังการใช้จ่าย คิดเรื่องความคุ้มค่า  ชีวิตใกล้ชิดดิจิทัล บริการดิจิตอล นี่เป็นฐานการพัฒนาต่อไป  เราคงไม่คิดปรับตัวเป็นดิจิตัลเต็มรูป แต่จะเดินสองทางทั้งด้านกายภาพ ต้อนรับผู้เข้าชม และบริการส่งตรงความรู้ถึงบ้านผ่านสื่อดิจิตอล และสื่อความหมายองค์ความรู้ที่เข้าใจง่าย ทดลองทำภัณฑารักษ์ออนไลน์ หากประเมินแล้วเสียงตอบรับดี จะแปลเป็นเทคโนโลยีรูปลักษณ์ที่สวยงาม สื่อความได้มากขึ้น  “ นิตยา กล่าว

 

มิวเซียมสยามกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง พร้อมแนวทางใหม่การเข้าชมนิทรรศการ

 

          ด้าน พัฒนพงศ์ มณเฑียร ที่ปรึกษาด้านงานปฏิบัติการพิพิธภัณฑ์ มิวเซียม มายส์ (Museum Minds) กล่าวว่า ความพยายามของพิพิธภัณฑ์แต่ละแห่งเพื่อก้าวข้ามไปหาผู้ชมไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่โควิดเป็นตัวเร่งเรื่องไทยแลนด์ 4.0 จากภาวะนี้จะเห็นเลยว่าใคร 4.0 ใคร 0.4 อย่างไรก็ดี ยังเป็นปัญหาเดิมว่า เราไม่เคยถามความต้องการของผู้ชมอย่างแท้จริง แต่ช่วงเวลานี้เป็นโอกาสที่พิพิธภัณฑ์จะบอกโลกว่า พิพิธภัณฑ์มีบทบาทกระจายความรู้ในการพึ่งพาตนเองได้ เพื่อไปสู่ชีวิตวิถีใหม่ พิพิธภัณฑ์สามารถเป็นตัวอย่างให้สังคม จะเดินไปทิศทางไหน สื่อดิจิตอลเป็นช่องทางหนึ่ง แต่ยังสามารถช่วยเรื่องการศึกษาสร้างห้องเรียนออนไลน์

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"