หากศธ.ไม่ดำเนินการอะไรไว้ถ้าโควิดระบาดรุนแรง จะทำอย่างไร"ครูตั้น"ย้ำเหตุผลต้องทดสอบเรียนออนไลน์  


เพิ่มเพื่อน    

19พ.ค.63-“นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวถึงการจัดการศึกษาผ่านระบบทีวีดิจิทัล และระบบออนไลน์ที่ส่งสัญญาณมาจากการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยและมอบหมายให้ ศธ. ดำเนินการสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน โดยขณะนี้ ศธ. ได้เริ่มทดสอบการเรียนผ่านระบบดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค. -30 มิ.ย. ซึ่งภาพรวมแม้วันแรกจะพบปัญหาและอุปสรรคต่างๆ บ้าง ก็เพื่อนำไปสู่การแก้ไขและปรับระบบให้มบูรณ์และมีประสิทธิภาพ โดยตนขอชี้แจงและทำความเข้าใจให้ทุกฝ่ายรับทราบว่า การจัดการเรียนการสอนผ่านทางทีวีและออนไลน์เป็นมาตรการหนึ่ง ที่ดำเนินการไว้หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังไม่พ้นวิกฤตเท่านั้น ดังนั้นในวันที่ 1 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันเปิดภาคเรียนที่ 1 อย่างเป็นทางการ และพบว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสอยู่ในระดับปกติโรงเรียนทุกแห่งทั่วประเทศก็จัดการเรียนการสอนได้เหมือนเดิมด้วยการให้เด็กมาเรียนที่โรงเรียนและได้เรียนกับครูในห้องเรียน

นายณัฏฐพล กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทดสอบระบบทั้งการล่มของเว็บไซต์ การเชื่อมต่อสัญญาณกล่องจานดาวเทียมนั้น ทุกคนคงรับทราบกันดีอยู่แล้วว่า เกิดจากการที่มีเด็กแห่เข้าไปดูผ่านเว็บไซต์จำนวนมากจากการเข้าด้วยโทรศัพท์มือถือ เพราะหากประเมินจากสถานการณ์แล้วอาจครึ่งหนึ่งของนักเรียนทั่วประเทศ ดังนั้นในอนาคต ศธ.จะเตรียมระบบ Cloud หรือ Cloud Computing (คลาวด์ คอมพิวติ้ง) เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นเพื่อรองรับการทำงานของผู้ใช้งานในทุกๆด้าน ทั้งด้านระบบเครือข่าย ด้านการจัดเก็บข้อมูล รวมถึงจะประสานกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในการช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้บริการอินเตอร์เน็ตบนมือถือของผู้ปกครองด้วย
 “การเรียนรู้ผ่านทีวีที่บ้านของเด็กเองนั้น  ก็เพื่อรองรับวิกฤตจนทำให้เราไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ที่โรงเรียน แต่เราจำเป็นต้องทดสอบระบบการเรียน ในลักษณะนี้ให้มีความพร้อมเอาไว้ก่อน ดังนั้นหาก ศธ.ไม่ดำเนินการอะไรไว้เลยจนในที่สุดโรคระบาดรุนแรงกว่าเดิม จนไม่สามารถให้เด็กมาโรงเรียนได้จะทำอย่างไร ซึ่งผมย้ำมาตลอดว่าโรงเรียนหยุดได้ แต่การเรียนรู้หยุดไม่ได้ เพราะจะส่งผลให้เด็กขาดกระบวนการเรียนรู้และเรียนไม่ต่อเนื่อง เช่น ถ้าเปิดเรียนวันที่ 1 กรกฎาคม แล้วพบมีผู้ติดเชื้อภายในโรงเรียน 4 คน จนต้องปิดโรงเรียนจะให้ทำการสอนอย่างไร เป็นต้น ทั้งนี้การเริ่มทดสอบระบบดังกล่าวจะทำให้เรารู้ว่าการเรียนในลักษณะนี้มีข้อจำกัดใดบ้าง ซึ่งตลอดระยะเวลา 1 เดือน ของการทดสอบระบบทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการขจัดข้อจำกัดและปัญหาต่างๆ เหล่านี้ให้หมดไป” รมว.ศธ.กล่าว
           
 เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่เนื้อหาการเรียนการสอนผ่านระบบ DLTV มีบางเรื่องที่ผิดนั้น นายณัฏฐพล กล่าวว่า เรื่องนี้ได้มีการสำรวจถึงจุดที่ผิดพลาด และต้องมีการปรับปรุงแก้ไขอยู่แล้ว เนื่องจาก เนื้อหาหลักสูตรมาจากต้นทาง คือ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ต้องจัดการเรียนการสอนให้ตรงกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ซึ่งหลักสูตรนี้ไม่ได้มีการปรับปรุงหลายสิบปีแล้ว อีกทั้ง สพฐ.ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ จากเดิมเป็นหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ ซึ่งทางมูลนิธิฯและ ศธ.กำลังทยอยปรับปรุงแก้ไขระหว่างการทดสอบระบบให้หลักสูตรใหม่มีความเชื่อมต่อกันมากขึ้น

ด้านนายณรงค์ แผ้วพลสง เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาฯ กอศ.) กล่าวว่า ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้มีการอบรมครูเพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนทั้งในรูปแบบออนไลน์ และการเรียนแบบทางไกลเอาไว้แล้ว ขณะที่อีกหลายๆ วิทยาลัยก็ได้มีการวางรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ของตัวเองไว้เองโดยที่ไม่ต้องรอความช่วยเหลือใด ๆ จากใคร และสามารถทำได้ดี ในส่วนของนักเรียน นักศึกษา สอศ.ได้วางเป้าในการพัฒนาใน 3 ด้าน คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และ Digital literacy ดังนั้นเมื่อถึงเวลาจัดการเรียนการสอนจึงไม่ค่อยมีปัญหาอะไร เพราะเรายังจัดให้เรียนเฉพาะวิชาพื้นฐาน ยังไม่มีวิชาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติแต่อย่างใด

 เลขา กอศ.กล่าวว่า  ที่ผ่านมาเราสื่อสารกับวิทยาลัยตลอดว่าตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม -30 มิถุนายน เป็นเพียงการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน แต่จะเปิดเทอมจริงในวันที่ 1 กรกฎาคม ดังนั้นในช่วงที่มีการทดสอบระบบต่างๆ สอศ. จะให้จัดการเรียนการสอนในวิชาพื้นฐานเท่านั้น ประกอบกับเด็กของเราเป็นเด็กโตแล้ว ทำให้ในช่วง 2 วันที่มีการทดสอบระบบไม่ค่อยมีปัญหาอะไรมาก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ ประกอบกับอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ก็ไม่พร้อม เด็ก ร้อยละ 90 อาจจะมีมือถือใช้แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะมีมือถือที่คุณภาพใช้งานได้ทัดเทียมกัน ดังนั้นจึงเป็นอุปสรรคในการเรียนอยู่บ้าง วิทยาลัยก็จะสำรวจและหาทางช่วยเหลือด้วยการให้ยืมอุปกรณ์เพื่อใช้ในการเรียน เป็นต้น ส่วนการฝึกปฏิบัตินั้น เราต้องเปิดให้เด็กได้เข้ามาเรียนในห้องปฏิบัติการตลอดอยู่แล้ว เพียงแต่อาจจะต้องจำกัด หรือแบ่งกลุ่มให้มีขนาดเล็กเวียนเข้าไปใช้บริการ นอกจากนี้วิทยาลัยแต่ละแห่งได้สะท้อนปัญหาอยากให้ ศธ.ช่วยสนับสนุนเรื่องอินเตอร์เน็ต เนื่องจากทุกวันนี้วิทยาลัยต้องดูแลกันเอง ดังนั้น ตนจึงได้นำเรียน รมว.ศธ.เพื่อขอให้ช่วยสนับสนุนเรื่องนี้ให้กับวิทยาลัย และเด็กด้วย  ส่วนกรณีที่ รมว.ศธ.ต้องการให้ทางอาชีวศึกษาเข้าไปช่วยปรับจูนโทรทัศน์ให้กับนักเรียนในพื้นที่ต่าง ๆ ที่ไม่สามารถรับชมผ่านทางระบบ DLTV ได้นั้น ทาง สอศ.มีความพร้อมในการดำเนินการเรื่องนี้อยู่แล้ว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"