กองทัพอากาศสหรัฐประสบความสำเร็จในการปล่อยจรวดแอตลาส 5 เพื่อนำโดรนอวกาศไฮเทค เอ็กซ์-37บี ที่ทำงานเหมือนกระสวยอวกาศเวอร์ชันย่อส่วน ขึ้นสู่วงโคจรในโครงการลับรอบที่ 6 เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ยังไม่ชัดเจนว่าภารกิจครั้งนี้จะอยู่ในอวกาศนานเท่าใด
จรวดแอตลาส 5 นำโดรนอวกาศ เอ็กซ์-37บี ทะยานขึ้นจากฐานปล่อย 41 ของสถานีกองทัพอากาศที่แหลมคานาเวอรัล เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม
รายงานของเอเอฟพีและบีบีซีกล่าวว่า ภารกิจปล่อยจรวดจากแหลมคานาเวอรัล มลรัฐฟลอริดา ของกองทัพอากาศสหรัฐเมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา เกิดขึ้นล่าช้า 1 วันจากกำหนดเดิมเนื่องจากปัญหาสภาพอากาศเมื่อวันเสาร์ไม่อำนวย
จรวดนำส่งขนาดยักษ์แอตลาส 5 ทะยานขึ้นจากฐานปล่อยเมื่อเวลา 09.14 น. (ตรงกับ 20.14 น.วันเดียวกันของไทย) เพื่อนำโดรนอวกาศเอ็กซ์-37 บี หรือที่เรียกว่ายานทดสอบวงโคจร (โอทีวี) ขึ้นสู่อวกาศ โครงการนี้เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2552 และภารกิจครั้งนี้เป็นครั้งที่ 6 ของโดรนลำนี้
เอ็กซ์-37 บีที่ผลิตโดยโบอิ้งลำนี้ มีรูปร่างคล้ายกับกระสวยอวกาศขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ (นาซา) ที่ยุติโครงการไปเมื่อปี 2554 แต่เครื่องบินขนาดย่อส่วนที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ลำนี้ไม่มีมนุษย์ขับเคลื่อน และใช้พลังงานสุริยะ ซึ่งทำให้ยานโคจรได้นานขึ้น โดรนลำนี้มีความยาว 29 ฟุต (9 เมตร) ความกว้างรวมปีก 2 ข้าง 15 ฟุต (4.5 เมตร) และหนัก 4,989 กิโลกรัม สามารถบินด้วยระบบอัตโนมัติผ่านชั้นบรรยากาศกลับสู่โลกและลงจอดบนรันเวย์ได้แบบเดียวกับกระสวยอวกาศ
"ขอแสดงความยินดีกับภารกิจครั้งที่ 6 ของยานอวกาศที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ เอ็กซ์-37บี" มาร์ก เอสเปอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ทวีตภายหลังการปล่อยจรวด
โดรนลำนี้จะอยู่ในวงโคจรนานหลายเดือน และทำการทดลองหลายอย่างบนอวกาศ ที่ผ่านมากระทรวงกลาโหมสหรัฐเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับภารกิจและขีดความสามารถของโดรนในโครงการลับนี้น้อยมาก
เมื่อต้นเดือนนี้ บาร์บารา แบร์เรตต์ รัฐมนตรีทบวงกองทัพอากาศ เคยกล่าวไว้ว่า โดรนเอ็กซ์-37บี จะนำดาวเทียมวิจัยขนาดเล็ก ที่เรียกว่า ฟอลคอนแซต-8 ขึ้นไปทำการทดลองเพิ่มมากกว่าภารกิจที่ผ่านๆ มา
การทดลองที่ว่านี้รวมถึงการทดสอบผลกระทบของรังสีต่อเมล็ดพืชและวัตถุอื่นๆ และการเปลี่ยนพลังงานสุริยะให้เป็นพลังงานไมโครเวฟคลื่นความถี่วิทยุที่สามารถส่งกลับมายังพื้นผิวโลก
เอ็กซ์-37บี ถูกส่งขึ้นปฏิบัติภารกิจครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2553 ภารกิจที่ประสบความสำเร็จทั้ง 5 ครั้งที่ผ่านมาทำให้ยานลำนี้โคจรรอบโลกเป็นระยะทางมากกว่า 1,000 ล้านไมล์ และใช้เวลาอยู่บนอวกาศนาน 2,865 วัน หรือ 7 ปี 9 เดือน
ภารกิจครั้งล่าสุดของโดรนลำนี้เสร็จสิ้นลงเมื่อเดือนตุลาคม 2562 หลังจากอยู่ในวงโคจรนานถึง 780 วัน โดยกลับมาลงจอดที่ศูนย์อวกาศเคนเนดี รัฐฟลอริดา.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |